pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนท่ามะขามวิทยา ตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

งานวิจัยปี

2562

คำสำคัญ

ช่องปาก นักเรียน ปวดฟัน ฟัน ร่างกาย สุขภาพช่องปาก โภชนาการ โรคฟันผุ

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญในงานสาธารณสุขของประเทศไทย เนื่องจากช่องปากเป็นประตูด้านแรกของสุขภาพ ถ้าสุขภาพช่องปากดีก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์เหมาะสมตามหลักโภชนาการ ส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย ปัจจุบันแนวคิดของการดูแลสุขภาพช่องปากไม่ใช้เพื่อการรักษาโรคในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากควบคู่ไปด้วย ตลอดจนต้องรู้จักโรค สาเหตุของการเกิดโรค ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งจะนำมาเพื่อการป้องกัน การสูญเสียฟันและความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องปากได้

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study)

ผลการศึกษา

1. จากการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนท่ามะขามวิทยา ตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 146 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 89 คน (ร้อยละ 61.00) มีอายุ 13 ปี จำนวน 61 คน (ร้อยละ 41.80) ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่1 จำนวน 61 คน (ร้อยละ 41.80) ผู้ตอบแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้ ส่วนใหญ่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 60.30 ผู้ตอบแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้ ส่วนใหญ่มีทัศนคติอยู่ในการดูแลสุขภาพช่องปากระดับสูง ร้อยละ 52.10 ผู้ตอบแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 61.00 ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก และทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องการพบทันตบุคลากรไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดฟันเท่านั้น และเรื่องการแปรงฟันควรแปรงฟันอย่างน้อย ประมาณ 2 – 3 นาที ในด้านทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปาก ในเรื่อง การใช้ไหมขัดสามารถช่วยลดการเกิดโรคฟันผุ และการพบทันตบุคลากร ให้มีความรู้และทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดียิ่งขึ้น

บทเรียนที่ได้รับ

ควรมีการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เจตคติ ค่านิยม ที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนได้ดียิ่งขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วน ให้ความร่วมมือในการดำเนินการทำวิจัยในเรื่องนี้เป็นอย่างดียิ่ง

Keywords

  • พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กมันธยมศึกษาตอนต้น

เกี่ยวกับโรค

ไม่เกี่ยวข้อง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

หัวหินสุขใจ ไกลกังวล ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560 หน้าที่ 23

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ราชบุรี
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R นครราชสุกาญจน์เพชรสมุทรคีรีขันธ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 5
ภูมิภาค
ภาคกลาง

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2562
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย