pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

นวัตกรรม ตู้อบแสงUV ฆ่าเชื้อก่อนล้างทำความสะอาด

งานวิจัยปี

2564

คำสำคัญ

covid-19 การติดเชื้อ การประเมิน ผิว

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท นวัตกรรม

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การป้องกันควบคุมโรค

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

เพื่อเป็นการลดความผิดพลาดขณะปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จ่ายกลางในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อจากสารคัดหลั่งที่ติดอยู่บนผิวเครื่องมือ โดยใช้การอบแสงUV ฆ่าเชื้อก่อนล้างทำความสะอาดเพื่อให้ทั้งผู้ให้บริการ และผู้รับบริการมีความปลอดภัย รวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีความเหมาะสมกับบริบทหน้างานของงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลลำพูน เพราะ ตู้อบ UV ที่มีขายตามท้องตลาดมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับงานที่มีเครื่องมือจำนวนมากในแต่ละรอบการล้าง แต่หากจะใช้วิธีการแช่เครื่องมือทั้งหมดก็จะทำให้ใช้เวลานานและสิ้นเปลืองน้ำยามาก การใช้นวัตกรรมตู้อบแสงUV เข้ามาช่วยในการฆ่าเชื้อก่อนล้างทำความสะอาด จึงเป็นวิธีที่ทำให้ช่วยประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย โดยนวัตกรรมตู้อบแสงUV ฆ่าเชื้อก่อนล้างทำความสะอาด ได้มีอาจารย์จิตอาสา จากมหาวิทยาลัยพะเยา และ วิทยาลัยเทคนิคลำพูนร่วมกันออกแบบ และ สร้างให้กับโรงพยาบาลลำพูน

วัตถุประสงค์

-เพื่อลดการกระเด็นของฝอยละอองที่แพร่เชื้อ ไวรัสโดยใช้แทนการแช่เครื่องมือติดเชื้อด้วยน้ำยา -เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่CSSDที่ปฏิบัติงานล้างเครื่องมือ -เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและเหมาะสม

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนา (Research and development) สถานที่ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ งานจ่ายกลาง (CSSD) โรงพยาบาลลำพูน โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ เครื่องมือที่เข้าสู่กระบวนการการล้าง เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการผ่านการอบแสงUV ฆ่าเชื้อก่อนล้างทำความสะอาดด้วยตู้ UV ที่สร้างขึ้น ระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือน เม.ย. – ก.ย. 2563 วัดผลการวิจัยโดยการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเปรียบเทียบ ก่อนและหลัง ด้านค่าใช้จ่าย เวลา และความพึงพอใจก่อนและหลังการพัฒนาจากผู้ปฏิบัติงานจ่ายกลาง (CSSD) ในการทำความสะอาดและทำปราศจากเชื้อเครื่องมือที่ใช้กับคนไข้เฉพาะ Cohort Ward โดยใช้แบบสอบถามในการประเมิน

ผลการศึกษา

-เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างการใช้นวัตกรรมตู้อบแสงUV และ การแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ = 500 บาท / วัน นวัตกรรมฯ เปิด 2 ครั้ง / วัน ค่าไฟ = 10 บาท / วัน - เปรียบเทียบเวลาระหว่างการใช้นวัตกรรมตู้อบแสงUV และ การแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ = 60 นาที / วัน นวัตกรรมฯ = 11 นาที / วัน - เปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างการใช้นวัตกรรมตู้อบแสงUV และ การแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ = 75 % นวัตกรรมฯ = 98 %

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

1.นวัตกรรมเริ่มใช้งานในงานจ่ายกลาง ตั้งแต่ 13 เมษายน 2563 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน 2.การมีสติใช้องค์ความรู้ช่วยให้เราทำงานได้ปลอดภัยอย่างสมเหตุสมผล 3.เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการรวมแนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานในงานจ่ายกลาง (CSSD) และได้มีอาจารย์จิตอาสา จากมหาวิทยาลัยพะเยา และ วิทยาลัยเทคนิคลำพูนร่วมกันออกแบบ และ สร้างให้กับโรงพยาบาลลำพูน 4. การสนับสนุนที่ได้รับจากองค์กรคืออนุญาตให้ใช้ตู้เย็นชำรุดใช้ทำ

บทเรียนที่ได้รับ

การมีสติใช้องค์ความรู้ช่วยให้เราทำงานได้อย่างปลอดภัยอย่างสมเหตุสมผล ปลอดภัย ประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการผสานความร่วมมือของผู้วิจัยที่อยู่ต่างหน่วยงาน แต่ร่วมมือร่วมใจทำเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติ Covid-19 โดยรวม แนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานในงานจ่ายกลาง ออกแบบโดยอาจารย์จิตอาสาจากมหาวิทยาลัยพะเยา และ อาจารย์จากวิทยาลัยเทคนิคลำพูนเป็นผู้สร้างให้กับโรงพยาบาลลำพูนในช่วงวิกฤติ Covid-19 ระลอกที่1 ได้ใช้งานจนกระทั่งถึงปัจจุบันวิกฤติ Covid-19 ระลอกที่ 3

Keywords

  • ตู้อบแสงUV
  • น้ำยาฆ่าเชื้อ

เกี่ยวกับโรค

Covid-19

เป็นสิ่งประดิษฐ์

การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อจากสารคัดหลั่งที่ติดอยู่บนผิวเครื่องมือ โดยใช้การอบแสงUVฆ่าเชื้อ ก่อนล้างทำความสะอาดโดยปกติ ไม่มีทำ มักจะใช้วิธีการแช่น้ำยาซึ่งจะฆ่าเชื้อโดยรวม และเป็นขนาดตู้อบ UV ที่ใหญ่กว่าที่มีขายตามท้องตลาด

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ลำพูน
เครือข่าย R2R
เครือข่าย North R2R
เขตสุขภาพ
เขตที่ 1
ภูมิภาค
ภาคเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2564
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย