pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ประสิทธิผลของการใช้ตารางปรับขนาดยา norepinephrine ต่อความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาและการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการบริหารยา norepinephrine ใน รพ.พระพุทธบาท

งานวิจัยปี

2564

คำสำคัญ

หลอดเลือดดำอักเสบ

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ตติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

งานเภสัชกรรม/ทันตกรรม

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

Norepinephrine (NE) จัดเป็นยา high alert drug ที่มีปริมาณการใช้และมูลค่าการใช้สูงที่สุดใน รพ.พระพุทธบาท จากการสำรวจคำสั่งการใช้ยาและการปรับขนาดยา norepinephrine ใน รพ.พระพุทธบาท พบว่าการปรับขนาดยาจากคำสั่งใช้ยาแบบอัตราส่วนแต่ละหอผู้ป่วยมีความแตกต่างกัน เนื่องจากคำสั่งใช้ยาไม่มีการระบุรายละเอียดการปรับขนาดยา (titrate) โดยพบความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา norepinephrine แบบอัตราส่วนซึ่งไม่ระบุปริมาณการใช้ยาเริ่มต้นหรือคำสั่งใช้ยาที่ไม่ระบุปริมาณการปรับเพิ่มหรือลดขนาดยา (titrate) ร้อยละ 92.35 ส่งผลให้การปรับขนาดยามีความแตกต่างกันในแต่ละหอผู้ป่วย โดยทั้งหมดเป็นการใช้ยา norepinephrine ที่ความเข้มข้นในระดับสูง คือ 40 mcg/ml. และพบรายงานอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ (phlebitis) เฉลี่ยร้อยละ 4.21

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ตารางช่วยปรับขนาดยา norepinephrine (NE) ต่อความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการบริหารยา NE และความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้ตารางปรับขนาดยา NE

ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา (Research and development, R&D) โดยศึกษาผลของการใช้ตารางช่วยปรับขนาดยา norepinephrine ต่อความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา norepinephrine (prescribing error) อุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ (phlebitis) ที่เกิดจากยา norepinephrine และความพึงพอใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานต่อการใช้ตารางช่วยปรับขนาดยา norepinephrine เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561 ในหอผู้ป่วยวิกฤต หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตและหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติพรรณนา

ผลการศึกษา

ภายหลังการใช้ตารางช่วยปรับขนาดยา norepinephrine ผ่านนโยบายของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) พบความคลาดเคลื่อนจากคำสั่งใช้ยา norepinephrine ลดลง จากร้อยละ 92.35 (จาก 183 คำสั่งใช้ยา) เป็นร้อยละ 23.65 (จาก 575 คำสั่งใช้ยา) อุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ (phlebitis) จากการบริหารยา norepinephrine ลดลงจากร้อยละ 4.21 เป็น 0.76 โดยก่อนหน้าดำเนินการ การใช้ยา norepinephrine ทั้งหมดจะใช้ที่ความเข้มข้นสูง คือ 40 mcg/ml. โดยหลังดำเนินการพบคำสั่งใช้ยา ร้อยละ 80.74 ใช้ความเข้มข้นต่ำ คือ 32 mcg/ml. และร้อยละ 19.26 ใช้ความเข้มข้นสูง คือ 40 mcg/ml. คะแนนความพึงพอใจโดยรวมของพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน (N=65) ต่อการใช้ตารางช่วยปรับขนาดยา norepinephrine มีความพึงพอใจในระดับ พอใจมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย (Mean, M) = 4.68/5, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) = 0.47

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ตารางช่วยปรับขนาดยา norepinephrine เป็นแนวทางมาตรฐานการใช้ยา โดยกำหนดเป็นนโยบายจากคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) ของ รพ. โดยมีการกำหนดอัตราส่วนมาตรฐานของการสั่งใช้ยา norepinephrine กำหนดคำย่อ อัตราส่วนการใช้ยา การปรับขนาดยาของพยาบาลผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจนและเข้าใจตรงกันในทุกวิชาชีพ ช่วยลดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา ผู้ปฏิบัติมีความพึงพอใจต่อการใช้ และผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการใช้ยา

บทเรียนที่ได้รับ

การทบทวนความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา และศึกษาจากปัญหาที่ได้พบจริงจากผู้ปฏิบัติหน้างาน และมีการนำไปสู่การปรับปรุง ทบทวนวิธีปฏิบัติ ทำให้เกิดระบบการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมและอำนวยความสะดวกต่อการใช้ยาของสหสาขาวิชาชีพ สามารถช่วยให้เกิดความปลอดภัยของระบบการใช้ยาของ รพ. ได้ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยาโดยอาศัยองค์ความรู้ด้านยาของเภสัชกรเป็นจุดเชื่อมของความสำเร็จ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

เภสัชกรเป็นจุดเชื่อมของการนำข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา มาทบทวน นำเสนอเพื่อปรับปรุงให้เกิดระบบการใช้ยาที่เหมาะสม ผ่านความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ ภายใต้การสนับสนุนของผู้บริหารด้วยการส่งเสริมและกำหนดนโยบายการใช้ยา เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนระบบยาของโรงพยาบาลให้มีความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วย

Keywords

  • norepinephrine
  • noradrenaline
  • infusion guide

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล (Thai Journal of Hospital Pharmacy)

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

การประชุมวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) กรุงเทพฯ 2561

รางวัลที่ได้รับ

รางวัลนำเสนอผลงาน Oral presentation ดีเด่น ปี 2561 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) 2561

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
สระบุรี
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 4
ภูมิภาค
ภาคกลาง

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2564
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย