pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลยะลา

งานวิจัยปี

2563

คำสำคัญ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ภาวะแทรกซ้อน โรคเบาหวาน เลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ผู้ศึกษาในฐานะนักสุขศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลยะลา เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย เนื่องจากพบว่ามีผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นจำนวนมาก จึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับใด และจะแก้ไขอย่างไร เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้ความรู้ ให้คำแนะนำและการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องต่อไปส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลยะลา 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลยะลา

ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลยะลา เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย จำนวน 136 คน เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (FBS มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) รับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลยะลา อย่างน้อย 1 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.0 ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่จบ ป4 หรือ ป6 คิดเป็นร้อยละ 41.2 อาชีพหลักส่วนใหญ่ค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 30.9สำหรับข้อมูลด้านสุขภาพพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีรอบเอวเฉลี่ย 80.66 เซนติเมตร และระดับน้ำตาลในเลือด ( FBS ) เฉลี่ยเท่ากับ 251 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ46.32 สำหรับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนได้รับการให้สุขศึกษามีการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ ในเรื่องการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา การคลายเครียด/พักผ่อนเพียงพอ ร้อยละ 40.62 หลังได้รับการให้สุขศึกษาผู้มารับบริการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ปฏิบัติถูกต้องและสม่ำเสมอเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86.58

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

จัดโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้กับผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้ นั่นคือ การเน้นกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมทั้งด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและการรับประทานยา เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานได้

บทเรียนที่ได้รับ

1.การศึกษาหาความรู้และพฤติกรรมโดยใช้แบบสอบถาม ผู้ศึกษาต้องออกแบบเครื่องมือที่ครอบคลุมทุกด้าน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามเข้าใจ สามารถตอบได้ถูกต้องและตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด 2.การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและการร่วมมือจากทีมสหวิชาชีพเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ทีมสหวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล

Keywords

  • ความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

งานมหกรรมวิชาการประจำปี ระดับเขต สงขลา 2562

รางวัลที่ได้รับ

ชนะเลิศ ประเภท Oral Presentation ( R๒R) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 2562

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ยะลา
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ภาคใต้
เขตสุขภาพ
เขตที่ 12
ภูมิภาค
ภาคใต้

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: ไม่มี
  • สนับสนุนงบประมาณ: ไม่มี
  • ให้คำปรึกษา: ไม่มี
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: ไม่มี
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: ไม่มี
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2563
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย