pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมและจัดจ้าง นักบริบาลชุมชนเพื่อดูแลคนพิการ ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยเรื้อรังให้มีสุขภาพดีและมีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อกลับมาจ้างนักบริบาลชุมชนโดยชุมชน

งานวิจัยปี

2563

คำสำคัญ

ติดเตียง ภาวะแทรกซ้อน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเรื้อรัง

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท Meta R2R

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้มีผลอย่างมากต่อสุขภาพของประชาชน ทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในแต่ละชุมชนเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภาวะเศรษฐกิจที่รัดตัวเร่งรีบ ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ขาดผู้ดูแล ลูกหลานต้องไปทำมาหากิน ทำให้ไม่มีเวลาดูแลพ่อแม่เป็นผลทำให้โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้กลายเป็นผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และขาดผู้ดูแลหรือมีผู้ดูแลไม่เต็มที่และไม่ทั่วถึง กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาผู้ดูแลจิตอาสาเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยแต่ก็ไม่ได้ผลเต็มที่นัก เพราะจิตอาสาเหล่านี้มีภาระที่จะต้องหาเลี้ยงชีพและดูแลครอบครัว ทำให้มีเวลาไม่มากพอ เพื่อให้เกิดการพัฒนานักบริบาลชุมชนมาเป็นผู้ดูแลเต็มเวลา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมและจัดจ้างนักบริบาลชุมชนเต็มเวลา เพื่อดูแลคนพิการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อน สามารถช่วยผู้ป่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นกลับมาจ้างนักบริบาลชุมชน

ระเบียบวิธีวิจัย

-ระดมสมองบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการคัดเลือกนักบริบาลชุมชนเพื่อดูแลคนพิการ ดูแล ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้มีสุขภาพดี -ระดมสมองบุคลากรที่เกี่ยวข้องร่วมกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่ประสบความสำเร็จในการน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้และคณะพยาบาลของวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย จังหวัดขอนแก่น เพื่อจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้นักบริบาลชุมชนเห็นคุณค่าและมีความสามารถในการดูแลคนพิการ ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สนใจปลูกผัก ผลไม้สมุนไพรตามฤดูกาลไม่ใส่สารเคมี ปลูกไผ่และไม้ยืนต้นสร้างบ้านได้ไว้กินและใช้เองในครัวเรือน และร่วมกับกองทุนธุรกิจเพื่อสังคมของคนพิการไปเพิ่มมูลค่าด้วยการร่วมกันจำหน่ายหรือทำการเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปและนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นบางส่วนกลับมาจ้างนักบริบาลชุมชน -จัดทำโครงการเสนอมูลนิธิโรงพยาบาลรามาธิบดี -นักบริบาลชุมชนช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยอื่นๆวันละ 4 ชั่วโมง เพื่อนำความรู้ความสามารถที่ได้มาไปช่วยผู้ป่วยติดเตียง และช่วยให้ญาติผู้ป่วยติดเตียงมีเวลาดูแลบ้านพักและดูแลกิจกรรมหรืออาชีพที่ดำเนินรอยู่ -นักบริบาลชุมชน 1 คน พาญาติผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สนใจรวม 50 คน ปลูกผัก ผลไม้และสมุนไพรไม่ใส่สารเคมีต้นไผ่ และไม้ยืนต้นสร้างบ้านได้เช่นสะเดา สัก พะยูง ยางนา เพื่อเพิ่มรายได้ของครอบครัวคนพิการ ของครอบครัวผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สนใจ

ผลการศึกษา

-เกิดรูปแบบการฝึกอบรมนักบริบาลชุมชนเต็มเวลาเพื่อดูแลคนพิการ ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อน -เกิดรูปแบบการจ้างงานนักบริบาลชุมชน -นักบริบาลชุมชนสามารถช่วยญาติผู้ป่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจ้างนักบริบาลชุมชนในระยะยาว

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ในปัจจุบัน มีผุ้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุที่ต้องการผู้ดูแลเป็นจำนวนมากขึ้น เกิดภาระต่อผุ้ดแลหลัก และส่งผลให้เกิดภาวะ burden หรือ burn out ของผู้ดูแล การผลิตนักบริบาลชุมชนที่สามารถดูแลผู้ป่วยช่วยเหลือในชุมชนได้ ทำให้เกิดผลดีในระยะยาวต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม เกิดการขับเคลื่อนสังคมเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มญาติของผู้ป่วยที่นักบริบาลชุมชนเข้าไปดูแล

บทเรียนที่ได้รับ

การดูแลผู้ป่วยแบบเชิงรุก สามารถทำได้ถ้ามีบุคลากรที่เพียงพอ การสร้างบุคลากรที่มีใจรัก และมีความรู้ในการดูแลเบื้องต้น สามารถทำให้เรามีบุคลากรที่คอยช่วยดูแลผู้ป่วยในชุมชน และมีผู้ช่วยในการทำงานดูแลสุขภาพเชิงรุก

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

-ความร่วมมือของคปสอ.ในการคัดเลือกคนที่จะมาเรียนหลักสูตรนักบริบาลชุมชน -ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชียขอนแก่น ในการสนับสนุนความรู้ทางวิชาการให้แก่นักบริบาลชุมชน -ความร่วมมือของฝ่ายต่างๆในรพ.อุบลรัตน์ ช่วยสอนภาคปฏิบัติให้แก่นักบริบาลชุมชนและอำนวยความสะดวกในการฝึกงาน

Keywords

  • นักบริบาลชุมชน ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ขอนแก่น
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • มูลนิธิโรงพยาบาลรามาธิบดี: 5400000
เผยแพร่เมื่อ
2563
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย