pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

เด็กปฐมวัย เก่ง ดี มีสุข ด้วยศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

งานวิจัยปี

2562

คำสำคัญ

การประเมิน การฝึกทักษะ ประสาทสัมผัส การเฝ้าระวัง

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

เด็กอายุ2-5ปี เป็นวัยทองของการเรียนรู้ของเด็กผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน การเลี้ยงดูและการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านจะเป็นรากฐานที่ดีที่จะให้เขาเติบโตมีคุณภาพ แต่ปัจจุบันผู้ปกครองไม่สามารถดูแลบุตรหลานได้อย่างใกล้ชิด ทำให้เด็กถูกละเลยในการเลี้ยงดูส่งผลต่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ จากดำเนินงานคลินิกสุขภาพเด็กดีของอำเภอสมเด็จ พบว่าเด็ก0-5ปีได้รับการคัดกรองพัฒนาการร้อยละ 96.42, สงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 23.20 (HDC จังหวัดกาฬสินธุ์) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ขาดความรู้ที่ถูกต้อง ใช้คู่มือDSPMไม่เป็น ดังนั้น การสร้างศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยอาศัยภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวร่วมดำเนินการ จึงมุ่งหวังให้มารดา ผู้ปกครอง และคนในชุมชนได้ระดมความคิดเห็น, ทรัพยากร และสามารถจัดกิจกรรมเพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการตามบริบทได้อย่างเข็มแข็ง ยั่งยืน

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของยาดาฟ (Yadav,1980, p. 87 ) ได้แก่ 1) การร่วมกันระบุปัญหาและกำหนดให้เป็นวาระของชุมชน 2) การวางแผนการดำเนินงาน 3)การประเมินผลลัพธ์ 4) ร่วมรับผลประโยชน์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก และคณะกรรมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก และมารดา ผู้ปกครองเด็ก จำวน 50 คน เก็บข้อมูลระหว่างตุลาคม 2560 - มิถุนายน 2561

ผลการศึกษา

ผลการศึกษา พบว่าผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการร่วมคิดและตัดสินใจระดับมากที่สุด ร้อยละ 75.0 ,ร่วมในการดำเนินการของแผนและโครงการพัฒนาดำเนินงานระดับมากที่สุด ร้อยละ 80.0 ร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนาระดับมากที่สุด ร้อยละ 86.7 ,ระดับความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3-5 ปีของมารดาและผู้ปกครอง ระดับมากที่สุด ร้อยละ 75.0 , ความถี่ในการส่งเสริมพัฒนาการทุกวันเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอายุและมีพัฒนาการสมวัยส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลง อันเนื่องมาจากมาดาและผู้ปกครองมีความเข้าใจวิธีการประเมินมากขึ้นทำให้สามารถค้นพบความผิดปกติได้มากขึ้น ผลการฝึกทักษะการคัดกรองพัฒนาการ และความฉลาดทางอารมณ์ ด้าน ดี เก่ง สุข เด็กอายุ 3-5 ปี ทุกคน โดยครูผู้ดูแลเด็ก พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กสามารถคัดกรองพัฒนาการได้ถูกต้องร้อยละ77.50 โดยยังพบปัญหาการนับอายุเด็ก การใช้คำสั่ง และการแปลผล ,การประเมินความฉลาดทางอารมณ์พบว่าครูทุกคนประเมินได้ถูกต้อง

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

การสร้างศูนย์เรียนรู้ในชุมชนทำให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการมากขึ้น เกิดแรงเสริมทางบวกในการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน การระดมทรัพยากร และการบูรณาการการทำงานร่วมกันของทั้งหน่วยงานราชการและภาคีเครือข่ายในชุมชน ซึ่งสามารภนำรูปแบบการดำเนินงานไปขยายต่อในตำบลอื่น หรือประเด็นปัญหาสุขภาพอื่นได้

บทเรียนที่ได้รับ

การส่งเสริมพัฒนาการในเด็กอายุ0-5 ปี พบว่ามีปัญหาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการใช้เครื่องมือ DSPM ของผู้ปกครอง ดังนั้นการสร้างศูนย์เรียนรู้ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการรวมกลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน มีการสื่อสาร โต้ตอบอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ปกครองกับเจ้าหน้าที่ การช่วยเหลือ แนะนำกันเองของผู้ปกครอง ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนที่ดี แต่ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ปัจจัยความสำเร็จได้แก่การเข้าถึงง่าย เหมาะสมกับบริบทชุมชน การมีแรงเสริมแรงภายในกลุ่มเรียนรู้ของมารดา และผู้ปกครอง การสื่อสารและการฝึกทักษะใกล้ชิดระหว่างผู้ปกครองกับเจ้าหน้าที่ การบูรณาการผลงานและตัวชี้วัดร่วมกันกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การระดมทรัพยากรภายในชุมชน และการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน

Keywords

  • การส่งเสริมพัฒนาการ

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
กาฬสินธุ์
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2562
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย