โรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลกรวมทั้งประเทศไทยในปีพ.ศ2557พบความชุกสูงถึง8.9%คิดเป็นจำนวนผู้ป่วยถึง4.8ล้านคนเพิ่มจากปีพ.ศ.2552ที่มีเพียง6.9%โรคเบาหวานป้องกันได้ดังนั้นการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงจึงมีความสำคัญในต่างประเทศได้มีการดำเนินการอย่างชัดเจนในระยะกว่า10ปีที่ผ่านมาจากการศึกษาพบว่าLifestyle intervention(modification)สามารถชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคในอนาคตได้โดยใช้โปรแกรมป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้แก่กิจกรรมการลดหรือควบคุมน้ำหนักให้ลดลง≥7%จากน้ำหนักตัวเดิมและออกกำลังกายหนักปานกลางอย่างน้อย150นาที/สัปดาห์และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคลดลงถึง58%ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยจากต่างประเทศแต่ประชากรไทยมีความแตกต่างกันหน่วยพยาบาลฯจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาโปรแกรมป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้น
เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อHbA1cลดลง≥0.5%จากค่าเดิมวัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อFPG,Triglyceride,HDL-Cholesterol,BW,พฤติกรรมการบริโภค/ออกกำลังกาย,Self-efficacy
การวิจัยRandomized-controlled trialเกณฑ์รับเข้า:อายุ18ปีขึ้นไปมีคะแนนความเสี่ยง≥6คะแนนและHbA1c=5.7-6.4%หรือมีเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้FPG=100-125,HDL-chol≤35,Triglyceride˃250,ประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดลูกนน.เกิน4กก.เกณฑ์ไม่รับเข้า:เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานหรือกำลังกินยาควบคุมระดับน้ำตาลอยู่คำนวนกลุ่มตัวอย่างจากข้อมูลพื้นฐานในงานประจำต้องการ60คนต่อกลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตรฐานคือได้รับคำแนะนำรายบุคคล กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพคือการเสริมทักษะการจัดการตนเองเสริมพลังโดยใช้กระบวนการกลุ่มในสัปดาห์ที่1,2,8และติดตามพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง6เดือนโดยให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่PairT-Test,IndependenceT-Test,Chi-square
ผู้เข้าร่วมจำนวน125คนได้รับการสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง61คนกลุ่มควบคุม64คนลักษณะประชากรทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันกลุ่มทดลองHbA1Cลดลงมากกว่า0.5%ร้อยละ9.3และร้อยละ8.6ในกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองน้ำหนักตัวลดลงเฉลี่ย1.5กกผู้ที่น้ำหนักลดลงมากที่สุด10กก.เส้นรอบเอวลดลงเฉลี่ย2.9ซม.ผู้ที่เส้นรอบเอวลดลงมากที่สุดคือ10ซม.ดัชนีมวลกายลดลง0.6กก/ตรม.เปรียบเทียบทั้งสองกลุ่มพฤติกรรมการรับประทานอาหารการออกกำลังกายและการรับรู้ความสามารถในตนมีความแตกต่างกันก่อนและหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001)ในกลุ่มทดลองน้ำหนักตัว,เส้นรอบเอว,FBS,HbA1cและTriglycerideมีความแตกต่างกันก่อนและหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001)มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมลดลงจาก50%เหลือ23.8%riskscoreลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติเพียง5.5%เนื่องจากมีส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้คืออายุเพศความดันโลหิตสูงประวัติกรรมพันธุ์
1)พัฒนาระบบการให้บริการในงานประจำสร้างโปรแกรมให้ความรู้และต่อยอดโดยร่วมมือกันกับสหสาขาวิชาชีพทำให้เกิดความยั่งยืนดำเนิน"โครงการให้ความรู้และพัฒนาทักษะการดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานสำหรับกลุ่มเสี่ยงในบริบทผู้ป่วยนอก"รวมทั้งเป็นโครงการที่อยู่ในหลักสูตรของแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์2)พัฒนาศักยภาพบุคลากรบทบาทพยาบาลผู้นำกิจกรรมกลุ่ม Self help group 3)ลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศที่ต้องดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทีมสหสาขาวิชาชีพทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน1)บุคลากรต้องใช้กลยุทธ์เสริมพลังทำให้เกิดความตระหนัก/แรงจูงใจ2)รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ต้องเข้าใจง่ายมีการทวนสอบความเข้าใจเป็นระยะ3)กระบวนการกลุ่มทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดและนำไปต่อยอด4)ความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากรกับกลุ่มเสี่ยงทำให้เกิดความผูกพัน5)เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยที่ดีเช่นLINE
การทำงานด้านสร้างเสริมสุขภาพต้องอาศัยความมุ่งมั่นของบุคลากรที่จะเป็นแรงผลักดันให้การทำงานและการทำงานร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพต้องมีความเข้าใจเปิดใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกประชุมปรึกษาหารือกันเป็นระยะเนื่องจากบริบทงานในแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกันส่วนสำคัญของความสำเร็จคือองค์กรเห็นความสำคัญของการพัฒนางานด้านสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
โปรแกรมการให้ความรู้กับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในบริบทของรพ.ตติยภูมิ
J Med Assoc Thai 2018, 101(10): 1343-1348.
งานประชุมวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(ประเภทงานวิจัย) ห้องแซฟไฟร์ 105-107 อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2558
รางวัลชมเชยประเภทงานวิจัย R2R มหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล 2557