การฝากครรภ์เป็นหนึ่งในการบริการงานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ สำคัญ องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์และกำหนดให้ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในการคลอด ช่วยลดอัตราการตายของมารดาและ ทารก สำหรับพื้นที่วิจัยเป็นชุมชนชนบท มีแหล่งรายได้จากการทำเกษตรกรรม และการขายแรงงาน โดยเฉพาะคนวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่จะอพยพแรงงานไปทำงานต่างจังหวัดเมื่อเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นจึงกลับมารับ บริการฝากครรภ์หรือมาคลอดบุตรยังภูมิลำเนา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีการฝากครรภ์ครั้งแรกช้ากว่า 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ปัญหาหน้างานที่ผ่านมา พบว่า มีการฝากครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาในประเด็นดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่
เพื่อให้มีการฝากครรภ์ให้ครบ ๕ ครั้งคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
เป็นการวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง (Experimental Development Research) แบบกลุ่มเดียววัดผล ก่อน - หลัง การทดลอง ด้วยการพัฒนารูปแบบใหม่ ที่ได้นำหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้อย่างเป็น องค์รวม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพน แพง ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 256๒ – 3๑ มีนาคม 256๓ โดยเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ระหว่าง ผลการดำเนินงานตามรูปแบบเดิม กับ ผลการดำเนินงานตามรูปแบบใหม
ผลการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ปีงบประมาณ 2563 มีหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียนและอยู่ในความดูแลของ รพ.สต.ทั้งหมด 14 ราย มีหญิง ตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ให้ครบ ๕ ครั้งคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ผลลัพธ์ของการดำเนินงานพบว่า สถานบริการไม่เป็นอุปสรรคต่อการมาฝากครรภ์ การพัฒนารูปแบบการฝาก ครรภ์แบบใหม่มีผลต่อการเพิ่มอัตราการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่สูงขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 100
การพัฒนารูปแบบการฝากครรภ์ให้ครบ ๕ ครั้งคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานใน รพ.สต.โพนแพง มีผล ต่อการเพิ่มอัตราการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่สูงขึ้น รพ.สต.ในพื้นที่อื่น ๆ สามารถ นำไปพัฒนาและสามารถประยุกต์ดัดแปลงรูปแบบให้เหมาะสมกับสถานบริการนั้น ๆ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามารถเข้าถึงบริการได้โดยสะดวกและมีคุณภาพ
การสร้างความตระหนักรู้ เป็นการสร้างทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้อง
1.ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนการดำเนินงาน 2.เป็นการแก้ไขปัญหาหน้างานที่ส่งผลให้มีสุขภาพดีอย่างชัดเจน 3.ความมุ่งมั่นในการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงาน 4.การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย