pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

งานวิจัยปี

2564

คำสำคัญ

ช่องปาก ฟัน โรคฟันผุ สุขภาพช่องปาก

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท Meta R2R

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การส่งเสริมสุขภาพ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ปัญหาโรคฟันผุถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของปัญหาโรคในช่องปาก ซึ่งพบได้ ในทุกกลุ่มอายุของประชากร ทั้งในประเทศที่พัฒนาและประเทศก าลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนซึ่งจะอยู่ในช่วงอายุ 1 – 6 ปี โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ยังคงเป็นปัญหา ทางทันตสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดย เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน จากผล การสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 พบว่า เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ปี และ 5 ปีมีแนวโน้มการเกิดโรคฟันผุลดลง เมื่อเทียบกับการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา โดยพบว่าอัตรา การเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปีร้อยละ 48.3 และเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 21.5 โดยภาพรวมแม้ว่า เด็กกลุ่มนี้จะมีอัตราการเกิดโรคฟันผุลดลง แต่ปัญหาสำคัญที่ยังต้องการการดูแลเพิ่มเติมคือ เรื่องการแปรงฟันเพราะผู้ปกครองของเด็กอายุ 3 ปี ถึงร้อยละ 55.8 ยังปล่อยให้เด็กแปรงฟัน ด้วยตนเองมีเด็กเพียงร้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ก่อนวัยเรียนโดผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่า

ระเบียบวิธีวิจัย

เชิงพรรณา

ผลการศึกษา

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85 มีอายุระหว่าง 21 – 40 ปี มีความสัมพันธ์เป็นบิดามารดาของเด็ก ร้อยละ 67 สภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กมีฟันผุ ร้อยละ 55 มีระดับความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอยู่ระดับสูง ร้อยละ 65 มีระดับ ความเชื่อด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 78 มีระดับทัศนคติ ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 82 และมีระดับพฤติกรรม ของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ร้อยละ 55 อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน พบว่า ความรู้เกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value = 0.043) ความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทา

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกระตุ้นให้ผู้ปกครองเกิดความตระหนักในศักยภาพของ ตนเองที่มีอยู่ โดยการเสริมพลังสร้างสุขภาพ (Empowerment) ในการส่งเสริม ปูองกัน รักษา และ ดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กอย่างถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง

บทเรียนที่ได้รับ

-

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเสือเฒ่า สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้จำนวน 100 คน

Keywords

  • พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
  • สุขภาพช่องปาก

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
มหาสารคาม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: ไม่มี
  • สนับสนุนงบประมาณ: ไม่มี
  • ให้คำปรึกษา: ไม่มี
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: ไม่มี
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: ไม่มี
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2564
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย