โรงพยาบาลควนขนุน มีผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีสะสมเพิ่มขึ้นปี พ.ศ.2563-2565 จำนวน 383,394และ407 รายตามลำดับ ปี2564และ2565 พบผู้ติดเชื้อเอชไอวียังไม่เข้ารับการรักษาจำนวน16และ13 ราย รักษาไม่ต่อเนื่องจำนวน7และ16 ราย เสียชีวิตปีละ2ราย จากปัญหามีความคิดด้านลบต่อตนเอง รู้สึกไม่ดีกับตนเองจากการติดเชื้อฯ กลัวคนในครอบครัวหรือคนรู้จักรู้และรังเกียจ ส่งผลกระทบกับความคิดความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดปัญหาการขาดนัด ขาดยา ทำให้เกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและการดื้อยาในที่สุด จากการดําเนินงานเพื่อยุติปัญหาเอดส์ในแผนปฏิบัติการยุติปัญหาเอดส์ประเทศไทย กำหนดยุทธศาสตร์ลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะลงร้อยละ 90 หากผู้รับบริการมีความเชื่อและการรับรู้ว่าตนเองถูกตีตราและเลือกปฏิบัติทั้งที่การตีตราหรือการเลือกปฏิบัติอาจจะมีจริงหรือไม่ได้เกิดขึ้นจริงย่อมส่งผลต่อปัญหาการเข้ารับบริการและการรักษาต่อเนื่องได้
เพื่อเปรียบเทียบการตีตราตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีก่อนและหลังจบโปรแกรมลดการตีตราตนเองทันที
การวิจัยกึ่งทดลอง วัดผลก่อน-หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มารับบริการ ในช่วงระยะเวลา 5พ.ค.-10 มิ.ย. 2565 จำนวน121รายจากจำนวนผู้รับยาต้านไวรัสทั้งหมด402ราย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาการติดเชื้อฯและแบบวัดการตีตราตนเองพบผู้มีคะแนนตีตราตนเองจำนวน45ราย จึงนำผู้ที่มีคะแนนตีตราตนเองเข้าร่วมโปรแกรมลดการตีตราตนเองด้วยความสมัครใจ ประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกทักษะรายกลุ่มและรายบุคคล3กิจกรรมต่อเนื่องในเวลา1วัน ดังนี้ กิจกรรมที่1การรับรู้กับความเจ็บจากการถูกตีตรา คำเรียกที่มีผลกระทบและการตีตราตนเอง กิจกรรมที่2การแก้ไขปัญหาและการค้นหาแหล่งพลังสนับสนุนทำใหม่ด้วยการแก้ไขปัญหา กิจกรรมที่3ตัวตนและการสร้างภาพเชิงบวกของตนเองตัวตนของฉัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 121คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ56.20 อายุเฉลี่ย47.8 ปี อายุต่ำสุด18ปี สูงสุด66ปี สถานภาพคู่ร้อยละ37.50 รองลงมาหม้าย/หย่า/แยก ร้อยละ39.17 การศึกษาส่วนใหญ่จบระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ45.45 ระยะเวลาติดเชื้อเอชไอวีเฉลี่ย11.7ปี ระยะเวลาของการติดเชื้อเอชไอวีน้อยสุด3เดือนและนานสุด27 ปี ระยะเวลาของรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี เฉลี่ย10.5ปี จากผลการประเมินพบผู้มีคะแนนตีตราตนเองจำนวน 45 ราย ก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ผู้รับบริการมีคะแนนตีตราตนเองต่ำระดับ1จำนวน 38 ราย คิดเป็นร้อยละ84.44 และระดับ 2 จำนวน7ราย คิดเป็นร้อยละ15.55 ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมลดการตีตราตนเอง จำนวน3กิจกรรมและประเมินผลทันที พบว่า คะแนนการตีตราตนเองลดต่ำลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมลดการตีตรา โดยพบว่าไม่มีการตีตราตนเองเพิ่มขึ้น จำนวน 40 ราย คิดเป็นร้อยละ90 และมีคะแนนตีตราตนเองต่ำระดับ 1 จำนวน5ราย คิดเป็นร้อยละ10
การตีตราการเลือกปฏิบัติและการตีตราตนเองเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความคิดความรู้สึกภายในของบุคคลเป็นพื้นฐาน ดังนั้นการปฏิบัติการพยาบาลในโรงพยาบาลต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ สร้างความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนความคิด ความรู้สึกและการแสดงพฤติกรรมของผู้ให้บริการที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้เข้ารับบริการที่มีความเสี่ยงต่อการตีตราตนเอง และควรนำโปรแกรมลดการตีตราตนเองไปใช้ในกลุ่มผู้อื่น เช่น ผู้ใช้สารเสพติด
การดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมลดการตีตราตนเองในผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการตีตราและการเลือกปฏิบัติในสังคม การสร้างความเข้าใจ เน้นการปรับเปลี่ยนความคิดความรู้สึกที่มีต่อตนเองและผู้อื่น เน้นการเผชิญและการแก้ไขปัญหา การค้นหาพลังอำนาจและการใช้แหล่งพลังภายในตนเอง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีลดการตีตราตนเอง เข้าสู่ระบบบริการอย่างต่อเนื่อง
ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคณะทำงานการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีโรงพยาบาลควนขนุน ทำงานเชิงบูรณาการ โดยให้บริการดุจญาติมิตร มีสัมพันธภาพที่ดี มีการพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วย มีการยืดหยุ่นในการให้บริการ มีแหล่งช่วยเหลือสนับสนุนทางสังคม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความไว้วางใจ ยินยอม ให้ความร่วมมือและร่วมกิจกรรมในโปรแกรมลดการตีตราตนเอง ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีลดการตีตราตนเองยังคงอยู่ในระบบบริการอย่างต่อเนื่อง
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย