สถานการณ์ปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย (0-5 ปี) ที่ผ่านมาพบว่าเด็กปฐมวัยร้อยละ 30 หรือ 1ใน3 ของเด็กปฐมวัยในประเทศไทยมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้า โดยเฉพาะด้านการใช้ภาษา รองลงมาคือการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งทักษะทั้งสองด้านเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสมองและจะส่งผลต่อการเรียนรู้ต่อไปจากข้อมูลการสรุปผลพัฒนาการประจำเดือน ที่มีการประเมินพัฒนาการ โดยใช้คู่มือพัฒนาการ DSPM (Developmental Surveillance and Promotion Manual) ในเด็กปฐมวัย อายุ 2-3 ปีของสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ จำนวนทั้งหมด 112 คน พบว่าด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา Fine Motor (FM) ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 13.39 เพื่อให้เด็กปฐมวัย มีพัฒนาการเป็นไปตามวัย และลดจำนวนเด็กที่ประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ ผู้วิจัยจึงนำกิจกรรมร้อยสร้างรูปมาใช้ในการกระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา เพื่อให้เด็กมีความพร้อมในด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กดียิ่งขึ้น
เพื่อให้เด็กที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ผ่านเกณฑ์การประเมิน
การศึกษานี้เป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ตามคู่มือ DSPM จำนวน 15 คนของสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ โดยมีกระบวนการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) ประเมินพัฒนาการโดยใช้คู่มือพัฒนาการ DSPM ด้านใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก Fine Motor (FM) เป็นการประเมินผลครั้งที่ 1 ก่อนการจัดกิจกรรม 2) ให้ข้อมูลผู้ปกครองเกี่ยวกับผลการประเมินพัฒนาการและกิจกรรมที่จะจัดเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก ขอความร่วมมือช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กเมื่อกลับไปอยู่บ้าน 3) การจัดกิจกรรมร้อยสร้างรูป ให้แก่เด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2-3 ปี วันละ 20 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เริ่มตั้งแต่เดือนพ.ย.61 - ม.ค.62 4. การประเมินพัฒนาการโดยใช้คู่มือพัฒนาการ DSPM หลังการทำกิจกรรมจะมีการประเมินทุกเดือน จำนวน 3 ครั้ง คือ 3 ธ.ค. 61, 7 ม.ค. 62 และ 4 ก.พ.62
กลุ่มตัวอย่าง คือเด็กที่ได้รับการประเมินด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาไม่ผ่านเกณฑ์ ตามคู่มือ DSPM จำนวน 15 คน เป็นเพศชาย 13 คน (ร้อยละ 86.7) เพศหญิง 2 คน (ร้อยละ 13.3) มีอายุตั้งแต่ 2 ปี 5 เดือน ถึง 3 ปี ในการจัดกิจกรรมร้อยสร้างรูปครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 20 เด็กใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมร้อยรูขนาดใหญ่ เฉลี่ย 182.12 นาที และขนาดเล็ก 196.40 นาที ภายหลังทำกิจกรรมครบทั้งหมด 40 ครั้ง ผลการประเมิน DSPM พบว่า มีเด็กผ่านการประเมินตามเกณฑ์ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยสรุปผ่านการประเมินในแต่ละเดือนดังนี้ เดือนที่ 1(ครั้งที่ 1- 6) มีเด็กที่ผ่านการประเมิน DSPM คิดเป็นร้อยละ 26.67 เดือนที่ 2 (ครั้งที่ 7-12) มีเด็กที่ผ่านการประเมิน DSPM คิดเป็นร้อยละ 46.66 เดือนที่ 3 (ครั้งที่ 13-20) มีเด็กที่ผ่านการประเมิน DSPM คิดเป็นร้อยละ 26.67
1. รู้จักสังเกตปัญหาจากการปฏิบัติงาน แล้วนำปัญหามาหาวิธีแก้ไขอย่างมีเหตุผล โดยนำหลักการสู่งานวิจัย 2. ใช้กิจกรรมร้อยสร้างรูปพัฒนาเด็กที่พัฒนาการล่าช้าด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีสมาธิ และสติปัญญาที่ดี
1. เพิ่มรูปแบบการศึกษาการกระตุ้นพัฒนาการด้านอื่น เช่น พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว พัฒนาการด้านการใช้ภาษา พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา เป็นต้น 2. ทำศึกษาการกระตุ้นพัฒนาในกลุ่มตัวอย่างที่มีพัฒนาการล่าช้า ในเด็กปฐมวัยช่วงอายุอื่นๆ
1. ทีมวิทยากรช่วยแนะนำ ให้คำปรึกษา ช่วยชี้แนะแนวทางให้ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย 2. ครูและผู้ดูแลเด็กให้ความร่วมมือในขั้นตอนการเก็บข้อมูล
ไม่เป็น
ไม่เคย
ตลาดนัดวิชาการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ 2562
ไม่เคย