pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ถุงหอมสมุนไพรไล่ยุง

งานวิจัยปี

2564

คำสำคัญ

การติดเชื้อ ผิวหนังอักเสบ ผื่น ร่างกาย อาการคัน โรคผิวหนัง โรคไข้เลือดออก ไอ

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท นวัตกรรม

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การป้องกันควบคุมโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

การกัดของยุงก่อให้เกิดความเจ็บปวด ผื่นผิวหนังอักเสบ อาการคัน เกาจนเป็นบาดแผล ทำให้เกิดโรคผิวหนังติดเชื้อและรอยดำตามมา นอกจากนี้ยังเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญในประเทศเขตร้อน การใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการป้องกันยุงอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและเกิดการสร้างความต้านทานของยุงได้ น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มะกรูด เปลือกส้ม มีความสามารถในการระเหยเป็นไอ มีกลิ่นหอมฉุน มีโมโนเทอร์ปีนและเซสควิเทอร์ปีนซึ่งมีฤทธิป้องกันยุงกัดได้ ซึ่งจากการศึกษาดังกล่าวจึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด เพื่อป้องการการเกิดโรค ลดการใช้สารเคมี และมีกลิ่นหอมผ่อนคลายความเครียดในชุมชนได้

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดได้แก่ ตะไคร้หอม มะกรูด เปลือกส้ม ในการป้องกันยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคในชุมชน

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลองโดยแบ่งพื้นที่ 2 หมู่บ้านในตำบลสำโรง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม โดยคัดเลือกหมู่บ้านที่มีประชากรใกล้เคียงกัน และยินยอมเข้าร่วมการทดลองนวัตกรรมครั้งนี้ โดย กลุ่มควบคุมไม่ได้รับถุงหอมสมุนไพรไล่ยุงใช้ชีวิตตามปกติ และกลุ่มทดลองได้มีการใช้ถุงหอมสมุนไพรไล่ยุงร่วมด้วย ระยะดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน 2563 ติดตามโดยใช้เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความพึงพอใจ

ผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่าจำนวนอัตราผู้ป่วยโรคที่มาจากยุงลายลดลงการใช้สารเคมีป้องกันยุงลายลดลงได้รับการพึงพอใจในถุงหอมสมุนไพรไล่ยุง

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ถุงหอมไล่ยุงที่ทำขึ้นก็สามารถลดค่าใช้จ่ายที่จะต้องซื้อสารเคมีไล่ยุงและไม่ได้รับสารเคมีจากสารเคมีไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายกลิ่นหอมของสมุนไพรยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายสามารถทำได้เองโดยมีต้นทุนไม่สูง

บทเรียนที่ได้รับ

1. โรคที่เกิดจากยุงลดลง 2. ลดการใช้สารเคมีที่เกิดอันตรายต่อประชาชนในพื้นที่ 3. ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญต่อการป้องกันโรคในชุมชน 4. ความเชื่อและการยอมรับในนวัตกรรมถุงหอมสมุนไพรไล่ยุงยังไม่มากพอ เนื่องจากมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวไม่มากพอและการควบคุมโรคในปัจจุบันยังมีการใช้สารเคมีเช่น ยาทากันยุง การพ้นยาไล่ยุง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

โรคที่เกิดจากยุงลดลง ประชาชนในพื้นที่ลดการใช้สารเคมีที่เกิดอันตราย ตระหนักถึงความสำคัญต่อการป้องกันโรคในชุมชน และสุขภาพของประชาชนในชุมชนดีขึ้น

Keywords

  • ยุง
  • สมุนไพรไล่ยุง
  • สารเคมีที่เป็นอันตราย

เกี่ยวกับโรค

ไข้เลือดออก

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ถุงหอมสมุนไพรไล่ยุง ได้คิดค้นจากสมุนไพรที่มีผลต่อสุขภาวะสุขภาพของคนในชุมชน ที่มีการนำสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยมาใช้ให้เกิดประโยชน์

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
มหาสารคาม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2564
งานวิจัยนี้ส่งโดย
มีผู้ส่งแทน : ศุภนิดา ทองดวง (supanidat@gmail.com)
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย