pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ยางยืดน่าใช้ ออกกำลังกายในชุมชน

งานวิจัยปี

2562

คำสำคัญ

กระดูก กล้ามเนื้อ ข้อ ขา ความดันโลหิตสูง ระบบประสาท ร่างกาย ออกกำลังกาย แขน โรคเบาหวาน ให้ความรู้

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท นวัตกรรม

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุมีมากขึ้นทุกปี ผู้สูงอายุไทยในปี 2560 พบปัญหาด้านสุขภาพ คือ การเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมตั้งแต่ก่อนวัยสูงอายุจนเป็นผู้สูงอายุ เช่น การกิน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการขาดการออกกำลังกายนอกจากนี้เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง และระบบประสาทเสื่อม สิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยในการชะลอหรือลดปัญหาดังกล่าว คือ การออกกำลังกาย แต่การออกกำลังกายเพื่อชะลอความเสื่อมและส่งเสริมสมรรถนะร่างกายในผู้สูงอายุกลับน้อยลง ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งก็คือการขาดการออกกำลังกายและทักษะการออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัยสอดคล้องกับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า การให้ความรู้ มีสถานที่ออกกำลังกาย อุปกรณ์รวมไปถึงสื่อที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกระดานไผ่นวดยางยืดในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด 2.เพื่อประเมินผลความพึงพอใจในการใช้กระดานไผ่นวดยางยืด

ระเบียบวิธีวิจัย

วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มวัดซ้ำ(One group pretest-posttest design) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 60-79 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 อาศัยอยู่ในอำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด มีเกณฑ์การคัดเข้าคือ สามารถสื่อสารเข้าใจและช่วยเหลือตนเองได้ ไม่มีถาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ สมัครใจเข้าร่วมวิจัย เกณฑ์การคัดออกคือ ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป และติดตามแล้ว 3 ครั้ง และขอยุติการเข้าร่วมกิจกรรม เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการจับฉลาก ได้ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มศึกษาจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1.นวัตกรรมกระดานไผ่นวดยางยืดและคู่มือการใช้โดยผู้วิจัยประดิษฐ์ขึ้นซึ่งประยุกต์จากกะลายางยืด และอุปกรณ์ออกกำลังกายจากยางรถยนต์เหลือใช้ 2.เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดสมรรถภาพร่างกาย แบบสอบถามความพึงพอใจแบบ Likert scale 5 ระดับ

ผลการศึกษา

-สมรรถภาพร่างกาย ภายหลังการออกกำลังกายโดยการใช้นวัตกรรมกระดานไผ่นวดยางยืด พบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนซ้าย ,ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนขวา ,ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ,ความอ่อนตัวของร่างกายส่วนบน และความอ่อนตัวของร่างกายส่วนล่าง ก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) -ความพึงพอใจของการใช้กระดานไผ่นวดยางยืด ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มศึกษาต่อการใช้กระดานไผ่นวดยางยืด ซึ่งมีทั้งหมด 10 ข้อ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมาก คือ วัสดุที่ใช้ทำมีความทนทาน วัสดุสามารถหาได้ง่ายในชุมชน สามารถใช้ออกกำลังกายได้ทั้งแรงแขนและแรงขา สามารถใช้ได้หลากหลายท่าทางเช่นท่านั่งและท่ายืน สามารถใช้ออกกำลังกายและนวดได้ในครั้งเดียว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 รองลงมา คือ ความพึงพอใจโดยรวมที่มีต่อนวัตกรรมกระดานไผ่นวดยางยืด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

1. สามารถนำนวัตกรรมกระดานไผ่นวดยางยืดไปใช้ในคลินิกผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อเพิ่มสมรรถภาพด้านร่างกายและเพิ่มการออกกำลังกายในผู้ป่วยในคลินิก ป้องกันหรือฟื้นฟูภาวะข้อติดแข็ง เพิ่มความยืดหยุ่นในร่างกายได้ 2. สามารถขยายผลการศึกษาที่ได้และนำนวัตกรรมกระดานไผ่นวดยางยืดที่เกิดขึ้นขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆและหน่วยงานอื่นๆได้

บทเรียนที่ได้รับ

1. เจ้าหน้าที่ มีการพัฒนาองค์ความรู้ ใช้ความรู้และทักษะในการนำวัสดุในชุมชนมาพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมในชุมชน สามารถใช้ได้จริงในชุมชน 2. เจ้าหน้าที่เกิดทักษะในการคิด วิเคราะห์ วางแผนการแก้ไขปัญหาในชุมชน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภสพตำบลให้คำปรึกษา สนับสนุนงบประมาณ และสถานที่ในการดำเนินการ 2.ชมรมผู้สูงอายุให้ความร่วมมือ เห็นความสำคัญและมีความตระหนักในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของตนเอง 3.ชมรมผู้สูงอายุให้ความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่นวัตกรรมให้คนในชุมชน 4.ภาคีเครือข่ายชุมชน เห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือ การประสานงานที่ดี การเข้าใจเป้าหมายร่วมกันและถูกต้อง

Keywords

  • ยางยืด,ออกกำลังกาย

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

นวัตกรรมกระดานไผ่นวดยางยืด และคู่มือการใช้กระดานไผ่นวดยางยืด ซึ่งผู้วิจัยประดิษฐ์ขึ้นโดยประยุกต์จาก

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ร้อยเอ็ด
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • เงินบำรุงรพ.สต.บุ่งเลิศ: ุ6700 บาท
เผยแพร่เมื่อ
2562
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย