pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ผลการพัฒนาแนวทางการป้องกันภาวะเลือดเป็นกรดที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน (Metformin Associated Lactic acidosis; MALA)

งานวิจัยปี

2563

คำสำคัญ

acidosis การประเมิน ภาวะเลือดเป็นกรด โรคเบาหวาน การเฝ้าระวัง โรคหลอดเลือดหัวใจ ไต

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ทุติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ยาเมทฟอร์มินเป็นยาที่แนะนำให้ใช้เป็นยาทางเลือกแรกในการรักษาโรคเบาหวาน เนื่องจากยาลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและการเสียชีวิตได้ แต่ยาเมทฟอร์มินยังมีอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ คือ ภาวะเลือดเป็นกรด (metformin associated lactic acidosis; MALA) ซึ่งพบอุบัติการณ์เกิดได้ต่ำ 3-5 รายต่อแสนประชากรต่อปี แต่พบอัตราการเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 50 จากการศึกษาพบความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดเพิ่มขึ้นตามความผิดปกติของไต เนื่องจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินพบรายงานการเกิด MALA เพิ่มขึ้น ในปีงบ 61-62 จำนวน 4 และ 6 ราย ตามลำดับ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเสียชีวิต ซึ่งยังไม่มีแนวทางป้องกันหรือติดตามการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มินที่ชัดเจน จากปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนาแนวทางการป้องกันภาวะเลือดเป็นกรดที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มินร่วมกันของสหวิชาชีพขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวทางการป้องกันภาวะเลือดเป็นกรดที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน โดยการมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพ

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดตามวงจรปฏิบัติการวิจัยเคมมิสแมกเทอร์กาส แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ ทบทวนการเกิด MALA ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกรายช่วงปีงบ 61-62 ร่วมกับศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด MALA เพื่อวางแนวทางปฏิบัติและติดตามร่วมกันของสหวิชาชีพ ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ประชุมคณะกรรมการอายุรแพทย์ทีมย่อยและทีมนำระบบยา เพื่อพัฒนาและกำหนดเป็นแนวทางการป้องกันภาวะเลือดเป็นกรดที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มินร่วมกันของสหวิชาชีพ ระยะที่ 3 นำลงปฏิบัติ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563 ระยะที่ 4 ติดตามผล และคืนข้อมูลให้ทีมรับทราบ โดยทำการเก็บข้อมูลในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาเมทฟอร์มินและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา

ผลการศึกษา

จากการพัฒนาผ่านกระบวนการ PAOR ได้กำหนดแนวทางการป้องกันภาวะเลือดเป็นกรดที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มินร่วมกันของสหวิชาชีพขึ้น โดยการกำหนดนิยามเกณฑ์การประเมิน MALA อาการที่ต้องเฝ้าระวัง (warning sign) ค่าทางห้องปฏิบัติการ (alert Lab) และแนวทางป้องกันการสั่งใช้ยาเมทฟอร์มินตามค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) ร่วมกับการกำหนดบทบาทของสหวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และระบบสารสนเทศ เตือนค่า eGFR ในระบบคอมและใบสั่งยา โดยหลังการนำแนวทางลงปฏิบัติ พบผู้ป่วยได้รับเมทฟอร์มิน 387 ราย อายุเฉลี่ย 62±11.29 ปี เพศหญิงร้อยละ 64.60 ได้รับการปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ 91.99 ซึ่งได้รับการปรับขนาดยาตาม eGFR หรือสภาวะของผู้ป่วย โดยแพทย์ร้อยละ 30.34 และเภสัชกรร้อยละ 10.11 พบว่าผู้ป่วยได้รับขนาดยาเหมาะสมตาม eGFR ร้อยละ 98.88 และพบรายงานการเกิด MALA 15 ราย (รพ.สว่าง 9 ราย และ รพ.ลูกข่าย 6 ราย) ปฏิบัติตามแนวทางร้อยละ 86.67 และไม่พบผู้ป่วยที่เสียชีวิตจาก MALA

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

การนำลงปฏิบัติในโรงพยาบาล สามารถช่วยในการประเมินและติดตามผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันทั้งโรงพยาบาลโดยความร่วมมือของสหวิชาชีพ ซึ่งสามารถช่วยประเมินความเหมาะสมของการได้รับยาหรือความรุนแรงของโรค ให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ทันเวลา

บทเรียนที่ได้รับ

การนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เกิดจากความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ รวมไปถึงการสื่อสารไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลลูกข่ายในการตระหนักและเฝ้าระวังในการักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ด้วยยาเมทฟอร์มิน และผู้่ป่วยที่มาด้วยภาวะ MALA

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การร่วมมือกันในการพัฒนาแนวทางของสหวิชาชีพได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และระบบสารสนเทศ รวมไปถึงการตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยจากอาการไม่พึงประสงค์จากยา

Keywords

  • Metformin Associated Lactic acidosis, MALA, metformin

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
สกลนคร
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R อีสานตอนบน
เขตสุขภาพ
เขตที่ 8
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2563
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย