ปี2560ตำบลปอนมีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง7รายที่ผ่านมาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงที่บ้านของตำบลปอน มีรูปแบบการดำเนินงานไม่ชัดเจน พบปัญหาคือยังยึดติดกับประเพณีและวัฒนธรรมความเชื่อเดิมๆ การสื่อสารที่ไม่เข้าใจ ญาติไม่มีองค์ความรู้และไม่เกิดการยอมรับสภาพ ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้ารับการรักษาตามนัดเนื่องจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและพื้นที่อยู่ห่างไกลจากรพ.ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้ารักษาไม่ต่ำกว่า3,000บาท/ราย ทำให้มีภาวะเครียดเรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัว ผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีการกินยาไม่ถูกขนาด ไม่ถูกเวลา หรือมีการใช้ยาหลายชนิดเกินความจำเป็น ผู้สูงอายุบางรายขาดคนดูแลและพักอาศัยอยู่ตามลำพังในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การติดตามเยี่ยมบ้านยังทำได้ไม่ครอบคลุม ขาดความต่อเนื่อง ขาดการดูแลแบบองค์รวม อบต.ไม่มีข้อมูลจึงไม่ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ
เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงที่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
วิจัยเชิงปฏิบัติการศึกษาในกลุ่มประชากรเดียวในกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปอน ตั้งแต่ขั้นการวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นการติดตามและประเมินผล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงจำนวน7รายญาติผู้ดูแลรวมอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน21ราย อาสาสมัครผู้ดูแลจำนวน27รายและอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น2รายรวมทั้งสิ้น57ราย ดำเนินการระหว่าง1 มกราคม 2561–31 ธันวาคม2563 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงที่บ้าน แบบประเมินการรับรู้คุณค่าการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน แบบประเมินความพึงพอใจ แบบวัดความเครียด แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เทคโนโลยีสารสนเทศด้วยโปรแกรมไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์อุปนัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ร้อยละ
การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงที่บ้าน มีการพัฒนาแนวทางการดูแลอย่างเป็นระบบ มีระบบติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยทีมเจ้าหน้าที่และทีมสหวิชาชีพ พัฒนาช่องทางการส่งต่อและเชื่อมโยงกับเครือข่ายได้งบซ่อมแซมบ้านและสร้างบ้านใหม่90,000บาท อบจ.น่านสนับสนุนเงิน99,800บาท คนในชุมชนสร้างนวัตกรรมยืดเหยียดกล้ามเนื้อรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงที่บ้าน แบ่งเป็น3ระยะคือระยะที่1พัฒนาศักยภาพด้านความรู้และทักษะการดูแลต่อเนื่องกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงแก่ญาติ อสม.และอาสาสมัครผู้ดูแล ระยะที่ 2 ฝึกปฏิบัติจริงในชุมชนและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง และระยะที่3สรุปและประเมินผล หลังการปฏิบัติผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจร้อยละ100 สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง2,000 บาทภาวะเครียดลดลงร้อยละ7.01เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้จำนวน5หมู่บ้าน ผู้ดูแลเพิ่มขึ้น29คน ผู้สูงอายุติดเตียงกลับมาเดินได้1คน
จากผลการวิจัยครั้งนี้ได้คืนข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้องและได้นำรูปแบบดังกล่าวมาปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยอีก4กลุ่มคือผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งได้ผลดีเช่นเดียวกันนอกจากนี้ยังมี อ.เชียงกลาง,อ.สองแคว,อ.เฉลิมพระเกียรติ และอ.เวียงสามาศึกษาดูงานและได้ขอนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ ส่งผลให้ได้รับคัดเลือกจากจังหวัดน่านให้เป็นพื้นที่ศึกษาดูงาน
การจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการสะท้อนต่อข้อมูลและร่วมวางแผนการดูแลสุขภาพชุมชน เพราะชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทุกๆด้าน การพัฒนาระบบสุขภาพก็เช่นกัน ต้องการข้อมูลทันต่อเหตุการณ์ทุกด้าน เพื่อเป็นมุมมอง การจัดบริการให้ครอบคลุมและตอบสนองปัญหา หรือความต้องการของผู้รับบริการให้มากและสอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงที่บ้านในครั้งนี้ เกิดจากการพัฒนาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ผ่านแนวทางการจัดการคุณภาพและทฤษฎีการสร้างการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทำให้ได้รูปแบบที่มีความเหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้จริง
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย