pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

เม็ดบอมบ์สมุนไพร ลดอาการชาเท้า

งานวิจัยปี

2563

คำสำคัญ

กล้ามเนื้อ การติดเชื้อ การให้บริการ ภาวะแทรกซ้อน ร่างกาย หลอดเลือด อาการชา เท้า โรคเบาหวาน เลือด เส้นประสาท

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท นวัตกรรม

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

การดูแลเท้าส่วนหนึ่งที่หันให้ความสนใจกับผู้ป่วยมีอาการชาใช้วิธีการหาตัวช่วยการดูแล เท้าเป็นศูนย์รวมเส้นประสาทและสะท้อนถึงการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย พบว่าผู้ป่วยเท้าเบาหวาน สภาวะของเท้าที่เกิดจากปลายประสาทเสื่อม หลอดเลือดส่วนปลายตีบตันและการติดเชื้อในระดับความรุนแรงที่ต่าง ๆ ดังนั้นผู้ศึกษานำเม็ดบอมบ์สมุนไพร ลดอาการชาเท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน ลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวานมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาระแทรกซ้อนทางเท้า เพื่อให้ลดภาระเพื่อให้ลดภาวะแทรกซ้อนในเท้าผู้ป่วยเบาหวานทำให้เท้าสะอาด ลดการติดเชื้อ ดับกลิ่นเท้า รักษาแผล กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด คลายเส้นคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการชาของเท้า และคลายเครียดจากกลิ่นสมุนไพร ที่มีน้ำมันหอมระเหย และให้ผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะ สามารถดูแลเท้าของตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรม เม็ดบอมบ์สมุนไพร ลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ๒. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานที่มีต่อนวัตกรรมเม็ดบอมบ์สมุนไพร ลดอาการชาเท้า

ระเบียบวิธีวิจัย

วัสดุ / อุปกรณ์สำหรับทำสิ่งประดิษฐ์ - สมุนไพรขิง เปลือกมังคุด ไพล หัวร้อยรู กำแพงเจ็ดชั้น บดละเอียด, พินเสน , การบูร, เกลือผง - กรดซัลฟิวริก ,โชเดียมคาร์บอเนต,ท่อ PVC พร้อมฝาครอบ,ตะแกรงแร่ง เบอร์ละเอียด ( 40 เมส ) ขั้นตอนการทำสมุนไพรแช่เท้า 1. นำสมุนไพรทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน หยอดน้ำมันหอมระเหยลงไป 5 หยด แล้วผสมให้เข้ากัน 2. นำส่วนผสมของสมุนไพรข้างต้น มากดผ่านแร่ง เพื่อให้ส่วนของสมุนไพรละเอียด ไม่จับตัวเป็นก้อน 3. การเติมสารยึดเกาะ ( PVP – K90 ) ใส่โชเดียมไบคาร์บอเนตและกรดซิตริก อย่างละ 30 กรัม แล้ว ผสมให้เข้ากัน 5. ชั่งส่วนผสมให้ได้ เม็ดละ 20 กรัม หลังจากจากนั้น นำมาใส่ลงกระบอกเครื่องตอกอัดเม็ดสมุนไพรแช่เท้าอุณหภูมิ ประมาณ 60 องศาเซลเซียส

ผลการศึกษา

การศึกษานวัตกรรมการ พบว่าก่อนและหลังการแช่เท้าจำนวน 30รายเพศหญิงร้อยละ 76.6อยู่อายุ40-49ปี ร้อยละ53.3สถานภาพสมรสการศึกษาระดับอนุปริญญาร้อยละ60 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ50มีโรคประจำตัวเบาหวานร้อยละ 96.6ไม่เคยประสบอุบัติเหตุร้อยละ 93.3ไม่มีการแพ้สมุนไพร ผู้ป่วยก่อนและหลังการแช่เท้าโดยการตรวจด้วยMnofilament โดยทำแช่สัปดาห์ละ2ครั้งเป็นเวลา สัปดาห์ ประเมินอาการชาเท้า สามารถลดจำนาวนจุดชาบริเวณเท้าได้ โดยก่อนการแช่เท้าพบจุดชา1จุด จำนวน5คน จุดชา2 - 3จุดจำนวน12คน จุดชา 4 จุดจำนวน13คน หลังการแช่เท้าพบว่าจุดชา1จุดจำนวน12คน จุดชา2 - 3จุด จำนวน 13คน จุดชา4 จุดจำนวน5 คน ประเมินจากความพึงพอใจของผู้ป่วยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ในด้านความเหมาะสมของนวัตกรรมอยู่ในระดับดีมาก ด้านความเหมาะสมระยะเวลาการใช้อยู่ในระดับดี และด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับดี

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ผลการศึกษาการนำเม็ดบอมบ์สมุนไพร เพื่อลดปัญหาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวานมีผลลัพธ์ที่ดูนำไปปรับใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวานในพื้นที่ได้ดี ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้นเพิ่มความสุขสบายกลิ่นของสมุนไพรทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดโอกาสการเกิดแผลที่เท้าซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ป่วยสูญเสียเท้า ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาเท้าได้เข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยได้มากขึ้น

บทเรียนที่ได้รับ

1.เพื่อให้การดูแลสุขภาพเท้ามีประสิทธิภาพ ควรร่วมกันทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ 2.ควรนำการรักษาทั้งการแช่เท้าด้วยสมุนไพรแมาร่มรักษากันในการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน 3.การแช่สมุนไพร เป็นทางเลือกการรักษาผู้ป่วย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

จากผลการศึกษาการนำเม็ดบอมบ์สมุนไพร เพื่อลดปัญหาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน มีผลลัพธ์ที่ดี สามารถนำไปปรับใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวานในพื้นที่ได้ดี ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น ลดเวลาในการให้บริการ เพิ่มความสุขสบายแก่ผู้ป่วย กลิ่นของสมุนไพรทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดโอกาสการเกิดแผลที่เท้า ได้เข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยได้มากขึ้น

Keywords

  • เม็ดบอมบ์สมุนไพร ลดอาการชาเท้า

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

เม็ดบอมบ์สมุนไพร ลดอาการชาเท้า

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ยะลา
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ภาคใต้
เขตสุขภาพ
เขตที่ 12
ภูมิภาค
ภาคใต้

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: ไม่มี
  • สนับสนุนงบประมาณ: ไม่มี
  • ให้คำปรึกษา: ไม่มี
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: ไม่มี
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: ไม่มี
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2563
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย