รพ.สต.บ้านพังคี ต.สร้างแซ่ง มีเด็กปฐมวัย 200 ราย เด็กอายุ 3-5 ปี 107 ราย พบปัญหาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ติดโซเชียล ติดเกม 3 ราย สาเหตุเนื่องจากผู้ปกครองไม่ให้ความสำคัญ เด็กอาศัยอยู่กับตากับยาย เด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า 5 ราย(ร้อยละ2.46) และขาดทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์ ในเชิงสร้างสรรค์ ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ซึ่งครอบครัวมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก รวมถึงระดับสติปัญญา ความสามารถในการอยู่ในสังคมกับผู้อื่น ความผูกพันทางอารมณ์ จะส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการที่ดี กรมสุขภาพจิตโดยสถาบันราชานุกูลเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรโดยใช้แนวคิด เด็กไทย คิดเป็น คิดดี คิดให้ : Creation Positive Response to Society (CPR) ด้วยสายใยผูกพันซึ่งมีส่วนสำคัญต่อเด็กทุกคน เนื่องจากเด็กคนหนึ่งจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้นั้น ครอบครัวและชุมชนมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมาก จึงนำสู่การพัฒนางานวจัยครั้งนี้
รูปแบบการดำเนินงานเด็กปฐมวัยคิดเป็น คิดดี คิดให้ Creation Positive Response to Society (CPR)ด้วยสายใยผูกพันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน รพ.สต.บ้านพังคี อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม
ใช้Action Researchร่วมกับแนวคิด CPR ระยะเวลาวิจัย เดือนพค. 2563– เมย. 2564 ผู้มีส่วนร่วมวิจัย ได้แก่ จนท.รพ.สต. อบต. ครูศพด. อสม. เด็กปฐมวัย 3-5 ปี ผู้ปกครอง12 ครอบครัว ดำเนินวิจัยโดยวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ประชุมสร้างความเข้าใจ คืนข้อมูลสู่ผู้เกี่ยวข้อง นำเสนอข้อมูลสภาพปัญหาในพื้นที่ร่วมกันออกแบบกำหนดแนวทางการพัฒนาตามเกณฑ์ แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานติดตามประเมินผลสู่การพัฒนา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1)หลักสูตรCPR9แผนกิจกรรม 2)เครื่องมือรวบรวมข้อมูล (1)แนวทางการสัมภาษณ์/สนทนากลุ่ม(2)แบบบันทึกการประชุมระดมสมอง(3)แบบประเมินคุณลักษณะเด็กด้านการคิด(4)แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์(5)แบบประเมินความผูกพันทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อเชิงปริมาณ :จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้Wilk coxol sign rank test,ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
พบว่ารูปแบบการดำเนินงานเด็กปฐมวัยคิดเป็น คิดดี คิดให้ (CPR)ด้วยสายใยผูกพันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย 1)ศึกษาเกณฑ์แต่ละด้านต้องมีการประสานงานที่ดี เพื่อให้เกิดความร่วมมือ จาก อบต.และชุมชน 2)ขับเคลื่อนร่วมกับคณะทำงานและภาคีเครือข่าย แบ่งบทบาทหน้าที่ ประชุมเพื่อทำความเข้าใจสม่ำเสมอ 3) มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่อง การจัดกิจกรรมการพัฒนาเด็กไทยคิดเป็น คิดดี คิดให้ ด้วยสายใยผูกพัน 4) พัฒนาศักยภาพครอบครัวในการส่งเสริมเด็กให้คิดเป็น คิดดี คิดให้ 5) มีการนิเทศ กำกับติดตามสม่ำเสมอ ประเมินผลพบว่า พฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองมีคะแนนเพิ่มขึ้น (sum rank=7.0) คุณลักษณะด้านการคิด (sum rank=8.5) และหลังดำเนินการตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่าพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครอง (z = -2.316, p=0.021) และคุณลักษณะด้านการคิด (z = -2.394, p=0.017) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ครอบครัวที่เข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็น คิดดี คิดให้ สามารถประเมินพัฒนาการเด็กด้านความคิด อารมณ์ ด้านความผูกพัน ส่งผลให้สามารถเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในความปกครองได้อย่างถูกต้อง ทำให้เด็กเก่ง ดี มีสุข เป็นพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินงาน Smear Kids ตั้งแต่ปี 2561- จนถึงปัจจุบัน และเป็นพื้นที่ต้นแบบการดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาเด็กไทย คิดเป็น คิดดี คิดให้ ด้วยสายใยผูกพัน ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 ประจำปี 2564
การพัฒนาเด็กปฐมวัยร่วมกับครอบครัว โดยเกิดจากการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในชุมชนก่อให้การสนับสนุนทุกๆด้าน ส่งผลให้เกิดความยั่งยืน
การขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับคณะทำงาน/ภาคีเครือข่ายและภาคีในพื้นที่ การสนับสนุนองค์ความรู้และงบประมาณจาก ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย