pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะไส้ติ่งแตก โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

งานวิจัยปี

2566

คำสำคัญ

การตรวจร่างกาย ติดเชื้อในกระแสเลือด ปวดท้อง ปัสสาวะ ฝี ภาวะแทรกซ้อน หนอง เลือด ไส้ติ่ง ไส้ติ่งอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ทุติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การรักษาวินิจฉัยโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

การวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบอาศัยข้อมูลจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัย โดยเกือบทั้งหมดจะมีจุดกดเจ็บมากที่สุดบริเวณ Mc Burney ผลเลือดพบเม็ดเลือดขาว (White blood cell count) ปริมาณสูงกว่าปกติ มักมีเม็ดขาวชนิดนิวโตรฟิลเด่น การตรวจปัสสาวะอาจไม่ค่อยมีประโชน์มากนัก การวินิจฉัยขึ้นกับประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลักนั้น อาจส่งผลให้การวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบล่าช้าออกไป ทำให้มีความรุนแรงขึ้นและเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ภาวะไส้ติ่งแตก การเกิดฝีหนองที่ไส้ติ่ง ติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น สถิติการเกิดอุบัติการณ์การดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัยก็เช่นเดียวกัน เช่น ภาวะไส้ติ่งแตกคิดเป็นร้อยละ 30.50 ภาวะ Sepsis ร้อยละ 14.49 ส่งผลให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะยาวนานขึ้น เพิ่มจำนวนวันนอน และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยจนอาจเสียชีวิตได้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะไส้ติ่งแตก 2.เพื่อประเมินผลแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะไส้ติ่งแตก

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการวิจัยและพัฒนา ระยะเวลาศึกษา ตั้งแต่ ก.ค.64 - ก.ย.65 กลุ่มตัวอย่างในวงจรที่ 1 ได้แก่ผู้ป่วยที่มีภาวะไส้ติ่งอักเสบที่รักษาในแผนกศัลยกรรม จำนวน 103 ราย วงจรที่ 2 บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน จำนวน 35 ราย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน Alvarado Score แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน chi-square ,t-test,multiple logistic regression วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา มีขั้นตอนดังนี้ วงจรที่ 1 ระยะศึกษาสถานการณ์ปัญหา วงจรที่ 2 พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะไส้ติ่งแตกร่วมกับบุคลากรในหน่วยงาน

ผลการศึกษา

วงจรที่ 1 ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตก คือระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยปวดท้องจนถึงโรงพยาบาลที่ใช้เวลา ≥ 24 ชม.มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกสูงมากกว่าผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลก่อน24ชม.1เท่า (ORadj=1.13, 95%CI 0.13-0.65) และการตรวจพบrebound tendernessขวาล่างมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกถึง3เท่า (ORadj = 3.03, 95%CI 1.17-2.29) และภาวะLeukocytosis (ORadj = 2.32, 95%CI 0.15-0.62) และปริมาณเม็ดเลือดขาวPMNสูง (ORadj = 1.39, 95%CI 1.33-5.41) โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 วงจรที่ 2ได้พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะไส้ติ่งแตกโดยแม้ว่าจะมีคะแนนAlvarado Scoreต่ำหากตรวจพบภาวะTenderness RLQร่วมกับภาวะRebound Tenderness ,Leucocytosis(>10000m3) ,PMN สูง แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดทันที

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

จากการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะไส้ติ่งแตก โดยได้นำแบบประเมินAlvarado scoreมาใช้เพื่อประเมินSymtoms,Signs,Laboratory test และกำหนดแนวทางในการพิจารณาผ่าตัดหากพบว่ามีภาวะTenderness RLQ ร่วมกับ1.Rebound Tenderness 2.Leucocytosis(>10000m3) 3.PMNสูงโดยถึงแม้ว่าจะมีคะแนน Alvarado Score ต่ำหากตรวจพบTenderness RLQ ร่วมกับ3ภาวะดังกล่าวข้างต้นแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดทันที

บทเรียนที่ได้รับ

จากการดูแลผู้ป่วย appendicitis จะเห็นได้ว่าการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะไส้ติ่งแตกโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัยที่พัฒนาจากการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไส้ติ่งแตกนำสู่พัฒนาแนวทางการดูแลที่สอดคล้องกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องส่งผลให้ลดอุบัติการณ์ภาวะไส้ติ่งแตก ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น และผู้ป่วยมีความปลอดภัย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. ทีมผู้วิจัยเป็นผู้ปฏิบัติหน้างานทำให้การดูแล ประเมินผู้ป่วย การประสานงาน ส่งต่อข้อมูลกับผู้เกี่ยวข้องได้ถูกต้องและรวดเร็ว 2. การศึกษาครั้งนี้ได้รับสนับสนุนจากผู้บริหารเป้นอย่างดี

Keywords

  • การดูแล
  • ไส้ติ่งอักเสบ
  • ไส้ติ่งแตก

เกี่ยวกับโรค

ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
มหาสารคาม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2566
งานวิจัยนี้ส่งโดย
มีผู้ส่งแทน : นางจิตรา สุวรรณพันธ์ นางจิตรา สุวรรณพันธ์ (jitra_dent@hotmail.com)
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย