pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

: การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของ รพ.สต.บ้านบุ่งง้าว ตำบลแวงดง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

งานวิจัยปี

2563

คำสำคัญ

ฆ่าตัวตาย จิตเวช ดื่มสุรา อาการทางจิต การเฝ้าระวัง

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ผู้ป่วยสุขภาพจิตที่มีอาการกำเริบจะส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนอย่างต่อเนื่องจากการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจิตเวช รพ.สต.บุ่งง้าวในปี 2559–2560 จำนวน 5 คนพบผู้ป่วยรายหนึ่งมีอาการทางจิตกำเริบมักมีอาการอาละวาดเนื่องจากขาดยาและอยู่ลำพังคนเดียวไม่มีญาติคอยให้ความช่วยเหลือและอีกรายมีอาการกำเริบ 2–3 ครั้ง/ปีได้นำส่งรพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เคยเข้ารับการรักษาซ้ำ 2 ครั้งภายในเวลา 4 เดือนจากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยได้ทบทวนพบว่า1)ด้านผู้ป่วยและครอบครัวอาศัยอยู่เพียงคนเดียวตามลำพังไม่มีญาติดูแลทำให้ขาดการรักษาที่ต่อเนื่อง 2)ด้านชุมชน ไม่ยอมรับผู้ป่วยจิตเวชไม่ให้โอกาสปรับตัว 3)ด้านการดูแลของเจ้าหน้าที่ ไม่มีแนวทางการที่ชัดเจน ถึงแม้จะมีผู้ป่วยเพียง 5 คน แต่หากมีอาการกำเริบขึ้นจะส่งผลกระทบต่อคนในในชุมชนดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์

วัตุถประสงค์ทั่วไปเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับยา/การรักษาที่ต่อเนื่องและเพื่อป้องกันอาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้แนวคิดของ Kemmis & Mc Taggartระยะเวลาวิจัย ตค. 2560-มีค. 2562 ผู้มีส่วนร่วมวิจัย : พยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิต รพ.และรพ.สต. ผู้นำชุมชน อสม. ผู้ดูแล ขั้นตอนการวิจัย วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา จากการทบทวนการดูแลผู้ป่วย สัมภาษณ์เชิงลึก คืนข้อมูลสู่ชุมชน ร่วมกันออกแบบแนวทางการดูแลพร้อมนำไปใช้ ถอดบทเรียนสู่การพัฒนาผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการทุก 2 เดือน และประเมินผล เครื่องมือการวิจัย : แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินสภาพจิตของรพ.สวนสราญรมย์ ปี 2543 แบบสังเกต แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลมูลเชิงปริมาณ : จำนวน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า

ผลการศึกษา

รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่(1)พัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพให้ผ่านการอบรมสาขาสุขภาพจิตและจิตเวชหลักสูตรระยะสั้น 3 วัน(2)พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชนในระดับหมู่บ้าน(3)คืนข้อมูลให้กับชุมชนที่มีผู้ป่วยจิตเวชที่มีการกำเริบบ่อยๆร่วมกันออกแบบแนวทางการดูแลเฝ้าระวังโดยชุมชน(4)ชุมชนเป็นผู้ค้นหาปัญหาระบุปัญหาและความต้องการผู้ป่วย/ครอบครัว(5)แบ่งบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย เช่น ครอบครัว /เพื่อนบ้าน : ดูแลการกินยา,เฝ้าระวังการหลบหนีต่างถิ่น, (7)ติดตามและประเมินผลใช้ระบบการติดต่อประสานงานหลายช่องทาง ประเมินผล พบว่าผู้ป่วยจิตเวช 5 คนได้รับการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนครบทั้ง 5 คน(100%)ได้รับยาจิตเวชอย่างต่อเนื่อง100%ไม่มีอุบัติการณ์ฆ่าตัวตาย ทำร้ายตนเองและผู้อื่น พบผู้ป่วยมีอาการกำเริบทางจิต 1 ราย(20%)เนื่องจากดื่มสุราแล้วจึงมีอาการซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนการบำบัดสุราในคลินิกยาเสพติดรพ.ยางสีสุราช

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ชุมชนมีการดูแลผู้ป่วยจิตเวชร่วมกันโดยมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย เช่น จัดเวรดูแลผู้ป่วยรัปประทานยา เฝ้าระวังการหลบหนี และได้นำรูปแบบนี้ไปใช้กับรพ.สต.ทุกแห่งในอำเภอยางสีสุราช พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนเวทีมหกรรมสุขภาพจิตเขตสุขภาพที่

บทเรียนที่ได้รับ

การดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนจะทำให้ประสบความสำเร็จได้เพราะอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยและครอบครัวมากที่สุด

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ความร่วมมือของชุมชน ความมุ่งมั่นของเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาและระบบการปรึกษาที่ดีจากรพ.ยางสีสุราช

Keywords

  • จิตเวช ส่วนร่วม ชุมชน

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2562

รางวัลที่ได้รับ

รางวัลที่ 3 งานวิชาการเขต 7 เขตสุขภาพที่ 7 2562

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
มหาสารคาม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2563
งานวิจัยนี้ส่งโดย
มีผู้ส่งแทน : นางกาญจนา จันทะนุย (kanyang1@hotmail.com)
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย