pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ผลของการใช้น้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชาในผู้ป่วยที่ดูแลแบบประคับประคองในชุมชน

งานวิจัยปี

2566

คำสำคัญ

คลื่นไส้ คลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึม ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ปากแห้ง มะเร็ง วิตกกังวล อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ ไส้

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ทุติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การรักษาวินิจฉัยโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชนที่จำเป็นต้องมีการดูแลแบบประคับประคองอย่างเหมาะสมเพื่อลดความทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น การใช้ยาที่พัฒนาจากสมุนไพรกัญชาซึ่งมีสาร cannabinoid ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทรวมถึงมีผลต่อการลดความเจ็บปวด การเพิ่มความอยากอาหาร การศึกษาจำนวนมากรายงานว่าประโยชน์ทางคลินิกของ cannabinoids ใช้รักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยหลายอย่างรวมถึงการนำมาใช้ลดอาการปวด คลื่นไส้อาเจียน ภาวะเบื่ออาหารและนอนไม่หลับ การน้ำยาสกัดกัญชามาใช้จึงควรพิจารณาประโยชน์ที่เกิดขึ้นให้รอบด้าน การเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องการดูแลแบบประคับประคอง มีคุณภาพชีวิตที่ดีจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้น้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชาในด้านความปลอดภัย ประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ในผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลของการใช้น้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชาในด้านความปลอดภัย ประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ในผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน

ระเบียบวิธีวิจัย

ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังในผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชนที่ได้รับการรักษาด้วยยาสกัดกัญชาเกรดทางการแพทย์ที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม(GPO) เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยระยะท้ายด้วย ดำเนินการศึกษา 6 เดือน วันที่ 1 เมย. 64–30 กย. 64 ที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์ รพ.ยางสีสุราช ยาสกัดกัญชากำหนดให้เฉพาะปริมาณ THC มีขนาดคงที่ 0.08 mg/drop ในผู้ป่วยระยะท้าย จำนวน 21 ราย ที่ติดตามผลการรักษาครบ 30 วัน เครื่องมือวิจัย 1)แบบประเมิน PPS) 2)แบบประเมินและติดตามอาการ ESAS วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด และสถิติ Wilcoxon signed rank test วิเคราะห์เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้ยาสกัดกัญชา

ผลการศึกษา

พบว่า ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 67 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 32.8 เพศชาย ร้อยละ 67.2 มะเร็งที่พบมากที่สุดคือมะเร็ง ล้าไส้ใหญ่ ระดับความรุนแรงของอาการที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ อาการ ปวด เหนื่อย/อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ซึมเศร้า วิตกกังวล เบื่ออาหาร นอนไม่หลับและกลุ่มอาการที่ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ง่วงซึม/สะลึมสะลือและเหนื่อยหอบ ผู้ป่วยนอนหลับดีขึ้น 65.1% ลดความเจ็บปวด 50.8% และความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น 42.9% ผลข้างเคียง14.28% ส่วนใหญ่เป็นอาการไม่รุนแรง ได้แก่ ปากแห้ง/คอแห้ง17.5% คลื่นไส้อาเจียน 1.6% และเวียนศีรษะ1.6%

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการใช้น้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชาในการเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน

บทเรียนที่ได้รับ

ยาสกัดน้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชามีความปลอดภัยเพียงพอในการนำมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชนที่ทำให้นอนหลับดีขึ้น ลดอาการปวดและเพิ่มความอยากอาหาร อย่างไรก็ตาม ควรทำการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบเพื่อยืนยันสมมติฐานนี้ต่อไป

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การศึกษาข้อมูลย้อนหลัง เก็บรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจน

Keywords

  • น้ำมันกัญชา
  • ประคับประคอง
  • ชุมขน

เกี่ยวกับโรค

ผู้ป่วยระยะท้าย

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
มหาสารคาม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2566
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย