pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ยาอมสมุนไพรลดอาการปวดฟัน

งานวิจัยปี

2563

คำสำคัญ

ช่องปาก ตับ การติดเชื้อ ปวดฟัน ปาก ผิว ผิวหนัง ฟัน โรคฟันผุ เลือดออกตามไรฟัน ไต

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

อาการปวดฟัน(Toothache)เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณฟัน สาเหตุที่พบบ่อยคือการมีฟันผุหรือติดเชื้อจากการรักษาสุขอนามัยช่องปากไม่ดี การรักษาอาการปวดฟันขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวดฟันที่ตรวจพบ หากเกิดจากฟันผุแพทย์จะนำเอาฟันที่ผุออกระหว่างที่ยังไม่ได้รับการตรวจรักษาจากสาเหตุของอาการปวดคนไข้จะได้รับยาบรรเทาปวด กานพลู สรรพคุณตามตำรายาไทย ดอก รสเผ็ด กระจายเสมหะ แก้เสมหะเหนียว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน ดับกลิ่นปาก แก้หืด เป็นยาทำให้ร้อนเมื่อถูกผิวหนังทำให้ชา เป็นยาฆ่าเชื้อ ขับระดู น้ำมันกานพลู(Clove oil)เป็นยาชาเฉพาะที่ จากข้อมูลผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวายจีกใน ปี 2559 2560 และปี 2561 พบผู้ที่มีอาการปวดฟัน 92 56 และ 90 คน ตามลำดับ ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาผลการใช้ยาอมสมุนไพรลดอาการปวดฟันในผู้ป่วยที่มีอาการปวดฟันที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวายจีก จังหวัดบุรีรัมย์

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลการใช้ยาอมสมุนไพรลดอาการปวดฟันในผู้ป่วยที่มีอาการปวดฟันที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวายจีก ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi-Experimental research) ) ศึกษากับผู้ป่วยที่มีอาการปวดฟันที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2562 จำนวน 15 คน โดยวัดระดับความเจ็บปวดของ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดฟัน ก่อนได้รับยาอมสมุนไพร หลังจากนั้นให้ยาอมสมุนไพร รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด วัดผลระดับความเจ็บปวดหลังการอมยาอมสมุนไพร 5 นาที โดยสถิติที่ใช้ในการศึกษาคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ

ผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครที่ได้รับยาอมสมุนไพรลดการปวดฟันทั้ง 15 คน มีอาการปวดฟันลดลงก่อนได้รับยาอมสมุนไพรมีอาการปวดเฉลี่ยอยู่ระดับ 5.93 ภายใน 5นาทีหลังจากได้รับยาอมสมุนไพรอาการปวดลดลงอยู่ที่ระดับ 2.33 ผลการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่ายาอมสมุนไพรสามารถลดอาการปวดฟันของอาสาสมัครทั้ง 15 คนได้ อาสาสมัครที่อาการปวดมากที่สุดจาก ปวดระดับ 7 ลดลงมา ระดับ 2 และ อาสาสมัครที่มีอาการปวดลดลงน้อยที่สุดจาก ปวดระดับ 6 ลดลงมาปวดระดับ 4 สอดคล้องการศึกษาของ Kamatou, et al., 2012 ที่ศึกษาฤทธิ์ระงับปวดของ eugenol ในดอกกานพลู แก่หนูถีบจักร ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ปวดพบว่าสามารถลดอาการปวดของหนูได้นอกจากนี้ยังมีการศึกษาฤทธิ์ระงับ มีฤทธิ์ระงับปวดอย่างน้อย 30 นาที สอดคล้องการศึกษาของ Perry LM, 2011 ศึกษาฤทธิ์ทำให้ผิวหนังชาของสารสกัดของกานพลูเทียบกับยาชา benzocaine ในอาสาสมัคร 73 คน พบว่าสามารถลดการปวดได้ และให้ผลไม่แตกต่างกัน

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ยาอมสมุนไพรลดอาการปวดฟันสามารถใช้ในผู้ป่วยทีมีอาการปวดฟัน ทดแทดการใช้ยาแผนปัจจุบัน

บทเรียนที่ได้รับ

การนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยมาประยุกต์จนเกิดผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยาอมสมุนไพรลดอาการปวดฟัน ยาอมสมุนไพรลดอาการปวดฟันสามารถนำมาใช้ใน รพ.สต.เพื่อลดอาการปวดฟันในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดฟัน ลดการใช้ยาแผนปัจจุบันที่มีผลต่อตับ ไตในระยะยาว

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

มีความตั้งใจ มุ่งมั่น ทุ่มเท หมั่นหาความรู้และเพิ่มพูนทักษะด้านต่างๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานแลผู้เข้าร่วมงานวิจัยทุกคน เชื่อมันในข้อมูลและองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย

Keywords

  • ยาอมสมุนไพรลดอาการปวดฟัน, อาการปวดฟัน,ดอกกานพลู

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

มหกรรมการแพทย์แผนไทยภาคอีสาน ปี2563 มุกดาหาร 2563

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
บุรีรัมย์
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R นครชัยบุรินทร์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 9
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: ไม่มี
  • สนับสนุนงบประมาณ: ไม่มี
  • ให้คำปรึกษา: ไม่มี
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: ไม่มี
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: ไม่มี
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2563
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย