pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

ผลของการพัฒนารูปแบบการให้ยาเสริมธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน รพ.สต.โคกหินแฮ่

งานวิจัยปี

2561

คำสำคัญ

ซีด นักเรียน โรคเบาหวาน เลือด โภชนาการ โรคโลหิตจาง ให้ความรู้

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การส่งเสริมสุขภาพ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

เป็นที่ทราบกันดีว่าการเสริมธาตุเหล็กในกลุ่มเด็กวัยเรียนนั้นมีความสำคัญ เพราะมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนระดับสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ จากผลการตรวจความเข้มข้นของเลือดในกลุ่มเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ในเขตรับผิดชอบของ รพสต.โคกหินแฮ่ ในปี 2528 จำนวน ๓๖ ราย พบว่าเด็กมีภาวะซีดจากโลหิตจาง 5 รายคิดเป็นร้อยละ 13.88 และในปี 2559 จำนวน 28 ราย พบภาวะซีด 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.28 ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากการรับประทานอาหารที่ทีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ปัญหาที่พบในเด็กกลุ่มนี้คือ การกระจายยาเสริมธาตุเหล็กแก่เด็ก การติดตามไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาดังกล่าวในส่วนของยาเสริมธาตุเหล็กหน่วยงานได้คิดจัดทำนวัตกรรมกล่องยาเสริมพลังธาตุเหล็กขึ้น โดยความร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ ครู และนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ๑-ประถมศึกษาปีที่๖ ในเขตรับผิดชอบของรพสต.โคกหินแฮ่

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการใช้ยาเสริมธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน ตำบลโคกหินแฮ่ อ.เรณูนคร จ.นครพนม

ระเบียบวิธีวิจัย

รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ดำเนินการในช่วง 1 มิถุนายน2559-28 กุมภาพันธ์ 2561 ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ครู จำนวน ๒๔ คน และเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล๑-ประถมศึกษาปีที่๖ จำนวน ๒๘๕ คนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑ เจาะความเข้มข้นของเลือดจำนวน ๒๘ คน ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์การบันทึกและการใช้ข้อมูลการเจาะความเข้มข้นของเลือด การวางแผนจัดทำกล่องเสริมพลังธาตุเหล็ก โดยทำกล่องให้มีช่องสำหรับใส่ยาเสริมธาตุเหล็กตามรายชื่อของเด็กนักเรียนแต่ละสัปดาห์/12เดือน การบันทึกข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการให้ยารายสัปดาห์ ทุก 1 เดือน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบยาที่เหลือในซองของเด็กแต่ละคน เพื่อประเมินการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องประเมินความพึงพอใจของครูผู้ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ

ผลการศึกษา

ผลการวิเคราะห์พบว่า ระยะเวลาของการให้ธาตุเหล็ก จำนวน 1 ปี 8 เดือน เด็กนักเรียนได้รับยาเสริมธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 92.85 จาก ที่ไม่ได้รับเนื่องจากเด็กไม่ได้มาโรงเรียนจากภาวะการเจ็บป่วย/หยุดเรียน ผลการตรวจความเข้มข้นเลือดทั้งหมด 28 คนพบว่าเด็กมีภาวะโลหิตจาง จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.57 ความพึงพอใจของครูผู้ใช้นวัตกรรม ร้อยละ ๙๐ เพิ่มความสะดวกและควบคุมการให้ยาเสริมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการขาดยา/ไม่ได้รับประทานยาพบน้อย

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

การนำนวัตกรรมนี้มาพัฒนางานบริการอนามัยโรงเรียนให้มีคุณภาพ ในการติดตามการได้รับยาเสริมธาตุเหล็กของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาโลหิตจางในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมระหว่างเจ้าหน้าที่ ครู นักเรียน มีส่วนร่วมในการจ่ายยาเด็กนักเรียนร่วมกับการให้ความรู้ทางโภชนาการอาหารกลางวันที่มีธาตุเหล็กสูงและอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพตามวัยของเด็กวัยเรียนได้

บทเรียนที่ได้รับ

การพัฒนาการใช้ยาเสริมธาตุเหล็กในกลุ่มเด็กวัยเรียนมีความสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กสามารถเข้าถึงการกระจายยาได้อย่างครอบคลุมและสามารถนำกลับมาใช้ในปีต่อนี้อาจนำไปขยายผลในรพ.สต.ในระดับตำบล อำเภอ สามารถนำไปปรับใช้พัฒนาการใช้ยาเสริมธาตุเหล็กในกลุ่มวัยเรียนให้ตรงตามบริบทได้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การคิดพัฒนาระบบการทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญในการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้รับบริการได้เข้าถึงระบบการบริการและได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดจากการทำงานเป็นทีมการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ ครู และนักเรียนในการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กให้เด็กนักเรียนได้รับอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผน ติดตามและประเมินผลการทำงาน จากการสนับสนุนของหน่วยงาน เพื่อนร่วมงานเป็นอย่างดี

Keywords

  • ยาเสริมธาตุเหล็ก

เกี่ยวกับโรค

เบาหวาน       ชนิดเบาหวาน        -โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก      ประเด็นงานวิจัย        -โรคโลหิตจาง   โรคโลหิตจาง โรคโลหิตจาง

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ผลงานวิชาการการพัฒนาระบบงาน สำนักงานสาะารณสุขจังหวัดนครพนม 2560

รางวัลที่ได้รับ

วิชาการการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม 2560

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
นครพนม
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R อีสานตอนบน
เขตสุขภาพ
เขตที่ 8
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2561
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย