จากการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลัง (ปี2558-2562) พบว่ามีผู้ป่วยเด็กCPR29คน โดยอัตราการตายสูงมากถึง 86% เมื่อเทียบกับมาตรฐานของ AHA1 ไม่ควรเกิน 50% พบว่าสาเหตุสำคัญ คือ Human error และไม่มีระบบ alert โดยเดิมมีการใช้ PEWS แบบฟอร์มในกระดาษ มีแบบบันทึกหลายแบบฟอร์มตามอายุ และทางผู้ช่วยพยาบาลไปวัด Vital sign ผู้ป่วยจะลงข้อมูล แต่จะไม่รู้ว่าผู้ป่วยรายนี้วิกฤตหรือแย่จึงไม่ได้รายงานทีมพยาบาล รวมทั้งทีมพยาบาลเองก็มีภาระงานมาก ทำให้อาจไม่ได้ดูแบบบันทึกซ้ำ เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงจนนำไปสู่ภาวะ Cardiac arrest ดังนั้นทีมผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาต้นแบบ Application PEWSที่สามารถลงข้อมูลได้ Real time และคำนวณ PEWS Score อัตโนมัติได้ แล้วมีระบบเตือน Alert ไปที่ทีมพยาบาลทันที เพื่อค้นหาผู้ป่วยเด็กที่มีอาการทรุดลงได้รวดเร็วก่อนที่ผู้ป่วยจะมีภาวะ Cardiac arrest ก็ไม่ต้อง CPR ซึ่งก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กไม่เสียชีวิต
เพื่อหาผลกระทบของการใช้ Application PEWS ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ต่ออัตราการตายของผู้ป่วยเด็กที่มานอนรักษาในรพ.และเพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ Application PEWS และ แบบบันทึก PEWS เดิมที่ใช้อยู่
การวิจัยแบบทดลอง (Experimental Research) โดยมี Intervention (Innovation) คือ ระบบApplication PEWS และได้ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในรพ.แล้ว โดยตัวแปรต้น (Independent Variables) คือ การใช้ Application PEWS ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ กับแบบบันทึก PEWS เดิมที่ใช้อยู่ และตัวแปรตาม (Dependent Variables) คือ อัตราการตายของผู้ป่วยเด็กที่มานอนรักษาในรพ. ประชากรที่ศึกษา (Inclusion Criteria) คือ ผู้ป่วยเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 15 ปี ได้นอนรักษาที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ณ หอผู้ป่วยสามัญ (หอผู้ป่วยเด็กบน และเด็กล่าง) ตั้งแต่ 1มีนาคม พ.ศ. 2564ถึง 30 เมษายน พ.ศ.2564 ประชากรที่คัดออก (Exclusion Criteria) คือ ผู้ป่วยเด็กแล้วย้ายไปหออื่น หรือไม่สามารถลงข้อมูลได้ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้คือ Descriptive statistics และ logistic Regression เช่น Mean, Median, SD, และ P value เป็นต้น
ผู้ป่วยทั้งหมด 62 คน โดยแบ่ง2กลุ่มเท่าๆกัน คือ กลุ่มทดลองใช้ PEWS application และกลุ่มควบคุม ใช้ PEWS แบบกระดาษ โดยมี baseline ไม่แตกต่างกัน กลุ่มควบคุม เป็นผู้หญิง 51.6%, อายุเฉลี่ย4 +/- 5.5(median +/-SD)ปี, นอนรพ.เฉลี่ย 2 +/- 2.9 วัน, มีการใช้ PEWS กระดาษ 190 ครั้ง แบ่งเป็นสีเขียว 169ครั้ง, สีเหลือง 11ครั้ง และสีแดง 10ครั้ง ส่วนในกลุ่มทดลอง เป็นผู้หญิง 48.4%, อายุเฉลี่ย 3 +/- 3.9ปี, นอนรพ.เฉลี่ย 3 +/- 5.1วัน, มีการใช้ application149ครั้ง แบ่งเป็นสีเขียว 129ครั้ง, สีเหลือง 19ครั้ง และสีแดง 1ครั้ง ผลการวิจัยในกลุ่มควบคุม พบอัตราการตาย 3.2%, Unplanned ICU 12.9%, ผู้ป่วยมีอาการทรุดลง 9.7% ซึ่งในกลุ่มทดลองไม่พบผู้ป่วยดังกล่าวเลย และเวลาให้การรักษาผู้ป่วยเฉลี่ย 29 +/- 44.3นาที และแยกตามประเภทเป็นผู้ป่วยสีเหลือง 27 +/- 56.4นาที และสีแดง 5 นาที ได้รักษาตามมาตรฐาน ส่วนกลุ่มควบคุมเวลาเกินมาตรฐาน
นวัตกรรมเรา ลด human error ได้ โดยผู้ช่วยพยาบาลไปบันทึกข้อมูล V/S ที่ข้างเตียง ผ่าน Smartphone หรือ Tablet เพื่อเข้าระบบ Application และข้อมูลมีการประมวนผล PEWS Score โดยอัตโนมัติ ถ้าเป็น High (สีแดง) หรือ Moderate Risk (สีเหลือง) จะมีระบบเตือนทั้งเสียงและแถบสีที่ชื่อผู้ป่วยไปที่ Nurse Stationโดยพยาบาลหัวหน้าเวรจะรู้ทันทีเป็น realtime เพื่อไปดูแลผู้ป่วยได้ตามแนวทางเบื้องต้นที่มีให้ และ print ได้
การนำนวัตกรรมมาใช้จริง ทางทีมพบข้อจำกัดในบุคคลากรที่ไม่ชำนาญจึงต้องมีการสื่อสารถึงประโยชน์ การทำงานของระบบใหม่ และลงหน้างานเป็นระยะเกือบทุกสัปดาห์ในช่วงแรก รับฟังข้อเสนอแนะจากทางทีม รวมทั้งมีการปรับปรุงนวัตกรรมหลายครั้งให้ง่ายต่อการใช้กับทุกๆคนที่หน้างาน ทั้งคนที่ชำนาญและไม่เคยใช้มาก่อน เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ได้ รวมทั้งต้องช่วยลดภาระงาน ถึงจะทำให้มีการใช้นวัตกรรมต่อได้อย่างยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกๆระดับไม่ว่าจะเป็นทีม PCT กุมารเวชกรรม ทั้งคุณผู้ช่วยพยาบาล พยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย กุมารแพทย์ และสหสาขาวิชาชีพ เช่น ทีมสารสนเทศ ทีมโปรแกรมเมอร์ ทีมศูนย์คุณภาพ รวมทั้ง key person คือ ท่านผู้อำนวยการและทีมผู้บริหารที่เห็นความสำคัญและช่วยให้การสนับสนุน จน PEWS application สำเร็จได้ด้วยดี และนำมาใช้จริงได้ จนนำไปสู่การลดอัตราตายได้
ปัจจุบันนี้ในประเทศไทย และต่างประเทศ มีแบบบันทึก PEWS ในกระดาษ หรือแค่ลงข้อมูลใน Computer ดังนั้นทีมผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาต้นแบบ Application PEWSที่สามารถลงข้อมูลได้ Real time และคำนวณ PEWS Score อัตโนมัติได้ แล้วมีระบบเตือน Alert ไปที่ทีมพยาบาลทันที เพื่อค้นหาผู้ป่วยเด็กที่มีอาการทรุดลงได้รวดเร็วก่อนที่ผู้ป่วยจะมีภาวะ Cardiac arrest ก็ไม่ต้อง CPR ซึ่งก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กไม่เสียชีวิต
ไม่เคย
ไม่เคย
รางวัลชนะเลิศด้าน Change จากโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความปลอดภัย ปี 2563 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล สรพ. ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. 2563