โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นฌรคที่จำเป็นต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก เมื่อเข้าสู่ภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้าย จากข้อมูลการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการทึ่คลินิกโรคเริ้อรังโรงพยาบาลนาเชือก ปีงบประมาณ 2562-2564 พบผู้ป่วยเบาหวานที่มีไตเสื่อม eGFR ในระยะ3-4 จำนวน115, 103 ,73 ตามลำดับ เข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้าย จำนวน 5,4 และ9 คนตามลำดับ ได้รับการบำบัดทดแทนทางไตจำนวน 3,4,6คน ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการพัฒนารูปแบบชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มี eGFR ในระยะที่3-4 เพื่อชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสื่อมของไตในระยะที่ 3 - 4
เพื่อพัฒนารูปแบบชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มี eGFR ในระยะที่3-4 คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลนาเชือก
การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะการพัฒนา และระยะประเมินผล ผู้เข้าร่วมวิจัย ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนาเชือก ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรัง และมีผลการตรวจของ eGFR ในระยะที่3-4 จำนวน 90 คน บุคลากรที่ให้การดูแลผู้ป่วยจำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้น 106 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบประเมินข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การตรวจ creatinine และ eGFR รายงานการตรวจระดับความเค็มในอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหา
1)ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า ผู้ป่วยยังไม่ทราบระยะการเสื่อมของไต เคยมีเจ้าหน้าที่แจ้งผลแต่จำไม่ได้ร้อยละ 60.97 และมีความรู้ในการชะลอไตเสื่อมไม่เพียงพอร้อยละ 72 ด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการขาดการสื่อสารระหว่างทีม และการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพื่อชะลอไตเสื่อมไม่เป็นแนวทางเดียวกัน 2).ระยะการพัฒนา เกิดกระบวนการพัฒนา (1) พัฒนาแนวทางการสื่อสารกับผู้ป่วยและประเมินการรับรู้ทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับบริการ (2)พัฒนาแนวทางการสื่อสารระหว่างทีมดูแล มี POP UP หน้าจอแจ้งผล eGFR ทุกครั้งที่เปิดบริการ (3) พัฒนาคู่มิอแนวทางการชะลอไตเสื่อมโดยทีมสหวิชาชีพ (4)พัฒนาระบบติดตามและการดูแลต่อเนื่อง 3) ระยะประเมินผล ผู้ป่วยทราบระยะการเสื่อมของไตร้อยละ 92 มีความรู้ในการดูแลป้องกันชะลอไตเสื่อมร้อยละ 85 ผลการชะลอไตเสื่อม พบว่าร้อยละ 83.33 มีค่า eGFR เพิ่มขึ้นจาก base line เดิม ร้อยละ16.66 มีค่า eGFR ลดลงจาก base line เดิม
รูปแบบชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มี eGFR ในระยะที่3-4 เกิดจากการค้นหาปัญหาที่พบจากผู้ป่วย มีการทบทวนปัญหา วางแผนการพัฒนาร่วมกับทีมสหวิชาชีพ และติดตามประเมินผล รวมถึงพัฒนาการดูแลผู้ป่วยตามปัญหาที่พบเป็นระยะ ดังนั้นรูปแบบดังกล่าวจึงนำไปใช้และสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานเพื่อชะลอไตเสื่อมได้ตามบริบทโรงพยาบาลนาเชือก
จาการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยสามารถพัฒนารูปแบบชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มี eGFR ในระยะที่3-4 ที่สามารถดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพื่อชะลอความเสื่อมของไตได้อย่างครอบคลุม ทำให้ผลการชะลอไตเสื่อมผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มดีขึ้น
การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร และการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย ผ่านกระบวนการทบทวนการดูแลผู้ป่วย รวมถึงมีระบบการกำกับติดตามประเมินผลและประเมินปัญหาผู้ป่วย การสื่อสารให้ทีมดูแลได้รับทราบเพื่อวางแผนการพัฒนาการดูแลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย