การพัฒนาการบริการใกล้บ้านใกล้ใจแก่ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงกำหนด ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับยาจาก รพ.สต.บ้านสลกต้องใช้ยาหลายชนิดต่อคนต่อยาในการรักษาทำให้ต้องใช้ถุงพลาสติกจำนวนมากและเจ้าหน้าพบยาเหลือบางตัวหมดอายุยังอยู่ปนกันกับยาที่ไม่หมดอายุโดยที่ผู้ป่วยจำไม่ได้ว่าตนรับยามาเดือนไหนจึงมีความเห็นให้นำถุงผ้ามาใช้แก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยก่อนที่จะรับยาต้องพูดคุยกับผู้ป่วยทุกรายว่าครั้งต่อไปถ้ามาตามนัดให้เอายาที่เหลือจากการรับประทานทุกเม็ดกลับมาหาเป็นการส่งเสริมให้คนไข้นำยากลับมาหาหมอด้วย และยังทำให้คนไข้ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองช่วยลดการสร้างขยะจากถุงพลาสติกในชุมชนอีกด้วย ดังนั้นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจึงได้จัดทำกระเป๋าผ้าใส่ยาแจกให้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคน เพื่อให้ผู้ป่วยได้พกถุงผ้า ใส่ยา มาหาหมอ
1.เพื่อจัดการปัญหายาเหลือใช้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2. เพื่อติดตามและประเมินผลการใช้ยาของผู้ป่วยว่าใช้ได้ตรงตามที่แพทย์สั่งได้หรือไม 3. เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research) วัดและ ประเมินผลกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง(One-Group Pretest - Posttest Design) ระยะเวลาดำเนินการวิจัยตั้งแต่1ตุลาคม2560-30เมษายาน2561 และติดตาม ผลหลังการทดลอง 1 เดือน รูปแบบการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research)โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 2.การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล 1 ตุลาคม 2560 – 30 เมษายน 2561 3.ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา -เลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) ได้แก่ผู้ป่วยเบาหวานที่รับยาที่รพ.สต.8คนและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รับยาในรพ.สต.จำนวน43 คนรวมจำนวน 51 คน
1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถรับประทานยาได้ ไม่ลืมรับประทานยา ทำให้ควบคุมน้ำตาลและความ ดันโลหิตสูงได้ 2.สามารถตรวจสอบการรับประทานยาของผู้ป่วย ได้ ถูกต้องตามที่แพทย์สั่ง มากขึ้น 3.ผู้ป่วยนำยาเหลือใช้ใส่ถุงผ้าทาด้วยทุกครั้งทำให้ลดปัญหายาเหลือใช้และลดภาระค่าใช้จ่ายต่อ รพ.สต.เพิ่มขึ้น 4.สามารถลดปริมาณการใช้ถุงยาพลาสติกใส่ยา
จากการทดลองใช้ถุงผ้ากับผู้ป่วยโรคเรื้อรังของรพ.สต.ทำให้สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกลงมากและยังทำให้สามารถควบคุมการรับประทานยาของผู้ป่วยให้ถูกต้องตามแพทย์สั่งได้มากขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่จะทราบได้ทันที่จากยาที่เหลือของคนไข้แต่ละคนที่นำมาในวันนัดครั้งนั้นๆและทำให้ผู้ป่วยไม่ขาดนัดเพราะยาที่จ่ายออกไปแต่ละคนจะพอเหมาะกับแต่ละเดือน
ผู้ป่วยใส่ใจในการรับประทานยาเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับปกติได้เพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบการรับประทานยาจากยาที่เหลือของผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยมารับบริการตามนัด และนำยาที่เหลือใช้ใส่ถุงผ้าที่เหลือใช้ใส่ถุงผ้ากลับมาด้วยทุกครั้ง
1.ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบและให้ความร่วมมือที่จะพกถุงผ้า พายา มาหาหมอ ทุกครั้งตามนัด 2.งบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อถุงผ้าจาก อบต.แม่เกิ๋ง 3.เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการติดตามผู้ป่วย
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย