การบริหารคลังยาย่อยของงานเภสัชกรรมมีความสำคัญต่อภาพรวมการบริหารคลังยาของโรงพยาบาลท่าสองยาง ที่ผ่านมายังขาดระบบในการบริหารสต็อกยาที่ดีพอทำให้เกิดปัญหาการสำรองยาไม่เหมาะสมและเกิดผลกระทบต่อการให้บริการผู้ป่วยและการบริหารคลังยาในภาพรวม
เพื่อศึกษาการจัดแบ่งกลุ่มยาในคลังยาย่อยของงานเภสัชกรรมด้วยเทคนิค ABC Analysis และศึกษาหาจุดเบิกจ่าย (Reorder Point: ROP) ของยาแต่ละรายการ
การศึกษาแบบภาคตัดขวาง ผู้วิจัยดึงรายงานการเบิกจ่ายยาของคลังยาย่อยที่มีการนำไปใช้กับผู้ป่วยจากโปรแกรมรายงานของ Hospital OS ย้อนหลัง 1 ปี (1 มิถุนายน2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563) แล้วจัดเรียงมูลค่าการเบิกจ่ายจากมากสุดไปน้อยสุดและจัดกลุ่มยาด้วยเทคนิค ABC Analysis จากนั้นคำนวณหาจุดเบิกจ่ายของยาแต่ละรายการตามกลุ่มยาที่จำแนกได้
จากข้อมูลการเบิกจ่ายยาให้กับผู้ป่วยทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563 พบว่า มีรายการยาที่ถูกเบิกจ่ายจำนวน 534 รายการ แบ่งเป็นยากลุ่ม A, B และ C เท่ากับ 92, 139, และ 303 รายการ ตามลำดับ (ร้อยละของรายการ เท่ากับ 17.23, 26.03 และ 56.74 ตามลำดับ) มีมูลค่าเบิกจ่ายรวมเท่ากับ 28.65 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มยา A, B และ C เท่ากับ 21.44, 5.77 และ 1.45 ล้านบาท ตามลำดับ (ร้อยละของมูลค่าเท่ากับ 74.82, 20.13 และ 5.05 ตามลำดับ) และได้ข้อมูลจุดเบิกยาทั้ง 534 รายการ ของคลังยาย่อย ตัวอย่างเช่น จุดเบิกของ Rabies vaccine inj คือ 59.08 vial (หมายความว่า หากมียาเหลือเกินกว่านี้ยังไม่จำเป็นต้องเบิกยาเข้าสต็อก จะเบิกเมื่อยาในสต็อกเหลือ 59.08 vial หรือน้อยกว่า)
นำมาปรับใช้จริงในการบริหารจัดการคลังยาย่อย ทำให้การทำงานง่ายขึ้น ชัดเจนขึ้น อาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการปฏิบัติงานในอนาคต ลดความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ยาหมดอายุหรือยาไม่พอให้บริการ
ได้เห็นมุมมองในการพัฒนางานมากขึ้นในคณะลงมือทำวิจัย
ความร่วมมือของเพื่อนร่วมงาน การศึกษาข้อมูล และการทบทวนวรรณกรรมก่อนหน้าอย่างมากเพียงพอ การมองนอกกรอบ
ไม่เป็น
ไม่เคย
วิชาการเขตสุขภาพที่ 2 นำเสนอออนไลน์ ที่ รพ.แม่สอด 2564
ชนะเลิศการนำเสนอมหกรรมคุณภาพของโรงพยาบาล รพ.ท่าสองยาง 2564