การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า พนักงานในโรงงานที่มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองจะมีการ รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของฝุ่นละออง ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ความรุนแรงในระดับดี และมี พฤติกรรมการป้องกันฝุ่นละอองโดยการสวมใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งปัจจัยการรับรู้ข้อมูลมีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการป้องกันฝุ่นละออง โดยปัจจัยคุณลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อมูล ได้แก่ ระดับการศึกษา อายุ และอาชีพ นอกจากนี้ ผู้ที่อาศัยในพื้นที่มีการรวมตัวของฝุ่นละออง และวัดค่าได้ เกินมาตรฐานจะมีความเสี่ยงในการรับฝุ่นละอองสูงกว่าผู้ที่อยู่ในพื้นที่ต่างอำเภอ และผู้ที่อาศัยในเขตอุตสาหกรรม จะมีความเสี่ยงในการรับฝุ่นละอองมากกว่าผู้ที่อาศัยในพื้นที่อื่น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กของประชาชน กรณีศึกษา ในพื้นที่เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้แนวทางการป้องกันฝุ่นละออง ขนาดเล็กและพฤติกรรมการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กของประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษารายกรณี(Case Study) ในพื้นที่เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรของการวิจัย คือ ประชาชนอายุ18 ปีขึ้นไปที่มีการใช้ชีวิตช่วงเวลากลางวันอยู่ในพื้นที่เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ การศึกษารายกรณี(Case Study) เฉพาะในพื้นที่เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีการ ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1) ศึกษาทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำมากำหนดคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ2) สำรวจในพื้นที่เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยคณะผู้วิจัยเดินสำรวจ จัดทำแผนผังการ จัดเรียง3) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพแลกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบ การสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง คิดเป็นร้อยละ 52.5 และมีอายุเฉลี่ย 31.3 ปี สถานภาพโสด ร้อยละ 60.0 การศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่ามากที่สุด ร้อยละ 50.0 ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างทำงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 22.5 โดยกลุ่มตัวอย่างไม่มีอาการของโรคภูมิแพ้ ร้อยละ 70 ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างเข้าถึง แหล่งข้อมูลข่าวสารเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กมากที่สุดจาก Facebook รองลงมา ได้แก่เว็บไซต์หน่วยงาน และ โทรทัศน์ ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้(1)ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงจากพิษภัย ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (2)ด้านการรับรู้ความรุนแรงของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (3)ด้านการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (4)ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันละอองขนาดเล็ก
ข้อเสนอแนะ 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนหนึ่งมีการรับรู้เกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยว่าทำให้ถูกบุคคลอื่นมองว่าป่วย/เป็น โรค และบางส่วนไม่ค่อยเห็นถึงประโยชน์ของการสวมหน้ากากอนามัย ดังนั้นจึงควรส่งเสริมสร้างเสริมการรับรู้ในเชิงบวก 2. กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยมองในเชิงลบ ดังนั้นจึงต้องเร่งส่งเสริมให้ที่มีการออกแบบหน้ากากอนามัย
บทเรียนที่ได้รับและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการพัฒนาการมีส่วนร่วม จากการพัฒนา ส่งผลให้เกิดผลที่สำคัญ คือ 1) เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพนำไปสู่ให้ประชาชน เข้าถึง เข้าใจ ตัดสินใจ นำไปปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง 2)เกิดการยกระดับความรอบรู้และระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเสี่ยงฯที่เหมาะสม 5) เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญ คือ การลดเสี่ยง ลดป่วย ลดตาย จากฝุ่นละอองขนาดเล็ก
ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานมีดังนี้ 1. การทำวิจัยสู่การพัฒนา 2. การมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน 3. กระบวนการของการวิจัย เป็นพัฒนาความรอบรู้และคุณภาพชีวิตการป้องกันควบคุมฝุ่นละอองขนาดเล็กเพื่อตอบสมองความต้องการของประชาชน
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย