การแช่เท้าด้วยสมุนไพรลูกมะกรูดน้ำอุ่นจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย ลดอาการชาเท้าได้ ในทุกๆกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรือรังที่จะมีอาการชาปลายมือ ปลายเท้าบ่อยๆ สามารถใช้สมุนไพรแช่เท้าในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 36-38 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10-15 นาที กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรมะกรูด ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ช่วยขยายหลอดเลือด เกิดความรู้สึกสบายและผ่อนคลายมากขึ้น จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาดังกล่าว และช่วยลดภาวะความพิการหรือแม้แต่ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ต้องการได้ และจากการสำรวจเดือนตุลาคม ปี ๒๕65 มี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ที่มีปัญหากลุ่มอาการชาเท้า รวมทั้งหมดจำนวน ๔๒ คน
เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีปัญหากลุ่มอาการชาเท้า จำนวน ๔๒ คน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการอย่างถูกต้องปลอดภัย คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สนับสนุนให้ครอบครัว อสม.และชุมชนมีส่วนร่วม
๑.สำรวจกลุ่ม ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีปัญหากลุ่มอาการชาเท้า ๒.นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ปัญหา เพื่อวางแผนในการดำเนินงาน ๓.จัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ และ อสม.ในพื้นที่รับผิดชอบ ๔.ประชุมทีมงานเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระบบบริการ ๕.ติดต่อประสานงานวิทยากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๖.จัดเตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน 7. ดำเนินงานตามแผนแบบบรูณาการร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ๙. สรุปผลการดำเนินงาน ๑๐.ติดตามประเมินผลโครงการทุก ๖ เดือน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา
๑. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีปัญหากลุ่มอาการชาเท้า จำนวน ๔๒ คน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการ อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ร้อยละ 80 ๒. มีศูนย์ประสานงานการดูแลกลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 80 ๓. กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (ADL) ร้อยละ 80 ๔. ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 ๕. ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจ ร้อยละ 100
ต่อหน่วยงาน มีนโยบายการทำงานร่วมกันโดยการทำงานเป็นทีม มีการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ศูนย์ประสานงาน ชุมชน อย่างเป็นระบบ ต่อองค์กร มีการประสานงานส่งต่อกันระหว่างโรงพยาบาลกับ รพ.สต. และมีการพัฒนาองค์กร ต่อผู้ป่วย กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลตามปัญหาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ลดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่าย ต่อชุมชน มีการกระตุ้น การใช้ทรัพยากรในชุมชน เกิดความรัก ความสามัคคี ในชุมชน
บางหมู่บ้านการเดินเข้าไปไม่สะดวก ล่าช้า ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายบางครอบครัวยังขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดเวลา ในการดูแลทั้งทางสภาพร่างกายและจิตใจ งบประมาณในการดำเนินงานไม่เพียงพอ
มีการมอบหมายหน้าที่ที่รับผิดชอบให้ชัดเจน ควรได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในปีต่อไป ควรมีการติดตามเยี่ยมบ้านจากภาคีเครือข่าย และทีมสหวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
เป็นการประยุกต์ใช้และเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรในชุมชนในการนำมาใช้กับคนไข้ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
ไม่เคย
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม โรงแรมตักศิลา 2562
ไม่เคย