pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การพัฒนาระบบการคลอดเพื่อลดการเกิดแผลฝีเย็บแยก

งานวิจัยปี

2562

คำสำคัญ

การคลอด การติดเชื้อ ฝี ฝีเย็บ ระยะหลังคลอด ให้ความรู้

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ทุติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ผลการดำเนินงานปี2557-2558 พบอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บ 1.68,0.4 ตามลำดับถึงแม้นว่าอัตราการติดเชื้อลดลงแต่อัตราการเกิดแผลฝีเย็บแยกกลับมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น 12.59,13.63ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ปัญหาแผลฝีเย็บแยกโดยใช้แผนภูมิก้างปลา พบปัญหาได้แก่ เจ้าหน้าที่งานห้องคลอดมีสมรรถนะการทำคลอด/เย็บแผลที่แตกต่างกันและการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดยังไม่ครอบคลุม,การเปิดใช้น้ำยาต่างๆไม่มีการระบุวันเปิด/วันหมออายุที่ชัดเจน/เครื่องมือทำคลอด/เย็บแผลมีสนิมขึ้น /auto clave บางแถบไม่ดำเข้ม,ไหมเย็บแผลเปื่อย,มารดาหลังคลอดกลับบ้านไปอยู่ไฟ ไม่ได้ทำความสะอาดแผลเช้าเย็น ทำให้ยังพบปัญหาในเรื่องแผลฝีเย็บติดเชื้อ ทำให้ทีมห้องคลอดโรงพยาบาลไพรบึง ได้ทำการตามรอยปัญหาในแต่ละเรื่องเพื่อพัฒนาระบบการคลอดเพื่อลดการเกิดแผลฝีเย็บแยกในหญิงที่มาคลอดที่โรงพยาบาลไพรบึง

วัตถุประสงค์

เพื่อลดอัตราการเกิดแผลฝีเย็บแยกในผู้ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลไพรบึง

ระเบียบวิธีวิจัย

ใช้แนวคิดวงจรพัฒนา ของเดมมิ่ง (Deming cycle) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์สถานการณ์การวางแผนการปฏิบัติ การดำเนินงานและการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เป็นหญิงที่มาคลอดที่โรงพยาบาลไพรบึง ในปี 2561 จำนวน 167 ราย เกิดแผลฝีแยก 5 ราย และมีการศึกษาปัจจัยที่เกิดแผลฝีเย็บแยกใน 5 ราย ทั้งในกระบวนการดูแลที่โรงพยาบาลและการดูแลสุขภาพที่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา CPG การดูแลระยะก่อนคลอด ระยะคลอด ระยะหลังคลอด แบบประเมินความรู้การดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด และแบบสอบถามความพึงพอใจในการรับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ

ผลการศึกษา

ด้านเจ้าหน้าที่ เพิ่มสมรรถนะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดในการพัฒนาศักยภาพร่วมกับโรงพยาบาลทั่วไป อย่างน้อย 7 วัน/ปี/1 คน ปรับเปลี่ยนวิธีการpack set คลอด, set เย็บแผล ปรับการเยี่ยมหลังคลอดโดยโทรเยี่ยมและตามเยี่ยมที่บ้านโดยพยาบาลวิชาชีพ ผลการดำเนินงานปี2559-2560 ไม่มีอุบัติการณ์แผลฝีเย็บติดเชื้อ อัตราการเกิดแผลฝีเย็บแยก 4.4, 3.26 มีแนวโน้มลดลง ปี2561 ในช่วงเดือนเมษายน พบไหมเปื่อย แผลปริหลังเย็บ 24 ชม. 1ราย และอีก 3 รายซึ่งเย็บแผลไปก่อน กลับมาตรวจหลังคลอด พบแผลแยกทั้งหมดและพบในเจ้าหน้าที่ทุกคน ทำให้อัตราการเกิดแผลฝีเย็บแยกเพิ่มเป็น8.26 จึงได้เปลี่ยนไหมเย็บแผลเป็นเบื้องต้นประเมิน 1 เดือน แผลแยกลดลงเหลือ 1 ราย ซึ่งเป็นโอกาสพัฒนาต่อไป

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

มีการเพิ่มสรรถนะเจ้าหน้าที่ห้องคลอดร่วมกับโรงพยาบาลศรีสะเกษซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับจังหวัดอย่างน้อย 1ครั้ง/คน/ปี มีการ Training needs รายบุคคล แบบพี่สอนน้อง เทคนิคการเย็บแผล/ส่ง จัด work shop การเย็บแผลฝีเย็บ มีการปรับปรุงการทำset sterile /แยกผ้าทำคลอดกับเครื่องมือทำคลอด/การจัดเก็บไหม ฟื้นฟูวิชาการด้านงานควบคุมการติดเชื้อร่วมกับงาน IC มีการให้ความรู้ก่อนกลับบ้าน เน้นการรับประทานอาหราที่มีประโยชน์แนะนำการรับประทานไข่ต้มวันละ2ฟอง โทรติดตามเยี่ยมหลังคลอด 3-5 วัน 100%

บทเรียนที่ได้รับ

การมีส่วนร่วมของทีมเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างระบบเพื่อพัฒนางานให้มีแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เกิดการเรียนรู้ผ่านการทบทวนปัญหาร่วมกันจะก่อให้เกิดความตระหนักเห็นความสำคัญ การยอมรับช่วยเหลือกันและกันและทำให้เกิดการพัฒนาระบบงานได้มากขึ้น การติดตามผลการดำเนินงานและสะท้อนข้อมูลเป็นรายเดือนทำให้เห็นการพัฒนา การติดตามเยี่ยมบ้านให้ได้ภายใน3-5วันหลังคลอดเป็นการเสริมพลังที่ดีอย่างยิ่ง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ผู้บริหารให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์กร เห็นความสำคัญในการเพิ่มสรรถนะของเจ้าหน้าที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมโรงพยาบาลในระดับจังหวัด การพัฒนาต่อเนื่องของผู้ปฏิบัติงาน และการทำงานเป็นทีมของสหวิชาชีพในเครือข่ายสุขภาพอำเภอไพรบึง

Keywords

  • ป้องกันและลดแผลฝีเย็บแยก

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ประชุมวิชาการระดับจังหวัดศรีสะเกษ สสจ.ศรีสะเกษ 2561

รางวัลที่ได้รับ

ผลงานวิชาการระดับดี สสจ.ศรีสะเกษ 2561

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ศรีสะเกษ
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R อุบลมุกศรีโสธรเจริญ
เขตสุขภาพ
เขตที่ 10
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2562
งานวิจัยนี้ส่งโดย
มีผู้ส่งแทน : นางศนิชา แซ่อึ้ง (nichas01@gmail.com)
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย