pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการใช้เถาวัลย์เปรียงในผู้ป่วยคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลเรณูนคร

งานวิจัยปี

2566

คำสำคัญ

การเฝ้าระวัง การให้บริการ โรคไต โรคไตเรื้อรัง ไต

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ทุติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การป้องกันควบคุมโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรังในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยาที่มีผลต่อไต ได้แก่ ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (หรือ NSAIDs) ยาปฏิชีวนะ ยาลิเทียม สมุนไพร เป็นต้น โรงพยาบาลเรณูนครมีการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง ซึ่งควรระวังในการใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 (CKD 3) ดังนั้นผู้วิจัยจึงพัฒนาระบบเฝ้าระวังการใช้เถาวัลย์เปรียงในผู้ป่วยคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างปลอดภัย

วัตถุประสงค์

1. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 (CKD 3) ได้รับการเฝ้าระวังการใช้เถาวัลย์เปรียง 2. ร้อยละของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 (CKD 3) ได้รับเถาวัลย์เปรียง น้อยกว่าร้อยละ 20

ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อการพัฒนาระบบเฝ้าระวังการใช้เถาวัลย์เปรียงในผู้ป่วยคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลเรณูนคร ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 จนถึง วันที่ 30 กันยายน 2565 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ร้อยละ โดยการพัฒนา กล่องข้อความแจ้งเตือน ระดับ eGFR ของผู้ป่วย ในระบบ HosXP ก่อนสั่งจ่ายยา และจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย ที่มารับบริการ ถ้ามีการแจ้งเตือนแล้วแพทย์สั่งจ่าย เภสัชกรจะทำเอกสารแจ้งเตือนแพทย์อีกครั้งเพื่อให้แพทย์ยืนยันการสั่งใช้

ผลการศึกษา

ผลการศึกษาการพัฒนาระบบเฝ้าระวังการใช้เถาวัลย์เปรียงในผู้ป่วยคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลเรณูนคร พบว่า มีจำนวน ผู้ป่วยที่ได้รับ เถาวัลย์เปรียง จำนวน 205 คน มีผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และได้รับการแจ้งเตือน และ ได้รับการยืนยันว่าต้องการจ่ายยาสมุนไพร เถาวัลย์เปรียงจำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.44

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

การมีระบบกล่องข้อความแจ้งเตือน ระดับ eGFR ของผู้ป่วย ในระบบ HosXP ก่อนสั่งจ่ายยา และจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย ที่มารับบริการ ทำให้แพทย์ตระหนักถึงการสั่งใช้ยาสมุนไพรในป่วยคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มากขึ้น และเภสัชกรได้ทำหน้าที่ในการเฝ้าระวังในการจ่ายยาสมุนไพรในป่วยคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มากขึ้น

บทเรียนที่ได้รับ

สามารถนำเสนอผลการศึกษาข้อมูลแก่ผู้บริหาร ทีมบริหารงานโรงพยาบาล แพทย์ เภสัชกร พยาบาล เพื่อให้ทราบถึการพัฒนา กล่องข้อความแจ้งเตือน ระดับ eGFR ของผู้ป่วย ในระบบ HosXP ก่อนสั่งจ่ายยา และจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยและดำเนินการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการให้บริการผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง รวมทั้งทีมสหวิชาชีพก็ให้ความร่วมมือในการดำเนินการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

Keywords

  • โรคไต
  • โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3
  • CKD
  • เถาวัลย์เปรียง

เกี่ยวกับโรค

โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
นครพนม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R อีสานตอนบน
เขตสุขภาพ
เขตที่ 8
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2566
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย