pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำ

งานวิจัยปี

2561

คำสำคัญ

การเฝ้าระวัง

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ปฐมภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำใน หมู่บ้าน ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่อง อุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ขาดความรู้ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ๒. เพื่อให้ อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค และผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ๓. เพื่อเฝ้าระวังการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในร้านขายของชำในหมู่บ้าน

ระเบียบวิธีวิจัย

ประชากรคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)จำนวน ๒๒๙ คน และผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชน ในพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวน ๑๖๐ คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดย ๑)คัดเลือก อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มาจาก ๑๒ หมู่บ้านๆ ละ ๕ คน รวม ๖๐ คน และ ๒)ผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชน ในพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวน ๑๖๐ คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินความรู้ แบบสำรวจร้านค้าในงานคุ้มครองผู้บริโภค (คบส.) แบบประเมินความพึงพอใจ และการสุ่มตรวจร้านขายของชำในชุมชน นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ การทำ Focus group และการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ประกอบการร้านขายของชำ

ผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค ได้ทำการสำรวจร้านขายของชำในชุมชนครบทุกร้าน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคได้สุ่มตรวจร้านขายของชำในชุมชน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๕๐ โดยพบว่าร้านขายของชำที่จำหน่ายยาที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำมีเพียงร้อยละ ๗.๓๖ และร้านขายของชำที่จำหน่ายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้คุณภาพมีสูงถึงร้อยละ ๙๗.๐๖ ทั้งนี้ อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพิ่มขึ้นหลังเข้ารับการอบรมมากกว่าร้อยละ ๙๐ ส่วนผู้ประกอบการร้านขายของชำมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพิ่มขึ้นหลังเข้ารับการอบรมมากกว่าร้อยละ ๘๕ และที่สำคัญพบว่าผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีความพึงพอใจต่อโครงการนี้อยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ ๗๖.๒๙

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

ในการดำเนินงาน ต้องกระตุ้นให้ผู้บริโภครู้จักรักษาสิทธิ์ของตนเอง สร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในตัวของผู้ประกอบการ การจัดกิจกรรมประกวดร้านขายของชำ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับ อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ อสม.แกนนำฯมีศักยภาพในการตรวจแนะนำ และที่สำคัญในการตรวจประเมินร้านขายของชำ ควรมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากทุกหน่วยงานเข้าร่วมด้วย

บทเรียนที่ได้รับ

ผู้บริโภคมีความตื่นตัวมากขึ้น การยอมรับปัญหาและทุกฝ่ายช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับการจำหน่ายยาที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ พบว่าหลังการดำเนินการผู้ประกอบการให้ความร่วมมือมากขึ้น ขายเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน การตระหนักถึงบทบาทของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การทำงานเป็นทีมทั้งบุคลากรสาธารณสุข เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค และที่สำคัญผู้ประกอบการร้านชำ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ความร่วมมือ ความตั้งใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของบุคลากรสาธารณสุข ผู้ประกอบการร้านขายของชำ อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค โดยทุกฝ่ายมีเป้าหมายเดียวกันในการทำงาน เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ การเข้าใจบทบาทของตนเองในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน การยอมเสียรายได้ของผู้ประกอบการร้านขายของชำ โดยเฉพาะในประเด็นของการเลิกจำหน่ายยาที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ

Keywords

  • การคุ้มครองผู้บริโภค,ผลิตภัณฑ์สุขภาพ,ร้านขายของชำ

เกี่ยวกับโรค

การป้องกันอันตรายอันอาจเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีคุณภาพ

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
สตูล
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ภาคใต้
เขตสุขภาพ
เขตที่ 12
ภูมิภาค
ภาคใต้

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง: 57420
เผยแพร่เมื่อ
2561
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย