pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช SMIV อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

งานวิจัยปี

2566

คำสำคัญ

การประเมิน การเฝ้าระวัง จิตเวช ให้ความรู้

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การฟื้นฟูสุขภาพ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ความเป็นมา: จากข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง SMI-V (กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต, 2561) พบผู้ป่วย SMI-V จำนวนสะสม 13,194 คน โดยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 8,245 คน (ร้อยละ62.49) เป็นเพศหญิง จำนวน 4,949 คน (ร้อยละ37.51) ช่วงอายุ 26-45 ปี พบมากที่สุด จำนวน 6,977คน (ร้อยละ 52.89) รองลงมาคือช่วงอายุ 46-59 ปี จำนวน 3,079 คน (ร้อยละ 23.34) และ ข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรง SMI-V อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ในปี 2561-2564 มีจำนวน 18, 20, 20 และ 18 ตามลำดับ โดยจำแนกตามกลุ่มของ SMI-V พบว่า กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงต่อผู้อื่นมากที่สุด จำนวน 12, 14, 14 และ 15 คนตามลำดับ ประกอบกับเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยจิตเวช SMI-V ได้ก่อเหตุทำร้ายผู้อื่นจนเสียชีวิตในชุมชนขึ้น ทำให้ชุมชนเกิดความหวาดกลัว ไม่ไว้ใจผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ดังนั้น งานจิต

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาสถานการณ์และรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น(SMIV) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์ เพื่อหารูปแบบการการดูแลผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น (SMIV) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ระยะเวลาที่ศึกษา เดือน มีนาคม 2564 ถึง เดือน กรกฎาคม 2565 แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางโดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงาน ได้แก่ แพทย์ผู้รับผิดชอบคลินิกจิตเวช, พยาบาลจิตเวช จาก รพช., เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานจาก รพ.สต. 13 แห่ง, ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย, นักบริบาล (CG) ,ปลัดอำเภอ และ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน รวม 25 คน ระยะที่ 2 ดำเนินการดูแลผู้ป่วยจิตเวช SMIV ในชุมชนตามแนวทางประยุกต์การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย (C3 THER) และเฝ้าระวังการก่อความรุนแรง PVSS ระยะที่ 3 ประเมินผล และระยะที่ 4 สะท้อนข้อมูลการดำเนินงานและถอดบทเรียน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ผู้ป่วย

ผลการศึกษา

ระยะที่ 1 วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทาง พบว่า สถานการณ์การดำเนินงานในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช SMI-V ในชุมชนที่ผ่านมา ผู้ป่วยมีอาการกำเริบจากหลายสาเหตุ มีการ Re-admit มากขึ้น ครอบครัวมีข้อจำกัดในการดูแล ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลน้อย และพยาบาลจิตเวชไม่สามารถจัดการผู้ป่วยรายกรณีได้ทั้งหมดระยะที่ 2 ดำเนินการดูแลผู้ป่วยจิตเวช SMIV ในชุมชน ได้ประยุกต์ใช้การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย (C3 THER) ผู้ป่วยจิตเวช(SMIV) และการประเมินความเสี่ยงและเฝ้าระวังการก่อความรุนแรง ตามแบบประเมิน PVSS (Prasri Violence Severity Scale) อย่างต่อเนื่อง ระยะที่ 3 ประเมินผล พบว่า ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและการเฝ้าระวังการก่อความรุนแรง การค้นหาปัจจัยจำแนกบทบาท(4Ps) เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่ออาการกำเริบระยะที่ 4 สะท้อนข้อมูลการดำเนินงานและถอดบทเรียน จากรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช SMIV ที่ได้ ทำให้ครอบครัว ชุมชนมีส่ว

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

สามารถแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัวหรือชุมชนได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนให้การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย มีการให้ความรู้และทักษะการดูแลแก่ครอบครัว ชุมชนในด้านการดูแลการเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต การดูแลขณะบำบัดจิตเวช หลังการบำบัด และติดตามจนครบโปรแกรมการบำบัด พบว่าผู้ป่วยจิตเวช SMIV ไม่กลับไปเสพยาเสพติดซ้ำอีก

บทเรียนที่ได้รับ

รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช SMIV โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชนได้เป็นรูปธรรม ผู้ป่วยไม่มีอาการกำเริบซ้ำ ครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้ป่วยพึงพอใจ ชุมชนไม่มีเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดจากผู้ป่วยผู้ป่วยจิตเวช SMIV นอกจากนี้ ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำเริบซ้ำในผู้ป่วยจิตเวช SMIV เพิ่มเติม

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการจัดการ ในชุมชนอย่างต่อเนื่องให้เกิดความยั่งยืน มีการคืนข้อมูลสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ หาจุดควรพัฒนาต่อยอดและการเทียบเคียง (ฺBenchmarking) พื้นที่อื่นต่อไป

Keywords

  • รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
  • เสี่ยงก่อความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
  • การมีส่วนร่วมของบชุมชน

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ยโสธร
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R อุบลมุกศรีโสธรเจริญ
เขตสุขภาพ
เขตที่ 10
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2566
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย