pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ curcuminoids ในขมิ้นชันที่ปลูกในพื้นที่ต่างๆ ด้วยวิธี UV-visiblespectroscopy

งานวิจัยปี

2564

คำสำคัญ

-

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท Meta R2R

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

โรงงานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลจะแนะได้ดำเนินการผลิตยาสมุนไพรทั้งหมด 7 รายการจากการผลิตทั้งหมดพบว่ายาสมุนไพรขมิ้นชันแคปซูลมีแนวโน้มผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 จึงจำเป็นต้องมีกระบวนวิเคราะห์คุณภาพของขมิ้นชัน เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ขมิ้นชันที่ปลูกในพื้นที่และมีปริมาณตัวยาสำคัญในปริมาณตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อลดค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ได้และได้รับยาสมุนไพรที่ผ่านมาตรฐานกำหนด สารประกอบกลุ่ม curcuminoids ในยาขมิ้นชันแคปซูลตามเกณฑ์ Thai Herbal Pharmacopoeia 1998 Volume I กำหนดปริมาณ curcumin ไม่น้อยกว่า 5% w/v จึงจะผ่านเกณฑ์มาตรฐานการผลิตยาสมุนไพร งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ curcuminoids ในผงขมิ้นชัน 3 แหล่งปลูก และมาวิเคราะห์หาปริมาณสาระสำคัญโดยวิธีสกัดด้วยตัวทำละลายที่เหมาะสม แล้วนำสารละลายที่ได้มาวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญด้วยเครื่องมือ UV-spectrophotometer

วัตถุประสงค์

1.เพื่อวิเคราะห์ปริมาณ curcuminoids ในขมิ้นชัน ในพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกัน 2.เพื่อเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกขมิ้นชัน ในการผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลจะแนะ

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เพื่อศึกษาหาปริมาณสาระสำคัญ curcuminoids ในขมิ้นชันที่ปลูกในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันด้วยวิธี UV-visible spectroscopy การวิจัยครั้งนี้มีตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยดังต่อไปนี้ตัวแปรอิสระ คือ ขมิ้นชันที่ปลูกในพื้นที่แตกต่างกัน ตัวแปรตามคือปริมาณสาระสำคัญ curcuminoids ตัวแปรควบคุม คือ วิธีการสกัด ตัวทำละลาย เวลา และอุณหภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในห้องปฏิบัติการ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง UVspectrophotometerคือเมื่อให้ลำแสงที่เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องกันผ่านเข้าไปในวัตถุใสจะพบว่าแสงบางส่วนถูกดูดกลืน บางส่วนเกิดการสะท้อน บางส่วนเกิดการกระเจิงของแสงและบางส่วนผ่านทะลุออกไป ทำให้แสงที่ทะลุออกไปนั้นผ่านเข้าเครื่องกระจายแสงและเห็นว่า spectrum หายไปส่วนหนึ่ง ส่วนที่หายไปเรียกว่า absorbtion pectrum

ผลการศึกษา

พบว่าผงขมิ้นชันจากจากสวนคุณธำรง บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี มีค่าเฉลี่ยของ curcumin มากที่สุด 12.29 % จากสวนคุณมะนาเซ จ.นราธิวาส 10.49 % และผงขมิ้นชันจากบริษัทเจริญสุขฟาร์มาเท่ากับ 6.41 % ตามลำดับ อภิปรายได้ว่า เคอร์คูมินซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี มีในขมิ้นชันปริมาณที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานที่ในการปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพภูมิอากาศและความชื้น จากปัจจัยดังกล่าวเมื่อเทียบปริมาณสารสำคัญในขมิ้นชันจากสวนคุณมะนาเซ มะเย็ง อำเภอจะแนะ จ.นราธิวาส มีปริมาณสารสำคัญที่ใกล้เคียงกับสวนคุณธำรง บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีสารสำคัญที่สูงที่สุด ทำให้โรงงานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลจะแนะ สามารถนำขมิ้นชันจากสวนคุณมะนาเซ มะเย็ง อำเภอจะแนะ จ.นราธิวาส นำมาผลิตเป็นยาขมิ้นชันแคปซูลให้ประชาชนในพื้นที่ได้ อีกทั้งยังสามารถลดระยะเวลาในการเก็บรักษาวัตถุดิบสมุนไพร ลดต้นทุนและระยะเวลา

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

1.สามารถนำผลการวิเคราะห์สารสำคัญในผงขมิ้นชัน เป็นมาตรฐานในการคัดเลือกแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาสมุนไพรที่ดีได้ 2.สามารถนำวิธีการวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้กับผงยาสมุนไพรชนิดอื่นๆได้

บทเรียนที่ได้รับ

1.เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์คุณภาพยาสมุนไพร 2.เรียนรู้ในการใช้ทักษะการสื่อสารกับองค์กรภายนอก 3.พัฒนางานการวิเคราะห์คุณภาพยาสมุนไพรให้ได้มาตรฐานที่กำหนด

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1.มีเครือข่ายในการวิเคราะห์สมุนไพรในพื้นที่ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2.กลุ่มผู้ปลูกขมิ้นชันในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

Keywords

  • curcuminoids

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
นราธิวาส
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ภาคใต้
เขตสุขภาพ
เขตที่ 12
ภูมิภาค
ภาคใต้

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2564
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย