กระทรวงสาธารณสุขและสปสช.กำหนดให้มีวิธีการจัดสรรเงินแบบใหม่ โดยเกณฑ์การจ่ายเงินผู้ป่วยในแก่สถานพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพผลผลิตของรพ.ที่สำคัญ ที่ผ่านมารพ.กันทรวิชัยมีการส่งข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ล่าช้าและการลงรายละเอียดข้อมูลในแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยในไม่ครบถ้วน แพทย์ใช้เวลาสรุป Chart หลายวัน, ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน นักเวชสถิติให้รหัสโรคไม่ถูกต้องตามมาตรฐานที่สปสช.กำหนด ทำให้พบความผิดพลาดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง DRGsและค่าAdjRW ปี2561-2565เท่ากับ ร้อยละ54.54,42.72,47.09,33.54,25 ลำดับ ทำให้โรงพยาบาลสูญเสียรายได้ ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพภายในโรงพยาบาลและคณะกรรมการพัฒนาระบบเวชระเบียน ในการพัฒนาระบบข้อมูลเวชระเบียนและนำผลจากการศึกษามาเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพข้อมูลผู้ป่วยใน โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาระบบเวชระเบียน ในบริบทโรงพยาบาลกันทรวิชัย
ใช้รูปแบบการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้แนวคิดของ Kemmis & Mc Taggart ตามวงรอบการศึกษา PAOR ดำเนินการพัฒนาคุณภาพข้อมูลผู้ป่วยในร่วมกันโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบเวชระเบียน ซึ่งเป็นทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จำนวน 22 คน ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา พื้นที่วิจัย โรงพยาบาลกันทรวิชัย ระยะเวลาในการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2561-2565 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบจากผลลัพธ์เวชระเบียนผู้ป่วยในที่สปสช. สุ่มตรวจพบความผิดพลาดลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา การสรุปโรคและหัตถการผิดพลาด ประเด็นการให้รหัสโรคและหัตถการผิดพลาด ค่าAdj.RW ผลรวมการเปลี่ยนแปลงหลังการตรวจสอบเวชระเบียน ลดลง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ได้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพข้อมูลผู้ป่วยใน "ตั้งเป้า เฝ้าดู ปรับเปลี่ยน"ที่เกิดจากการศึกษา PAOR ร่วมกับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาระบบเวชระเบียนใช้ในการตั้งเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจนเฝ้าติดตามการดำเนินงานและปรับปรุงหรือเปลี่ยนวิธีการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และได้แนวทางการกำหนดระยะเวลาการสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกันทรวิชัยที่เป็นแนวปฏิบัติร่วมกันทั้งรพ.ประเมินผลการพัฒนารูปแบบในปีงบประมาณ2565 พบว่าการสรุปโรคและหัตถการผิดพลาดลดลงเทียบกับปีที่แล้วร้อยละ 9.25 ประเด็นการให้รหัสโรคและหัตถการผิดพลาดลดลงเทียบกับปีที่แล้วร้อยละ 1.75 ค่าAdj.RW ผลรวมการเปลี่ยนแปลงหลังการตรวจสอบเวชระเบียน ลดลงจากเดิม-14.2971ในปี 2564 เป็น -3.9317 1และจำนวนเวชระเบียนที่มีการถูกสุ่มตรวจจากสปสช.เขตลดลง จาก155 เล่ม/2564 เป็น 79เล่ม/2565
รพ.กันทรวิชัยได้ใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยได้แก่ การจัดทำแนวทางการกำหนดระยะเวลาการสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกันทรวิชัย คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานสำหรับผู้ดำเนินงาน และนำผลการศึกษา เข้าสู่เวเทีประชุมคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาลและกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกันของสหวิชาชีพ และKMร่วมกันในเวทีผู้ดำเนินงานศูนย์ประกันของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม
การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพข้อมูลผู้ป่วยใน ในบริบทโรงพยาบาลกันทรวิชัย ที่พัฒนาขึ้น จากการจากการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายผ่านรูปแบบการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้แนวคิดของ Kemmis & Mc Taggart ตามวงรอบการศึกษา PAOR ดำเนินการศึกษาวางแผนการดำเนินงาน ปฏิติบัติสังเกตการและสะท้อนผล จนเกิดผลลัพธ์ ในการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
การนำการมีส่วนรวมของกลุ่มเป้าหมานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหามาร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาผ่านผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย