ปีงบประมาณ 2566 สปสช. ได้ปรับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการขอรับค่าบริการสาธารณสุข โดยมีระบบการพิสูจน์ตัวตนก่อนรับบริการหรือที่เรียกกันว่า Authen หรือ Authentication ซึ่งบริการตรวจ HbA1c ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นหนึ่งในรายการที่ต้อง Authen โรงพยาบาลนาดูนมีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 2,269 คน มีการตรวจ HbA1c ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2565 ก่อนมีการพิสูจน์ตัวตน 807 คน โดยผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่า 200 mg./dl จะรับบริการที่ รพ.สต. ปี พ.ศ. 2566 มีแผนให้ทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลออกบริการพร้อมกับการ Authen เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยเบาหวาน และพิทักษ์ผลประโยชน์ในการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาล จึงต้องการประเมินประสิทธิผลการพิสูจน์ตัวตน ด้วยบัตรประชาชนของผู้รับบริการ (Authentication) เชิงรุกในการบริการตรวจ HbA1c ผู้ป่วยเบาหวาน ครั้งที่ 1 อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ประเมินผลการพิสูจน์ตัวตนของผู้รับบริการ (Authentication) เชิงรุกในการบริการตรวจ HbA1c ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ครั้งที่ 1 อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินประสิทธิผลการพิสูจน์ตัวตนของผู้รับบริการ (Authentication) เชิงรุกในการบริการตรวจ HbA1c ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ครั้งที่ 1 อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Evaluation Model) ของสตัฟเฟิลบีม พิจารณาความสอดคล้องด้าน (1) การประเมินบริบท คือ การประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (2) การประเมินปัจจัยนำเข้า คือ การประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าได้แก่ บุคลากร เทคโนโลยี แผนการดำเนินงาน (3) การประเมินกระบวนการ คือ การประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงาน และ (4) การประเมินผลผลิต คือ ผลการพิสูจน์ตัวตนของผู้รับบริการ เชิงรุกในการบริการตรวจ HbA1c ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ครั้งที่ 1 โดยเก็บข้อมูลในระหว่าง 1 มกราคม–28 กุมภาพันธ์ 2566
ประเมินผลตามองค์ประกอบแบบจำลองซิปโมเดล พบว่า ด้านบริบท การ Authentication ผ่าน New Authen โดยใช้การเสียบบัตรประชาชน หรือ ถ่ายรูปผู้ป่วยพร้อมบัตรประชาชน หรือรับรองโดยเจ้าหน้าที่/ผู้ปกครองโดยเสียบบัตรของผู้รับรองแทน ด้านปัจจัยนำเข้า นักวิชาการคอมพิวเตอร์ออกให้บริการ มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เนต โน๊ตบุ๊ค เครื่องอ่านบัตร และกล้อง webcam โดยใช้บัตรประชาชนเสียบเครื่องอ่านบัตรที่เชื่อมต่อกับโปรแกรม New Authen และกรอกเบอร์โทรศัพท์ หรือถ่ายรูปผู้ป่วยพร้อมกับกรอกเลขบัตรประชาชนและเบอร์โทรศัพท์กรณีไม่ได้นำบัตรมา ด้านกระบวนการ ส่งตรวจในระบบ HosXP ล่วงหน้าตามวันที่นัด นักวิชาการคอมพิวเตอร์ออกให้บริการพิสูจน์ตัวตนที่ รพ.สต. และคลินิกพิเศษโรงพยาบาลนาดูน พร้อมกับทีมสหวิชาชีพออกให้บริการตรวจ HbA1c และส่งตรวจในระบบ HosXP กรณีมาผิดนัด ติดตามผลจากโปรแกรม HosXP และเวป สปสช. ด้านผลผลิตของการดำเนินงาน Authen 71.
พัฒนาระบบการให้บริการพิสูจน์ตัวตนเชิงรุก เพื่อลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาล และเพื่อความรวดเร็วในการเรียกเก็บค่าบริการ ลดการตรวจสอบก่อนการจ่าย (Pre-Audit)
1.การประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการเข้ารับบริการยังไม่ทั่วถึง ผู้ป่วยไม่นำบัตรประชาชนมารับบริการ 2.ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มี Smart phone จำเบอร์โทรศัพท์ไม่ได้ ยังต้องพึ่งเจ้าหน้าที่ในการพิสูจน์ตัวตน และปัญหาความไม่เสถียรของสัญญาณอินเตอร์เนต ดังนั้นการพิสูจน์ตัวตนด้วยตัวเองตามแนวทางที่ สปสช.เน้น เพื่อลดภาระของผู้ให้บริการจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากในพื้นที่ชนบท
1.ความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ 2.การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง รพ.สต. และ อสม.ในพื้นที่ 3.การประชาสัมพันธ์ทั้งก่อนและระหว่างการให้บริการ 4.การติดตามผลเป็นระยะ ช่วยพัฒนาความครอบคลุมของการดำเนินงาน
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย