ภาวะเด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) เป็นความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวและท่าทางที่เกิดจากการบาดเจ็บ ซึ่งเป็นรอยโรคที่คงที่ในสมอง เกิดในสมองที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดในคลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็กสมองพิการ ในช่วงปีพ.ศ. 2561-2563 มีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพจำนวน 335, 241, และ 142 ราย ตามลำดับ ดังนั้นงานกายภาพบาบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้มองเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงทำการศึกษาถึงผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดในเด็กสมองพิการต่อการเปลี่ยนแปลงระดับพัฒนาการของเด็กสมองพิการขึ้น โดยวัดผลจากแบบประเมิน DSPM และ DAIM เพื่อเป็นการติดตามการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของเด็กสมองพิการ รวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการของร่างกาย และคุณภาพชีวิต
1. เพื่อศึกษาผลของการกระตุ้นพัฒนาการเด็กสมองพิการโดยใช้แบประเมิน DSPM และDAIM 2. เพื่อเปรียบเทียบผลก่อน-หลังของของการกระตุ้นพัฒนาการเด็กสมองพิการ โดยใช้แบประเมิน DSPM และDAIM
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design) ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการการฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับเด็กสมองพิการ 24 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กสมองพิการเพศชายและหญิง อายุแรกเกิด ถึง 15 ขวบ ที่มารับการกระตุ้นพัฒนาการ ณ คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยการสุ่มเฉพาะเจาะจงคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกพัฒนาการของเด็กสมองพิการ DSPM และ DAIM เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และทดลองกลุ่มตัวอย่างระหว่างเดือน สิงหาคม 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน ด้วย Paired-t-test
ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเด็กสมองพิการจำนวน 60 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 34 ราย (ร้อยละ 56.66) และเพศหญิง 26 ราย (ร้อยละ 43.33), อายุเฉลี่ย (¯X±SD=49.18±22.99) เดือน, BMI เฉลี่ย (¯X±SD=13.90±2.25) Kg/m2., อัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย (¯X±SD=8.40±8.52) ครั้ง/นาที, อัตราการหายใจเฉลี่ย (¯X±SD=25.13±2.36) ครั้ง/นาที มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด 46 ราย (ร้อยละ 76.66) และมีการคลอดปกติ 14 ราย (ร้อยละ 23.33) การเปรียบเทียบระดับพัฒนาการของเด็กพิการหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ โดยใช้แบบประเมิน DSPM และ DAIM พบว่า เด็กสมองพิการที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการมีค่าการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของการเคลื่อนไหวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
1) ได้รับโปรแกรมการฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพตามระดับพัฒนาการอย่างถูกต้อง 2) เด็กสมองพิการได้รับการติดตามทางโทรศัพท์ทุกเดือนและติดตามผลของโปรแกรมการฝึกในระยะยาว เพื่อที่จะประเมินระดับพัฒนาการ และคุณภาพชีวิต 3) เด็กสมองพิการมีระดับพัฒนาการ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนั้นผู้ปกครองสามารถนำโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพไปปฏิบัติต่อเนื่องที่บ้านได้ด้วยตนเอง
จากการศึกษาพบว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการกระตุ้นพัฒนาการเด็กสมองพิการโดยการฝึกฟื้นฟูและกระตุ้นพัฒนาการด้วยวิธีการกระตุ้นพัฒนาการทางกายภาพบำบัดมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการเด็กสมองพิการเพิ่มขึ้น 1ระดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) หลังการให้โปรแกรมเป็น
1.รูปแบบโปรแกรมที่ให้กับผู้ปกครองของเด็กสมองพิการที่นำไปฝึกต่อที่บ้าน 2. การติดตามผลต่อเนื่องสม่ำเสมอกับผู้ปกครองของเด็กสมองพิการ 3. การได้รับความร่วมมือและความเอาใจใส่จากผู้ปกครองของเด็กสมองพิการ
ไม่เป็น
วารสาร mahidol R2R e-journal ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2566)
งานประชุมกายภาพบำบัดเขตนครชัยบุรินทร์ จังหวัดนครราชสีมา 2565
ไม่เคย