pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ผลของโปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Theory) ต่อการลด ละ เลิกสุรา ของประชาชนผู้ดื่มสุรากรณีศึกษาบ้านป่าแขม หมู่ที่4 ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา

งานวิจัยปี

2563

คำสำคัญ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดื่มสุรา อุบัติเหตุ โรคเรื้อรัง

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ผลสำรวจของศูนย์วิจัยสุราปี2554 จ.พะเยามีสถิติการดื่มสุราติดอันดับ1ใน10ของประเทศโดยเฉพาะความชุกของนักดื่มผู้ใหญ่อายุ15ปีขึ้นไป และยังพบว่าเด็ก/เยาวชนดื่มสุราสูงถึงร้อยละ52 อ.เชียงม่วนมีความชุกการดื่มในกลุ่มวัยรุ่นและวัยแรงงานมากที่สุดของจ.พะเยา ตำบลบ้านมาง ในปี2555-2559ครัวเรือนมีสมาชิกดื่มร้อยละ88, 86,89ส่งผลกระทบเกิดอุบัติเหตุร้อยละ28,32,27 ความบาดหมางในครอบครัวร้อยละ 23,24,27ตามลำดับ บ้านป่าแขมหมู่ 4 ต.บ้านมาง มี149 ครัวเรือน ประชากร 463 คน มีผู้ดื่มสุรา 163 คน(ร้อยละ 39.95) ดื่มแบบติด6คน(ร้อยละ 3.68) ดื่มแบบอันตราย13 คน(ร้อยละ 7.97) ดื่มแบบเสี่ยง25คน(ร้อยละ 15.33)ดื่มแบบเสี่ยงต่ำ119 คน(ร้อยละ 73) จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจจัดรูปแบบกิจกรรมเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิกสุราในชุมชน โดยประยุกต์ทฤษฎีการตัดสินใจ(DecisionTheory)มาใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลลัพธ์การลด ละ เลิกสุราตามทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Theory)ของประชาชนผู้ดื่มสุรา กรณีศึกษาบ้านป่าแขม หมู่ที่4 ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi-experimenta researchl)เครื่องมือที่ใช้แบบบันทึกข้อมูลบุคคล แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา(AUDIT)แบบบันทึกเป้าหมายการตัดสินใจแบบติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดื่มสุรา20คนคัดเลือกแบบสมัครใจ ศึกษาตั้งแต่มกราคม–ธันวาคม 2562แบ่งการศึกษาเป็น3ระยะ ระยะ1ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลระยะ2ดำเนินกิจกรรมตามทฤษฎีการตัดสินใ0ของพลันเกตและแอ็ตเนอร์(Plunkett and Attner,1994)ทั้ง7ขั้นคือ1.การระบุปัญหา(Define the problem)2.การระบุข้อจำกัดของปัจจัย(Indentify limiting factors)3.การพัฒนาทางเลือก(Develop potential alternatives)4.การวิเคราะห์ทางเลือก(Analyze the alternatives)5.การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Select the best alternative)6.นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ (Implement the decision)7.สร้างระบบควบคุมและประเมินผล(Establish a control and evaluation system)ระยะ3ประเมินผลของโปรแกรม

ผลการศึกษา

ผลการศึกษา ผู้ดื่มสุรา จำนวน 20 คน เป็นเพศชาย จำนวน 11คน เพศหญิง จำนวน 9คน ช่วงอายุส่วนมาก 32-60ปี สถานภาพสมรส จำนวน 19 คน (95%) จบระกับประถมศึกษา จำนวน 18 คน(90%) อาชีพเกษตรกรรม จำนวน 20 คน (100%) รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท/เดือน จำนวน 13 คน (65%) สรุปผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างสามารถ เลิกสุราได้สำเร็จจำนวน 13 คน(65%) ลดการดื่ม 7 คน (35%) โดยแยกตามระดับการดื่มสุรา ดังนี้ ดื่มแบบเสี่ยงต่ำ จำนวน 3 คน ลดการดื่มได้ จำนวน 3 คน(100%) ดื่มแบบเสี่ยง จำนวน10 คน เลิก/หยุดดื่มได้จำนวน 7 คน(70%) ลดการดื่ม จำนวน 3 คน(30%) ดื่มแบบอันตราย จำนวน6 คน เลิก/หยุดดื่มได้ จำนวน 5 คน(83.30%) ลดการดื่ม 1 คน(16.70%) ดื่มแบบติด จำนวน 1 คน เลิก/หยุดดื่มได้ จำนวน 1 คน(100%)

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ผลการวิจัยนี้ช่วยสนับสนุนทฤษฎีการตัดสินใจของพลันเกต และแอ็ตเนอร์ (Plunkett and Attner)ซึ่งทำให้บุคคลมีกระบวนการตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างมีระบบ นำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เป็นประโยชขน์ต่อการแก้ไขปัญหาในงานบริการระดับปฐมภูมิทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน โดยเฉพาะผู้มีปัญหาการดื่มสุราหรือกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงการเจ็บป่วยต่างๆทั้งโรคเรื้อรังและความเสี่ยงเชิงพฤติกรรม

บทเรียนที่ได้รับ

1. การทำงานอย่างเป็นระบบ ช่วยให้งานมีพลังในการขับเคลื่อน 2. การค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาหน้างานในพื้นที่ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในงาน ลดต้นทุน ลดระยะเวลา ประชาชนได้รับบริการที่คุ้มค่าที่สุด 3. การทำงานแบบเครือข่าย ประสานทีมสหวิชาชีพ มีการวางแผน ติดตาม อย่างต่อเนื่อง ทำให้งานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1.การสนับสนุนของผู้บริหารในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2.การวิเคราะห์และนำใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม 3.การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาประยุกต์ในการแก้ไขทปัญหาหน้างานที่เหมาะสมกับบริบทและวิถีชีวิตของชุมชน 4.การบูรณางานของปัญหาหน้างานร่วมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

Keywords

  • ประชาชนผู้ดื่มสุรา, ทฤษฎีการตัดสินใจ

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
พะเยา
เครือข่าย R2R
เครือข่าย North R2R
เขตสุขภาพ
เขตที่ 1
ภูมิภาค
ภาคเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • สสส.: 100000
  • หน่วยบริการ: 5000
เผยแพร่เมื่อ
2563
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย