โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองถึง 5.5 ล้านคนต่อปี ในประเทศไทยโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ในปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน มีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน คือการเปิดหลอดเลือด (revascularization) โดยการให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโดยการเปิดหลอดเลือดนั้นจะลดลงหากเกิดความล่าช้า ส่งผลให้ผลการ (rt-PA) รักษาแย่ลง มีโอกาสเกิดความพิการและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน นำไปสู่การพัฒนากระบวนการคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันให้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อลดเวลาการเปิดหลอดเลือด
เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) เพื่อประเมินปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โดยรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่เข้ารับการตรวจรักษาผ่านช่องทางเร่งด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (ASFTP) โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 มีนาคม 2560 วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดความความล่าช้าในกระบวนการคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression)
การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองล่าช้าคิดเป็นร้อยละ 19.4 ของผู้ป่วยทั้งหมด จากการวิเคราะห์พหุตัวแปรพบว่า ปัจจัยจากกระบวนการคัดกรองล่าช้าที่เกิดจากหน่วยตรวจที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาครั้งแรกพบว่าหน่วยตรวจโรคผู้ป่วยนอก (OPD) หน่วยตรวจอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER trauma) และหน่วยตรวจอื่นที่ไม่ใช่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก มีโอกาสคัดกรองล่าช้า 8.21, 4.35, 5.75 เท่าตามลำดับ เมื่อเทียบกับหน่วยตรวจแพทย์เวรฉุกเฉิน (ER/ แพทย์เวร) ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน อาการของโรคหลอดเลือดสมองไม่ชัดเจนและการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตาม ASFTP มีโอกาสคัดกรองล่าช้า 2.57, 9.27, 7.79 เท่า ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้การคัดกรองล่าช้าลดลง คือ ผู้ป่วยมาด้วยอาการอ่อนแรงครึ่งซีกเฉียบพลันมีโอกาสคัดกรองล่าช้าลดลง 0.32 เท่า
ทีมผู้วิจัยนำผลการวิจัยที่ได้มาพัฒนากระบวนการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือดีกว่า และผู้ป่วยทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการอย่างเท่าเทียมกัน ลดระยะเวลาการรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมเหมือนปกติ หรือใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด ลดอัตราตาย อัตราพิการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ทางทีมผู้วิจัยนำผลการวิจัยที่ได้มาพัฒนากระบวนการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน จากการประเมินพบว่าอัตราของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำที่มากกว่า 60 นาทีลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4.9 และระยะเวลาเฉลี่ยในการให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำเหลือเพียง 24 นาที ในปี 2563 ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลและผู้ป่วยทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการอย่างเท่าเทียม
เป็นงานวิจัยที่เกิดจากการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยอย่างแท้จริง โดยเป็นการร่วมมือของหลายหน่วยงานและทีมสหวิชาชีพ เพื่อต้องการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ประชาชน และไม่มีการใช้ทุนวิจัยใดๆทั้งสิ้นเป็นการร่วมแรงร่วมใจของผู้ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการ ซึ่งผลการวิจัยยังสามารถนำมาใช้ได้จริงเพื่อให้เกิดประโยนชน์ต่อหน่วยงาน ทีมผู้วิจัย และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ไม่เป็น
ไม่เคย
International Stroke Conference 2020 ลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 2563
Paul Dudley White International Scholar Award The American Heart Association 2563