pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ชื่อนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ “ไม้นวดเพื่อสุขภาพ”

งานวิจัยปี

2563

คำสำคัญ

ข้อ ขา คอ น่อง นิ้ว นิ้วมือ ปวดตา ปวดเมื่อย มือ ร่างกาย ลำตัว เอว แขน

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท นวัตกรรม

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม ทําให้พฤติกรรมและแบบ แผนการดําเนินชีวิตของคนเราเปลี่ยนแปลงไป ประชาชนในชนบททํางานหนัก ประเภท ยก แบก หาม และเคร่งเครียดกับการทํางาน ส่งผลให้เกิดการปวดตามกล้ามเนื้อต่างๆตามมา จากการสังเกตผู้มารับบริการการักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบูรพาสามัคคี พบว่า มีผู้ป่วยที่มารับบริการนวดแพทย์แผนไทย 6-7 คน/วัน ซึ่งกลุ่มอายุที่มารับบริการมากที่สุดคือกลุ่มวัยแรงงาน รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 60 ปี ขึ้นไป ซึ่งมักจะมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และพบบ่อยที่สุด คือ ปวดบริเวณ หลัง คอ เอว น่อง ข้อต่างๆ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบูรพาสามัคคี จึงมีแนวคิดที่จะนาวัสดุอุปกรณ์ธรรมชาติ คือ ไม้ไผ่ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ ทาเป็น “ไม้นวดผ่อนคลายเพื่อสุขภาพ” มาเป็นเครื่องมือช่วยนวด เพื่อให้ผู้มารับบริการสามารถนวดผ่อนคลายด้วยตนเองขณะนั่งรอรับบริการ เพื่อที่จะลดอาการปวดเมื่อยของผู้มานั่งรอ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการนวดรักษาและนวดเพื่อสุขภาพ 2. เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายของผู้มานั่งรอรับบริการ 3. เพื่อให้ผู้ที่นวดนั้นมีทางเลือกใช้ไม้นวดเพื่อสุขภาพแทนการใช้มือนวดเพียงอย่างเดียว

ระเบียบวิธีวิจัย

เพศ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.00 เป็นเพศชาย ร้อยละ 43.00 อายุ ส่วนใหญ่มีอายุ 40 - 49 ปี ร้อยละ 42.00 รองลงมา มีอายุ 60 - 69 ปี ร้อยละ 31.00 และ อายุ 50 - 59 ปี ร้อยละ 27.00 วุฒิการศึกษา ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 97 รองลงมามีวุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ร้อยละ 3 ผู้ประเมิน ส่วนใหญ่คือผู้มารับบริการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 58.00 รองลงมาคือผู้มารับบริการคลินิกเรื้อรัง ร้อยละ 42.00 ผู้มารับบริการมีความต้องการต่อนวัตกรรมมากที่สุด ร้อยละ 89.00 รองลงมามีความต้องการต่อนวัตกรรมมาก ร้อยละ 11 ผู้มารับบริการมีความสนใจต่อนวัตกรรม มากที่สุด ร้อยละ 85.00 รองลงมามีความสนใจต่อนวัตกรรม มาก ร้อยละ 15 นวัตกรรมมีความเหมาะกับผู้มารับบริการ มากที่สุด ร้อยละ 91.00 รองลงมามีความเหมาะกับผู้มารับบริการ มาก ร้อยละ 9 นวัตกรรมมีประโยชน์ต่อผู้มารับบริการ มากที่สุด ร้อยละ 100.00 นวัตกรรมชิ้นนี้สามารถดัดแปลงและพัฒนาไปใช้กับประชาชนในชุมชนได้ มากที่สุด ร้อยละ 100.00

ผลการศึกษา

เกิดนวัตกรรมใหม่และผลิตภัณฑ์สุขภาพคือ ไม้นวดเพื่อสุขภาพ ในรพ.สต. และชุมชน ประโยชน์ของนวัตกรรม ไม้นวดเพื่อสุขภาพ นวดผ่อนคลาย ช่วยในการนวดจุดต่างๆ บนลำตัว แขน ขา เพิ่มการผ่อนคลาย ลดการปวดเมื่อยตามจุดต่างๆ ที่มีการปวดเมื่อย ใช้แทนนิ้วมือทำให้ผู้นวดไม่เจ็บนิ้ว เบา แรงกด สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

1. ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายของผู้มานั่งรอคิวรับบริการนวดแผนไทย 2. ช่วยผ่อนแรงผู้ให้บริการนวดแผนไทยได้ 3. ผู้มารอรับบริการมีกิจกรรมทาขณะนั่งรอรับบริการ ทาให้ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจและเพลิดเพลินกับนวัตกรรม 4. ลดอาการปวดเมื่อยตรงจุด

บทเรียนที่ได้รับ

เกิดนวัตกรรมใหม่และผลิตภัณฑ์สุขภาพคือ ไม้นวดเพื่อสุขภาพ ในรพ.สต. และชุมชน ประโยชน์ของนวัตกรรม ไม้นวดเพื่อสุขภาพ นวดผ่อนคลาย ช่วยในการนวดจุดต่างๆ บนลำตัว แขน ขา เพิ่มการผ่อนคลาย ลดการปวดเมื่อยตามจุดต่างๆ ที่มีการปวดเมื่อย ใช้แทนนิ้วมือทำให้ผู้นวดไม่เจ็บนิ้ว เบา แรงกด สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ขอบคุณหัวหน้าแพทย์แผนไทยประยุกต์โรงพยาบาลวาปีปทุม ที่ให้คำปรึกษาและชี้แนะ ขอบคุณแรงสนับสนุนจากทีมงาน รพ.สต.และผู้ที่มารับบริการ

Keywords

  • งานแพทย์แผนไทย

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม้นวดเพื่อสุขภาพ

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
มหาสารคาม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: ไม่มี
  • สนับสนุนงบประมาณ: ไม่มี
  • ให้คำปรึกษา: ไม่มี
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: ไม่มี
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: ไม่มี
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2563
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย