pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การพัฒนารูปแบบการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

งานวิจัยปี

2564

คำสำคัญ

การให้บริการ ผลที่ตามมาของโรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาท วิตกกังวล โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การฟื้นฟูสุขภาพ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีความรุนแรงพบบ่อยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทั่วโลก ตำบลนาทองมีจำนวนประชากรทั้งสิ้นจำนวน 4,066 คนมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองจากปี 2561-2563 จำนวน 53, 55,57 คน และเป็นคนไข้ที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องหลังพ้นภาวะวิกฤตหรือเรียกว่าผู้ป่วยระยะกลาง(Intermediaet Care : IMC)ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูต่อเนื่อง 6 เดือนนับจากวันที่พ้นภาวะวิกฤติในการฟื้นฟูสภาพจำนวน10,13 และ19คน ตามลำดับซึ่งจะมีญาติดูแลและอสม.หมอประจำครอบครัว เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีหน้าที่ช่วยดูแลผู้ป่วยแต่ยังมีความรู้ทักษะการดูแลไม่เพียงพอที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้กลับมาสู่ภาวะปกติได้จึงเป็นเหตุผลให้ทีมวิจัยนี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงมีการศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ระเบียบวิธีวิจัย

เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใช้วงจรPAORศึกษาระหว่างเดือน ต.ค.2562– 30ก.ย.2563 ดำเนินการ3ระยะ1เตรียมการ วิเคราะห์สถานการณ์ศึกษาบริบท 2ดำเนินพัฒนาการใช้แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการ Kemmis&McTaggart 4ขั้นตอนคือการวางแผนการลงมือปฏิบัติการสังเกตผลและการสะท้อนผลผู้มีส่วนร่วมวิจัยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง(Intermediaet Care : IMC)19คนผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 19คน อสม.หมอประจำครอบครัว19คน3)ระยะประเมินผลการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกสังเกตแบบมีส่วนร่วมสนทนากลุ่มโดยใช้แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านแบบประเมินผู้ป่วยตามแนวทาง INHOME-SSSเชิงปริมาณ1)โปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยCOCR9 2)ประเมินBarthel's Index3)แบบประเมินความเครียดST54)แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเชิงคุณภาพตรวจสอบความน่าเชื่อถือสามเส้า เชิงปริมาณปริมาณเป็นจำนวน/ร้อยละ

ผลการศึกษา

ระยะที่ 1วิเคราะห์สถานการณ์พบสาเหตุสำคัญ มีโรคโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 89.66 ผู้ดูแลและอสมขาดความรู้เรื่องโรคและในการดูแลฟื้นฟูต่อเนื่อง ญาติและผู้ป่วยมีความเครียดวิตกกังวล ระยะที่2 ระยะพัฒนาเกิดกระบวนการ 3วงรอบได้รูปแบบการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนใช้หลัก PCC1.Planning and Practice:การวางแผนการดูแลและการลงมือปฏิบัติโดยทีมสหวิชาชีพมีส่วนร่วมดูแล 2.Comunity participation:การมีส่วนร่วมของชุมชน 3.Continued care:การดูแลคนไข้อย่างต่อเนื่อง ระยะที่3 ระยะประเมินผลผู้ป่วยมีBIก่อนดำเนินการคะแนนเฉลี่ย 46.07 หลังดำเนินการ91.58 คะแนนมีBI เพิ่มขึ้นร้อยละ 100อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)ได้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

รูปแบบที่เกิดจากการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อเสริมสร้างให้ผู้ป่วย ผู้ดูแลและอสม.หมอประจำครอบครัวสามารถดูแลฟื้นฟูในชุมชนและการพึ่งพาตนเองและศักยภาพของคนในชุมชนได้

บทเรียนที่ได้รับ

การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการจากกระบวนการทำงานในชุมชนที่ไม่ใช่แค่มิติด้านผู้ป่วยเองแต่รวมถึงทุกมิติเช่นครอบครัวชุมชนระบบบริการสุขภาพในชุมชน กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมช่วยให้นักวิจัยได้คิดสะท้อนและเรียนรู้หลักการของการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพดำเนินโครงการอย่างเต็มที่มีการพัฒนาทีมหมอครอบครัว มีทีมสหวิชาชีพเป็นแกนนำในการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง มีการจัดการโดยเครือข่ายระบบฟื้นฟูคนพิการในพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนยั่งยืนเน้นการดูแลแบบมีส่วนร่วมและการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เช่นกรุ๊ปไลน์

Keywords

  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง
  • การมีส่วนร่วมของชุมชน

เกี่ยวกับโรค

ผลที่ตามมาของโรคหลอดเลือดสมอง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
มหาสารคาม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • กองทุนสุขภาพระดับพื้นที่: 15000.0
เผยแพร่เมื่อ
2564
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย