pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ผลโปรแกรมการเล่นบำบัดเพื่อลดอาการสมาธิสั้นของเด็กสมาธิสั้นอายุ 6 - 9 ปี

งานวิจัยปี

2566

คำสำคัญ

การประเมิน สมาธิสั้น หุนหันพลันแล่น ให้คำแนะนำ

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท บริการ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การรักษาวินิจฉัยโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

จากสถิติเด็กสมาธิสั้นที่เข้ารับการรักษาในคลินิกสุขภาพจิตเวชเด็กและวัยรุ่นงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ ปีงบประมาณ 2562 - 2565 เมื่อคิดเป็นจำนวนรายคน คือ 279, 298, 311 และ 316 คน จากสถิติแสดงให้เห็นว่าเด็กสมาธิสั้นจะเข้ารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการเข้ารับการรักษา คือ ผลกระทบที่เกิดจากอาการของเด็กสมาธิสั้น ซึ่งมีผลกระทบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ดังที่กล่าวไว้ในข้างตัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเกิดได้ทำวิจัยการเล่นบำบัดตามแนวคิดของ Ebrahim et al.7 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอาการสมาธิสั้นของเด็กสมาธิสั้นที่มีอายุระหว่าง 6 - 9 ปี ร่วมกับการใช้ยา

วัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบอาการของเด็กสมาธิสั้นอายุ 6-9 ปี ก่อนและหลังได้รับการเล่นบำบัด

ระเบียบวิธีวิจัย

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ใช้รูปแบบกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The one group Pretest - Posttest Control Group Design) วัสดุและวิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กสมาธิสั้นอายุ 6 - 9 ปี ที่เข้ามารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กสมาธิสั้นแบบสอบถามอาการของเด็กสมาธิสั้น (SNAP-IV) (ผู้ปกครอง) โปรแกรมการเล่น คู่มือการเล่นบำบัดสำหรับพยาบาล สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปของเด็กสมาธิสั้นโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยอาการของเด็กสมาธิสั้น ก่อนการทดลองและหลังได้รับการเล่นบำบัดในกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติทดสอบที่ (Paired t - test)

ผลการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10 คน พบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมเล่นบำบัดเด็กสมาธิสั้นมีค่าเฉลี่ยกลุ่มอาการขาดสมาธิลดลงเมื่อเปรียบเทียบก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .001) โดยมีค่าเฉลี่ยกลุ่มอาการขาดสมาธิลดลง 12.90 คะแนน ค่าเฉลี่ยกลุ่มอาการไม่นิ่ง/หุนหันพลันแล่นลดลงเมื่อเปรียบเทียบก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .001) โดยมีค่าเฉลี่ยกลุ่มอาการไม่นิ่ง/หุนหันพลันแล่นลดลง 11.70 คะแนน ค่าเฉลี่ยกลุ่มอาการของเด็กสมาธิสั้นลดลงเมื่อเปรียบเทียบก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .001) โดยมีค่าเฉลี่ยกลุ่มอาการของเด็กสมาธิสั้นลดลง 24.60 คะแนน

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

นำการเล่นบำบัดมาช่วยลดอาการสมาธิสั้นในกลุ่มเด็กสมาธิสั้น ในคลินิกสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น โดยทำความเข้าใจกับผู้ดูแล และแนะนำโปรแกรมการเล่นบำบัด และให้ผู้ดูแลนำไปฝึกปฏิบัติที่บ้าน โดยมีการประเมินอาการสมาธิสั้นก่อนหลังการใช้โปรแกรมเล่นบำบัด

บทเรียนที่ได้รับ

อาการสมาธิสันของเด็กสมาธิสั้นลดลง ผู้ดูแลและเด็กสมาธิสั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา มีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาช่วยให้คำแนะนำการทำวิจัย มีบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็กสมาธิสั้น ผู้ดูแลเด็กสมาธิสั้นเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการใช้โปรแกรมเล่นบำบัด

Keywords

  • เด็กสมาธิสั้น
  • เล่นบำบัด
  • การลดอาการสมาธิสั้น

เกี่ยวกับโรค

สมาธิสั้น

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ร้อยเอ็ด
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2566
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย