pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านยา ในการป้องกันปัญหายาซ้ำซ้อนของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก

งานวิจัยปี

2564

คำสำคัญ

ข้อ ตา โรคกระดูกพรุน

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท บริการ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

งานเภสัชกรรม/ทันตกรรม

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่ใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาค มีผู้ป่วยนอกมารับบริการเฉลี่ยราวเกือบ 3,000 คนต่อวัน มีจำนวนรายการยาประมาณ 1,500 รายการ ระบบการสั่งจ่ายยาของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สั่งโดยการเขียนคำสั่งการใช้ยาของแพทย์ลงในใบสั่งยาหรือการแก้ไขใบสั่งยา pre-printed order form จึงขาดระบบแจ้งเตือนแพทย์เมื่อมีการสั่งยาซ้ำซ้อนในกลุ่มเดียวกันหรือกลไกการออกฤทธิ์เหมือนกันในข้อบ่งใช้เดียวกัน ปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อนจึงเป็นความคลาดเคลื่อนทางยาที่มีโอกาสพบได้สูง ซึ่งงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้มีการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์

พัฒนาระบบงานเพื่อค้นหาและป้องกันปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อน

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา ร่วมกับการประชุมผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันออกแบบระบบการแจ้งเตือน โดยถ้ามีการสั่งยาซ้ำซ้อนจะมีข้อมูลในรูปฉลากยาเพื่อเตือนให้เภสัชกรตรวจสอบข้อมูล ปี 2561 จัดทำข้อมูลยาซ้ำซ้อน 214 รายการ ปี 2562 ทบทวนข้อมูลยาซ้ำซ้อนเพิ่มเป็น 317 รายการ โดยระบบจะเตือนเฉพาะกรณีที่สั่งจ่ายยาในวันเดียวกัน ปี 2563 เพิ่มข้อมูลยาซ้ำซ้อนเป็น 354 รายการ และปรับให้ระบบทบทวนข้อมูลยาที่ได้รับร่วมกันในช่วง 120 วัน และเพิ่มความสะดวกให้กับเภสัชกรผู้ตรวจสอบโดยมีข้อมูลวันที่ได้รับยา จำนวนยาที่ได้รับพร้อมวิธีรับประทานยานั้นๆ สำหรับใช้ในการคำนวณว่ายาที่ได้รับร่วมกันหมดหรือยัง โดยไม่ต้องเปิดประวัติทบทวน จัดทำโปรแกรมรายงาน ผู้ป่วยที่ได้รับยาซ้ำซ้อนในกลุ่ม/ข้อบ่งใช้เดียวกัน เพื่อตรวจสอบระบบที่วางไว้ ว่าสามารถป้องกันปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อนได้หรือไม่

ผลการศึกษา

ก่อนพัฒนาระบบ ปี 2560 ป้องกันปัญหายาซ้ำซ้อนได้ 73 ครั้ง (0.14 ครั้ง/1000 ใบสั่ง) หลังพัฒนาระบบ ปี 2561-2563 ป้องกันได้ 115 ครั้ง (0.21 ครั้ง/1000 ใบสั่ง), 172 ครั้ง (0.3 ครั้ง/1000 ใบสั่ง) และ 208 ครั้ง (0.38 ครั้ง/1000 ใบสั่ง) ตามลำดับ ปี 2563 พบการสั่งยาซ้ำซ้อนใน visit เดียวกัน 137 ครั้ง และสั่งยาซ้ำซ้อนกันของ 2 แผนก 89 ครั้ง ปัญหายาซ้ำซ้อนที่ป้องกันไม่ได้ 18 ครั้ง (0.03 ครั้ง/1000 ใบสั่ง) ความรุนแรงระดับ C 13 ครั้ง ระดับ D 5 ครั้ง กลุ่มยาซ้ำซ้อนที่ป้องกันได้มากสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มยาลดความดันโลหิต 61 ครั้ง กลุ่มยา NSAIDs 34 ครั้ง และกลุ่มยาตา 30 ครั้ง คู่ยาที่พบการสั่งซ้ำซ้อน 3 อันดับแรกคือ Fosamax Plus คู่กับ Vitamin D, Cosopt ED คู่กับ Timolol ED และ Naproxen คู่กับ Ibuprofen ตามลำดับ สรุป ระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยป้องกันปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อนและช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยเพิ่มขึ้น

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ปัจจุบันการตรวจสอบยาซ้ำซ้อนเป็นหนึ่งในมาตรฐานการตรวจสอบยา โดยติดฉลากยาซ้ำซ้อนไว้ในใบสั่งยาและรับรองการตรวจสอบข้อมูลโดยลงลายมือชื่อกำกับไว้ การมีระบบแจ้งเตือนยาซ้ำซ้อนทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีการทบทวนข้อมูล โดยข้อมูลที่แจ้งเตือนมีความครบถ้วนและเพิ่มความสะดวกในการทำงาน ทำให้ได้รับความร่วมมือที่ดี และทำให้มีการสื่อสารกับแพทย์ เรื่องการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนทำได้รวดเร็วและเข้าใจง่าย

บทเรียนที่ได้รับ

1.การวางระบบโดยมีฉลากยาเตือน หากผู้ปฏิบัติไม่ให้ความสำคัญ หรือฉลากยาหายไประหว่างปฏิบัติงาน ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับยาซ้ำซ้อน จึงต้องมีการติดตามระบบโดยการตรวจสอบข้อมูลการจ่ายยาย้อนหลังว่าสามารถป้องกันปัญหาได้จริงหรือไม่ 2.ปัญหายาซ้ำซ้อนมีโอกาสพบได้แม้ในแพทย์คนเดียวกัน หรือจากแพทย์หลายแผนก ดังนั้น ควรนำระบบ Computerized Physician Order Entry (CPOE) ที่สามารถ lock ระบบมาใช้ป้องกันปัญหานี้แก่ผู้ป่วย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. ความร่วมมือของทีมงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งเภสัชกรและเจ้าหน้าที่ในห้องบริการจ่ายยา รวมถึงทีมงาน ICT ที่ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ ในการออกแบบระบบแจ้งเตือนและร่วมกันปฏิบัติตามแนวทางระบบป้องกันยาซ้ำซ้อนที่วางไว้ 2. การนำข้อมูลที่ป้องกันได้ และป้องกันไม่ได้ มาเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และหากพบปัญหาส่งข้อมูลย้อนกลับรายบุคคล

Keywords

  • ยาซ้ำซ้อน
  • ความคลาดเคลื่อนทางยา
  • งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก

เกี่ยวกับโรค

ทุกโรค แต่ที่พบปัญหา 3 อันดับแรก คือ ความดังโลหิตสูง กลุ่มโรคตา โรคกระดูกพรุน

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
นครราชสีมา
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R นครชัยบุรินทร์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 9
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2564
งานวิจัยนี้ส่งโดย
มีผู้ส่งแทน : วิภาวดี ทวนกิ่ง (researchmhr1@gmail.com)
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย