pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การส่งเสริมพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาด้วยกิจกรรมมือน้อยร้อยปัญญา ในเด็กปฐมวัย อายุ 2-3 ปี

งานวิจัยปี

2563

คำสำคัญ

กล้ามเนื้อ การประเมิน ฟัน มือ การเฝ้าระวัง

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท บริการ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มีความสำคัญเป็นอวัยวะหนึ่งในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น การใส่-ถอดกระดุม รูดซิป การแปรงฟัน ผูกเชือกรองเท้า รวมถึงการขีดเขียน ถ้าเด็กใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้คล่องแคล่วก็จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆได้ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กควรส่งเสริมให้ใช้กล้ามเนื้อสายตาควบคู่กันไปให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก จึงจะมีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ จากข้อมูลการประเมินพัฒนาการโดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM) ในเด็กปฐมวัยอายุ 2-3 ปีของสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ จำนวน 86 คน พบว่าด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (FM) ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 17.44 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย จึงนำกิจกรรมมือน้อยร้อยปัญญามาใช้กระตุ้นพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อมในด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาที่ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กที่ประเมิน DSPM ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (Fine Motor domain : FM) ไม่ผ่านเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือเด็กอายุ 2-3ปี ที่ได้รับการประเมินด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาตามคู่มือ DSPM ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 15 คน ขั้นตอนคือจัดกิจกรรมมือน้อยร้อยปัญญา วันละ 20 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 2 เดือน แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม 1.ร้อยเชือกผ่านรูขนาดใหญ่ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซม.หากเด็กใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที จะเปลี่ยนเป็นร้อยผ่านรูขนาดเล็ก ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5ซม. ครูผู้วิจัยจับเวลาและจดบันทึกเป็นนาที 2.ร้อยเชือกผ่านรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซม. โดยการร้อยจับคู่ภาพสี จำนวน 3 คู่ ครูผู้วิจัยทำการจดบันทึกเป็นจำนวนคู่ที่เด็กร้อยจับคู่ภาพสีได้ถูกต้อง การประเมินพัฒนาการโดยใช้คู่มือพัฒนาการ DSPM หลังการทำกิจกรรม คือ ประเมินผลครั้งที่ 2 (หลังจัดกิจกรรม 30 วัน) และประเมินผลครั้งที่ 3 (หลังจัดกิจกรรม 60 วัน) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลการวิจัย

ผลการศึกษา

การจัดกิจกรรมร้อยสร้างรูป เดือนที่ 1 เด็กใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมร้อยรูขนาดใหญ่ เฉลี่ย 16.29นาที และขนาดเล็ก 18.48 นาที ภายหลังทำกิจกรรม ผลการประเมิน DSPM ครั้งที่ 2 (หลังจัดกิจกรรม 30วัน) พบว่า เด็กผ่านการประเมินพัฒนาการด้านFM จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 ของจำนวนทั้งหมด 15 คน การจัดกิจกรรมร้อยสร้างรูป เดือนที่ 2 เด็กใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมร้อยรูขนาดใหญ่ เฉลี่ย 9.04 นาที และขนาดเล็ก 10.34 นาที ภายหลังทำกิจกรรม ผลการประเมิน DSPM ครั้งที่ 3 (หลังจัดกิจกรรม 60วัน) พบว่า เด็กผ่านการประเมินพัฒนาการด้านFM จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 ของจำนวนทั้งหมด 15 คน สรุปผลการประเมิน DSPM ภายหลังทำกิจกรรมครบทั้งหมด พบว่า มีเด็กผ่านการประเมินตามเกณฑ์ครบทั้ง 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

รู้จักสังเกตปัญหาจากการปฏิบัติงาน แล้วนำปัญหามาหาวิธีแก้ไขอย่างมีเหตุผล โดยนำหลักการสู่งานวิจัย และใช้กิจกรรมร้อยสร้างรูปพัฒนาเด็กที่พัฒนาการล่าช้าด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีสมาธิ และสติปัญญาที่ดี

บทเรียนที่ได้รับ

เพิ่มรูปแบบการศึกษาการกระตุ้นพัฒนาการด้านอื่น เช่น พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว พัฒนาการด้านการใช้ภาษา พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา เป็นต้น และทำศึกษาการกระตุ้นพัฒนาในกลุ่มตัวอย่างที่มีพัฒนาการล่าช้า ในเด็กปฐมวัยช่วงอายุอื่นๆ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1.ทีมวิทยากรช่วยแนะนำ ให้คำปรึกษา ช่วยชี้แนะแนวทางให้ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย 2.ครูและผู้ดูแลเด็กให้ความร่วมมือในขั้นตอนการเก็บข้อมูล

Keywords

  • เด็กปฐมวัย,การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

งานตลาดนัดวิชาการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย 2563

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
นนทบุรี
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 4
ภูมิภาค
ภาคกลาง

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • การสนับสนุนเชิงนโยบาย: พอใจ
  • สนับสนุนงบประมาณ: พอใจ
  • ให้คำปรึกษา: พอใจ
  • จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน: พอใจ
  • ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน: พอใจ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2563
งานวิจัยนี้ส่งโดย
มีผู้ส่งแทน : สุภิญญา เกียรติพานิชกิจ (winkly_heart@hotmail.com)
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย