จากการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงพบว่าประชาชนมีพฤติกรรมการสวมหน้ากากอนามัยป้องกันโรคน้อยมาก สาเหตุมาจากความไม่สะดวกในการเข้าถึงหน้ากากอนามัย เข้าถึงได้ยาก ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟ สถานศึกษา ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาลญาติผู้ป่วยต้องการชื้อใช้แต่ร้านค้าจำหน่ายหน้ากากอนามัยมีน้อยและอยู่ไกลจึงเป็นที่มาของแนวคิดนวัตกรรมตู้หน้ากากอนามัยแบบหยอดเหรียญ เพื่อให้บริการแก่ประชาชน ให้ง่ายต่อการเข้าถึง ในพื้นที่เสี่ยงและลดการแพร่เชื้อโรคระบบทางเดินหายใจ โดยมีโจทย์ในการผลิตตู้หน้ากากอนามัยแบบหยอดเหรียญเพื่อการป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจแก้ไขปัญหาการแพร่เชื้อโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในเขตเมืองในพื้นที่เสี่ยง ให้เข้าถึงง่ายต่อการใช้ทุกเพศทุกวัย ดำเนินการผลิตและทดลองติดตั้งให้บริการในพื้นที่เสี่ยงเขตเมืองนครราชสีมา
1.เพื่อสร้างตู้หน้ากากอนามัยแบบหยอดเหรียญที่ง่ายต่อการเข้าถึงในพื้นที่เสี่ยง 2.เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการตู้หน้ากากอนามัยแบบหยอดเหรียญ ในการป้องกันควบคุมโรคระบบทางเดินหายใจและฝุ่นพีเอ็ม2.5
การผลิตตู้หน้ากากอนามัยแบบหยอดเหรียญในการป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจแก้ไขปัญหาการแพร่เชื้อโรค เกิดจากแนวคิดให้เข้าถึงง่ายต่อการใช้ทุกเพศทุกวัย และได้ออกแบบให้เป็นตู้หยอดเหรียญ ที่ไม่ใช้ไฟฟ้า ติดตั้งโดยไม่ต้องเจาะผนังหรือกำแพง ภายในจัดทำเป็นช่องกระจกใสมีตัวเลขกำกับ สามารถตรวจสอบจำนวนหน้ากากอนามัยได้ มีฐานตั้งที่แข็งแรงมั่นคง มีพื้นที่สื่อสารสุขภาพ มีการดำเนินการ ดังนี้ ระยะที่ 1 การออกแบบแนวคิดในการทำตู้บริการหน้ากากอนามัยป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจในพื้นที่เสี่ยง ระยะที่ 2 สร้างผลิตนวัตกรรมตู้หน้ากากอนามัยตามแนวคิดการประหยัดพลังงานใช้มือหมุนใช้งานง่าย และติดตั้งง่าย ไม่เจาะยึดเกาะผิงผนังพื้นอาคาร ระยะที่ 3 ทดลองติดตั้งนวัตกรรมตู้หน้ากากอนามัยบริการ ระยะที่ 4 ประเมินผลและการปรับปรุงรูปแบบรูปแบบการพัฒนารูปแบบทดลองติดตั้งนวัตกรรมตู้หน้ากากอนามัย
ทดลองติดตั้งให้บริการในพื้นที่เสี่ยงเขตเมืองนครราชสีมาจำนวน15ตู้ พบว่า ปริมาณการใช้ต่อตู้เฉลี่ยร้อยละ13.53 เพิ่มขึ้นเป็น44.09, 70.48, 66.18, 100 มีแนวโน้มการใช้บริการสูงขึ้น โดยประเมินจากพฤศจิกายน 2562 - มีนาคม 2563 พบว่า พื้นที่ที่มีการใช้หน้ากากอนามัยเป็นจำนวนมากที่สุด ได้แก่ โรงพยาบาล รองลงมาสถานีรถไฟ สถานีขนส่งและห้างสรรพสินค้า ตามลำดับ และผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่าประโยชน์ตู้หน้ากากอนามัยหยอดเหรียญ ในเรื่องการใช้ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและการใช้ป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่นพึงพอใจร้อยละ100 การใช้ง่ายสะดวกหรือขั้นตอนไม่ซับซ้อนพึงพอใจร้อยละ55.5 ใช้เป็นแนวทางการกำหนดข้อเสนอเชิงนโยบายได้ พึงพอใจร้อยละ64.54 สามารถขยายพื้นที่หรือการใช้ประโยชน์ในวงกว้างมากขึ้นพึงพอใจร้อยละ62.5 สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพพึงพอใจร้อยละ59.5 ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ลงทุนน้อยแต่ได้ประโยชน์มากร้อยละ55.5 ภาพรวมความพึงพอใจและประโยชน์ที่ได้รับต่อตู้หน้ากากอนามัยหยอดเหรียญ ในระดับพอใจมากและมากที่สุด96.5
หากมีการขยายพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศ ส่งเสริมการใช้หน้ากากอนามัยแบบหยอดเหรียญ ตามโรงพยาบาล รัฐ/เอกชน สถานีขนส่ง สถานี รถไฟ /รถไฟฟ้า ห้างสรรพ สินค้าขนาดใหญ่ สถานศึกษา/มหาวิทยาลัย สถานที่ราชการเช่น ที่ดิน ทะเบียนราษฎ์ ในเขตเทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อรวม11,827แห่ง ได้และลดภาระภาครัฐได้มากถึง7,096,200 กล่อง/ปี โดยคิดเป็นเงินประมาณ70ล้านบาทต่อปี
- ได้สร้างความร่วมมือกับเอกชนในการลงทุน จัดบริการหน้ากากอนามัยผ่านตู้หน้ากากอนามัยแบบหยอดเหรียญบริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และง่ายต่อการเข้าถึง -ได้ส่งเสริมให้มีการติดตั้งตู้หน้ากากอนามัยแบบหยอดเหรียญ ในการป้องกันควบคุมโรคระบบทางเดินหายใจและภัยสุขภาพจากฝุ่นพีเอ็ม2.5 แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
-การคิดเชิงบวกโดยนวัตกรรมให้เกิดการส่งเสริมการใช้หน้ากากอนามัยทางตู้แบบหยอดเหรียญ เพื่อให้ที่ง่ายต่อการเข้าถึง อย่างเป็นธรรมเท่าเทียมและทั่วถึง ในการป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังไม่ใช้ไฟฟ้า -ประสานความร่วมมือกับเอกชนในการลงทุนแบบสร้างภาพลักษที่ดีให้องค์กร โดยต้องสื่อสารให้เห็นถึงประโยชน์ส่วนรวมและการเป็นจิตอาสา -ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากผู้บริหารทุกระดับในการดำเนินการผลิตตู้หน้ากาอนามัยแบบหยอดเหรียญ
สิ่งประดิษฐ์ตู้หน้ากากอนามัยแบบหยอดเหรีญป้องกันควบคุมโรคระบบทางเดินหายใจ
ไม่เคย
นิทรรศการในงาน “วันนักประดิษฐ์”ประจำปี 2563 ไบเทค บางนา กทม. 2563
OUTSTANDING AWARD จาก Citizen Innovation ประเทศสิงคโปร์ 2563