pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ปัจจัยที่มีผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (Adj.RW) ของผู้ป่วยในกลุ่มโรคมะเร็ง 5อันดับ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ปีงบประมาณ 2560

งานวิจัยปี

2562

คำสำคัญ

จมูก ตับ ปอด ปากมดลูก มะเร็ง มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท บริหาร

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ปัจจุบันประเทศไทยใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group, DRG) เป็นเครื่องมือสำคัญทางการเงินการคลังสำหรับพิจารณาจ่ายเงินให้สถานพยาบาลกรณีรักษาผู้ป่วยใน ระบบประกันสุขภาพรัฐ สามระบบหลัก คือ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ละกองทุนพยามยามใช้เงินที่ได้รับจัดสรรให้เพียงพอต่อผู้รับบริการ โดยใช้กลไกของ ระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) มาช่วยในการบริหารกองทุน และในระยะ 3 ปี ที่ผ่านค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ในภาพรวมของโรงพยาบาลมะเร็งลำปางมีอัตราที่ลดลงเรื่อยๆ งานเวชระเบียนและสถิติจึงสนใจศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์(Adj.RW) ของผู้ป่วยในกลุ่ม 5 อันดับโรคที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งปอด มะเร็งโพรงหลังจมูก และมะเร็งตับ ในปีงบประมาณ 2560 เพื่อนำมาพัฒนาหาแนวทางการสรุปการวินิจฉัยโรคต่อไป

วัตถุประสงค์

เปรียบเทียบค่าน้ำหนักสัมพัทธ์(Adj.RW)ของผู้ป่วยในกลุ่มโรคมะเร็ง 5 อันดับ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์(Adj.RW)ของผู้ป่วยในกลุ่มโรคมะเร็ง 5 อันดับในปีงบประมาณ 2560

ระเบียบวิธีวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประชากร : ข้อมูลฐานระบบเครือข่ายโรงพยาบาล ผู้ป่วยโรคมะเร็ง 5 อันดับ ที่ได้นอนในโรงพยาบาลมะเร็งลำปางปีงบประมาณ 2560 ได้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน 572 คน ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จำนวน 420 คน ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด จำนวน 323 คน ผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก จำนวน 276 คน ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ จำนวน 195 คน สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง วิธีการศึกษา :เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน โดยการนำข้อมูลได้แก่ Age (อายุ) Sex (เพศ) Disc Type (ประเภทการจำหน่าย) LOS (จำนวนวันนอน) Diagnosis (โรค) Procedure (หัตถการ) มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และ การนำข้อมูลดังกล่าวมาทดลองบันทึก ในโปรแกรมคำนวณค่าน้ำหนักสัมพัทธ์รายบุคคล

ผลการศึกษา

โรคมะเร็งตับ มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เฉลี่ยเท่ากับ2.82 มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (Adj.RW) ระหว่าง0.59ถึง 5.79 โรคมะเร็งโพรงหลังจมูกมีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เฉลี่ยเท่ากับ2.55 มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (Adj.RW) ระหว่าง0.63 ถึง 7.67 โรคมะเร็งปอดมีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เฉลี่ยเท่ากับ2.48 มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (Adj.RW) ระหว่าง 0.79 ถึง 7.00 และ โรคมะเร็งปากมดลูก มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เฉลี่ยเท่ากับ 2.17 มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (Adj.RW) ระหว่าง 0.23 ถึง 6.26 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (Adj.RW) ของโรคมะเร็งได้แก่ จำนวนวันนอนโรงพยาบาลซึ่งมีผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ ของโรคมะเร็ง 5 โรค วิธีการรักษามีผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ปากมดลูก ปอด และตับ อายุมีผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของโรคมะเร็งตับและหลังโพรงจมูก และเพศมีผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของโรคมะเร็งตับ

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ได้ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ในการคิดคำนวณการหา ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (Adj.RW) เพื่อนำไปวางแนวทาง การบันทึก การทวนสอบเวชระเบียนก่อนการส่งเบิกค่าใช้จ่าย การตรวจสอบเวชระเบียน (auditor) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการวินิจฉัยโรค การให้รหัสโรค และหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายทั้ง 3 กองทุน

บทเรียนที่ได้รับ

การสรุปเวชระเบียนที่ครบถ้วน จะช่วยทำให้โรงพยาบาลได้ค่า Adj.RW ที่เพิ่มขึ้นไปด้วย เพราะข้อมูลดังกล่าว แม้แพทย์ที่มีภาระงานมากมายที่ต้องทำ หากมีการบันทึกไว้ในเวชระเบียน วิชาชีพอื่นๆ สามารถช่วยให้ท่านทบทวนการสรุปได้อย่างครบถ้วน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การทำงานเป็นทีม, ผู้บริหารให้การสนับสนุน, ทุกวิชาชีพเห็นความสำคัญของบันทึกข้อมูลอย่างครบถ้วน

Keywords

  • Adj.RW, ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์โรคมะเร็ง

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ประชุมวิชาการ 20 ปี โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง 2562

รางวัลที่ได้รับ

ผลงานวิจัยดีเด่น ลำดับที่ 2 โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง 2562

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ลำปาง
เครือข่าย R2R
เครือข่าย North R2R
เขตสุขภาพ
เขตที่ 1
ภูมิภาค
ภาคเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2562
งานวิจัยนี้ส่งโดย
มีผู้ส่งแทน : นางสาวรุ่งทิวา หลวงใหญ่ (rungtiwa_nootik@hotmail.com)
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย