ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญกับบุคลากรด้านสุขภาพ ได้กำหนดยุทธศาสตร์บุคลากร เป็นเลิศ People excellence มีเป้าหมายให้กำลังคนเป็นคนดี มีคุณค่า และมีความผาสุกในการทำงาน องค์กรแห่งความสุข เป็นแนวคิดหลักที่มุ่งดำเนินงานกับกลุ่มเป้าหมายหลักคือ “คนทำงานในองค์กร” ได้มีการจัดทำ Roadmap แผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้าน สุขภาพระยะ 20 ปี โดยมีเป้าหมายให้บุคลากรเป็นคนดี มีคุณค่า มีความผาสุก ได้มีการประสานความร่วมมือกับสถาบันประชากรและ สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และมหาวิทยาลัยดุสิต ในการขอใช้ เครื่องมือวัดความสุขในระดับ บุคคล (Happinometer) และองค์กร (Happy Public – Organization Index) โรงพยาบาลนครนายก โดยได้มีการประเมิน Happinometer ผลภาพรวม ค่าเฉลี่ยความสุขร้อยละ 60.25 ดัชนีชี้วัดความสุขน้อยสุดสามอันดับคือ ด้านจิตวิญาณดี สุขภาพกายดี และสุขภาพเงินดี
เพื่อพัฒนาดัชนีความสุขของคนทำงาน โรงพยาบาลนครนายก
ดำเนินการจัดโครงการ "Happy KHONYOK Project 2018" โดยมีรูปแบบดังนี้ - ขับเคลื่อนค่านิยม KHONYOK โดยให้บุคลากรทุกระดับแบบมีส่วนร่วมในการจัดท าค่านิยมองค์กร - ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง โดยการพาไปศึกษาดูงาน และปลูกพืชผักสวนครัว - คนดี คิดดี สังคมดี เชิดชูบุคลากรที่ท าความดี ในเวทีประชุมกรรมการบริหาร และคัดเลือกคนดีศรีโรงพยาบาล - Happy Relax ประกวดร้องเพลง KHONYOK Mask Singer - Happy Birthday (Month) สร้างวัฒนธรรมตักบาตรท าบุญเดือนเกิด - Happy Lunch & Learn แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะและรับประทานอาหารร่วมกัน - Happy Social โรงพยาบาลเพื่อชุมชน เช่น บริจาคสิ่งของและเลี้ยงอาหารเด็กพิการ กิจกรรมวันเด็ก - 2P Safety สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยและบุคลากร
จากผลการดำเนินงานดัชนีชี้วัดความสุขของคนที่โรงพยาบาลนครนายก พบว่า ปี 2561 ค่าเฉลี่ยภาพรวมมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น จากเดิม ปี 2560 ร้อยละ 60.25 เป็น 62.55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.30 และมิติดัชนีชี้วัดความสุข 9 ด้าน มีอัตราสูงขึ้นทุกด้าน ซึ่งอัตราการเพิ่มมากที่สุด คือ สุขภาพเงินดี เพิ่มขึ้นร้อย ละ 4.12 อัตราเพิ่มต่ำสุดคือ ครอบครัวดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.46 และพบว่า ด้านผ่อนคลายดี มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 54.97 ด้านสุขภาพเงินดี ร้อยละ 55.71 โดยทั้ง 2 ด้าน มีค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่าเกณฑ์ดัชนีชี้วัดความสุขของ คนทำงาน ซึ่งควรมีค่าเฉลี่ยไม่น้อยว่าร้อยละ 60
นำผลงานวิจัยไปพัฒนาโครงการ กิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความสุขมากขึ้น เช่น ปลูกฝังให้บุคลากรน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.9 มาใช้ในการดำเนินชีวิต จัดกิจกรรม สนับสนุนเพื่อให้บุคลากรมีรายได้เพิ่มขึ้น จัดกิจกรรมในการผ่อนคลายความเครียดในการทำงาน พัฒนาการพัฒนาตนเองตามสมรรถนะ จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน มอบรางวัลและมอบโล่เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบ
การพัฒนาความสุขบุคลากรต้องใช้กิจกรรมที่หลากหลาย เนื่องจากมีปัจจัยหลายด้านที่มีผลต่อความสุข การให้ความสำคัญและการจัดกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บุคลากรให้ความร่วมมือและร่วมสร้างความสุขไปด้วยกัน
ผู้บริหารให้ความสำคัญและให้การสนับสนุน รวมทั้งบุคลากรในโรงพยาบาลให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย