pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ไม้กัดมหัศจรรย์ทางทันตกรรม

งานวิจัยปี

2563

คำสำคัญ

การติดเชื้อ การประเมิน ช่องปาก ติดเตียง ปวดฟัน ปาก มือ

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท นวัตกรรม

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 3 นำไปใช้ได้หลายแห่งในจังหวัดเดียวกันแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

จากการได้ไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังประจบมีประชากรทั้งหมด1,2049คน ผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน30คนพบว่ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยมีปัญหาไม่สามารถอ้าปากหรืออ้าปากได้น้อยบางรายสามารถอ้าปากได้น้อยเวลาผู้ดูแลจะต้องทำความสะอาดช่องปาก ทำให้ภายในช่องปากมีเศษอาหารติดอยู่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือปวดฟันได้ซึ่งเครื่องมือที่ช่วยในการอ้าปาก(Mouth Gag)ราคาค่อนข้างแพง ไม่สามารถให้ผู้ป่วยยืมไปใช้ที่บ้านได้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังประจบ จึงได้คิดนวัตกรรมไม้กัดมหัศจรรย์ ใช้กับผู้ป่วยใช้แทนเครื่องมือที่มีราคาแพง นวัตกรรมนี้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถอ้าปากทำความสะอาดในช่องปากได้ง่ายเพื่อป้องกันการเกิดโรคในช่องปากและเนื่องจากเครื่องมือในทางทันตกรรม ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพงและนวัตกรรมนี้เพิ่มสะดวกให้กับผู้ป่วยติดเตียงได้มาก ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยมีปัญหาไม่สามารถอ้าปากหรืออ้าปากได้น้อยดีขึ้น อีกทั้งมีราคาถูก สามารถทำเองได้ และผู้ดูแลสามารถทำได้เองในราคาไม่แพง

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียง สามารถอ้าปากทำความสะอาดช่องปากผู้ป่วยได้มากขึ้น และผู้ป่วยมีสภาพช่องปากที่สะอาดขึ้น

ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi – Experimenttal Research ) ชนิดกลุ่มวัดก่อนและหลัง(วัดซ้ำ)(One Group Pretest Posttest Design)ตำบลบ้านวังประจบ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุที่ติดเตียงไม่สามารถอ้าปากหรืออ้าปากได้น้อยในการทำความสะอาดช่องปาก ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบตำบลวังประจบ

ผลการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียงและผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง สามารถทำความสะอาดช่องปากผู้ป่วยได้มากขึ้น และผู้ป่วยมีสภาพช่องปากที่สะอาดขึ้น ในพื้นทีรพ.สต.บ้านวังประจบ วิธีทดสอบคือการนำเอาไม้ไอติมที่สวมไว้กับผ้ายางพาราที่เย็บไว้ให้คนไข้ที่ติดเตียงไม่สามารถอ้าปากหรืออ้าปากได้น้อย จำนวน 30รายโดยการใช้ไม้ไอติมให้ผู้ป่วยกัด เริ่มจากครั้งแรกประเมินผู้ป่วยว่าอ้าปากได้มากสุดเท่าไหร่ จากนั้นก็ใช้ไม้ไอติมหุ้มผ้ายางพารา ให้ผู้ป่วยกัดแล้วทำความสะอาดในช่องปาก ผลจากการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยสามารถอ้าปากเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.6เซนติเมตร 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.33 อ้าปากได้น้อยกว่า 1.6 เซนติเมตร 2รายคิดเป็นร้อยละ6.66 ประเมินความสะอาดช่องปากพบว่าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100 และการประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วย พบว่า ได้ความพึงพอใจแต่ละด้านจากผู้นำไปใช้ทั้ง 30 รายดังนี้ด้านการใช้ประโยชน์จริงคิดเป็นร้อยละ 100ด้านความปลอดภัย ร้อยละ 93.33 ด้านความคุ้มค่า,คุ้มทุน ร้อยละ 100 จากการวัดผลพบว่านวัตกรรมนี้สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยได้จริงมีประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอ้าปากได้น้อยและมีราคาค่อยข้างถูกประหยัดค่าใช้จ่าย นวัตกรรมนี้สามารถขยายการนำไปใช้ในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆและผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ในเขตเมืองตาก และทั้งจังหวัดตาก

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

1.หลังจากการนำนวัตกรรม ในผู้ป่วย ติดเตียง ที่ ไม่รู้สึกตัวจากที่เคยกัดมือผู้ดูแล ทำให้ผู้ดูแลกลัวในการทำความสะอาดช่องปาก สามารถทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น 2.หลังจากการนำนวัตกรรมไปใช้ในระยะเวลามากว่า 2 เดือนทำให้ผู้ป่วยสามารถอ้าปากทำความสะอาดได้โดยญาติและผู้ดูแล 3.สามารถนำไปใช้จริง ปลอดภัยกับคนไข้ ไม่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับคนไข้

บทเรียนที่ได้รับ

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถทำความสะอาดในช่องปากด้วยต้นเองได้ ต้องได้รับการดูแลช่องปากโดยญาติที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เวลาที่ใช้ในการทำความสะอาดช่องปากเวลาคือช่วงเวลา เช้าและก่อนนอน ความสะอาดในช่องปากค่อยข้างยาก เพราะญาติไม่สามารถอ้าปากทำความสะอาดได้ดังนั้นจึงได้รับความร่วมมือจากทุกๆหน่วยงาน โดยเฉพาะ การดูแลโดย CM ,CG และควรพัฒนารูปแบบนวัตกรรมขึ้นไปเรื่อย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวแห่งความสำเร็จ มีดังนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านวังประจบ ญาติผู้ป่วย ทีม CM ,CG ทีมหมอครอบครัว,อสม. ตำบลวังประจบ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช องค์การบริหารตำบลส่วนวังประจบ. คุณกานต์ชนิต เทอดโยธิน,คุณมานัส ต๊ะชมภู สาธารณสุขอำเภอเมืองตาก ,ทันตแพทย์หญิง ภานิดา พันธ์ผล โรงพยาบาลอุ้มผาง ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือและให้คำปรึกษาเพื่อให้นวัตกรรมนี้พัฒนาเพื่อให้ดีและสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิถาพ

Keywords

  • ไม้ไอติม ,ผ้ายางพาราที่ปลอดภัย(food grade),การอ้าปากของผู้ป่วยติดเตียง

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ประยุกต์จากการอุปกรณ์ที่มีราคาแพง หาซื้อยาก มาทำให้ราคาถูกและใช้ประโยชน์ได้จริงในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยติดบ้าน ติเตียง

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

วิชาการชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยเขตสุขถาพที่ 2 ปี 2562 อำเภอแม่สอด 2562

รางวัลที่ได้รับ

รองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทนวัตกรรม ชมรมสาธาณสุขแห่งประเทศไทย เขตสุขภาพที่2 2562

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ตาก
เครือข่าย R2R
เครือข่าย North R2R
เขตสุขภาพ
เขตที่ 2
ภูมิภาค
ภาคเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2563
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย