อาการปวดหลังส่วนล่าง (low back pain) เป็นอาการที่พบมากเป็นอันดับ 5 สาเหตุหลักเกิดจากการทำงาน เนื่องจากประชาชนในพื้นที่มีอาชีพกรีดยาง ซึ่งมีอิริยาบถเดิมๆและยกน้ำยางหนัก เดิมให้การรักษาโดยการนวดและประคบสมุนไพร แต่ผู้ป่วยไม่พึงพอใจในความร้อนของลูกประคบสมุนไพร เพราะมีข้อจำกัดในการเพิ่มอุณหภูมิผิวหนังระหว่างรักษา เนื่องจากขณะรักษามีการยกลูกประคบตลอดเวลา ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อน และขาดความต่อเนื่อง เพราะต้องเปลี่ยนลูกประคบ 3 ครั้ง/คน ในระยะเวลา 30 นาที นอกจากนี้โต๊ะบีแดในพื้นที่ มีการใช้ก้อนเส้า ในหญิงหลังคลอด เพื่อขับน้ำคาว มดลูกเข้าอู่ ทำให้ผู้วิจัยสนใจพัฒนาต่อยอดเป็นลูกประคบตูกู (Tuku) โดยออกแบบลักษณะคล้ายกับลูกประคบบรรจุด้วยหินน้ำหนัก 1 กิโลกรัม และสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อศึกษาผลของลูกประคบตูกูต่อการลดอาการปวดในผู้ป่วยอาการปวดหลังส่วนล่าง และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ลูกประคบตูกู ในการลดอาการปวดและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจและระยะเวลาการให้ความร้อนของลูกประคบตูกู ที่ให้ผลทางการรักษา
การศึกษาเรื่องลูกประคบตูกู (Tuku) ต่อการลดอาการปวดหลัง โรงพยาบาลจะแนะ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลในการรักษากลุ่มอาการปวดและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลัง โดยผู้วิจัยทำการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าจำนวนเท่าๆกันคัดเลือกแบบจับคู่ (matched pair) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 15 คน คือ กลุ่มทดลองได้รับการประคบตูกู (Tuku) และกลุ่มควบคุมได้รับการประคบสมุนไพร ติดต่อกัน 3 วันวันละ 1 ครั้งๆละ 30 นาที ใช้เครื่องมือแบบประเมินอาการปวด โดยใช้มาตราวัดแบบตัวเลข (Numeric Ratting scales: NRS), วัดองศาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อด้วยกล่องวัดความยืดหยุ่น(Sit and Reach Box), แบบบันทึกความพึงพอใจและระยะเวลาการให้ความร้อนของลูกประคบตูกู ใช้ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มทดลองหลังได้รับการประคบตูกู มีค่าเฉลี่ยคะแนนอาการปวดหลัง ลดลงมากกว่าก่อนได้รับการประคบตูกู และพบว่าค่าเฉลี่ยของระดับอาการปวดหลังส่วนล่าง ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองก่อนประคบตูกู ในวันที่ 1 และหลังประคบตูกู ในวันที่ 3 ลดลง ส่วนกลุ่มควบคุมลดลงเล็กน้อย จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างหลังได้รับการประคบตูกู มีค่าเฉลี่ยความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังมากกว่าก่อนประคบตูกู และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความยืดหยุ่นของหลังระหว่างกลุ่มทดลอง กับกลุ่มควบคุม พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังหลังประคบด้วยลูกประคบตูกู มีค่าเฉลี่ยคะแนนความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อมากกว่ากลุ่มที่ใช้ลูกประคบสมุนไพร พบว่าลูกประคบตูกูมีสามารถให้ความร้อนได้มากกว่าและนานกว่าลูกประคบสมุนไพร
1. เป็นนโยบายของหน่วยงานในการพัฒนางาน 2. เป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วยอาการปวดหลังในโรงพยาบาล 3. เพื่อลดต้นทุนในการจัดซื้อยาสมุนไพร 4.เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ 5.ช่วยลดระยะเวลาในการสับเปลี่ยนลูกประคบสมุนไพร เมื่อหมดความร้อน
1.ได้สืบทอดองค์ความรู้โต๊ะบีแด ในการใช้หินก้อนเส้า ในการรักษาโรคอื่นๆ นอกเหนือจากฟื้นฟูมารดาหลังคลอด 2. เกิดความภาคภูมิใจในหน่วยงาน ที่ได้ต่อยอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาผู้ป่วย เกิดความรู้สึกมีคุณค่าทั้งต่อตนเองและวิชาชีพ
1. ผู้วิจัยมีความตั้งใจ 2. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง 3.ได้รับการกระตุ้นจากอาจารย์ที่ปรึกษา 4. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาการเก็บข้อมูลที่ชัดเจน
ลูกประคบ
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย