pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

Pharmaceutical Acute Care เหมือนเดิม...เพิ่มเติมความปลอดภัย

งานวิจัยปี

2560

คำสำคัญ

การให้บริการ ข้อ ภาวะแทรกซ้อน การเฝ้าระวัง เลือด โรคเรื้อรัง ไต

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท ทุติยภูมิ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

งานเภสัชกรรม/ทันตกรรม

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

งานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน (Pharmaceutical Acute Care) คือการมีบทบาทของเภสัชกรในการใช้ยาอย่างปลอดภัย เพิ่มคุณภาพในการดูแลรักษา จากการดำเนินงาน Pharmaceutical Acute Care รพ.ควนขนุนในปี 2559 พบปัญหาจากการใช้ยาจำนวน 289 ปัญหา ส่วนใหญ่ได้แก่การไม่ได้รับยาที่เคยได้รับอยู่อย่างต่อเนื่องร้อยละ 17.76 โดยปัญหาดังกล่าวได้รับการป้องกันและแก้ไขร้อยละ 83.39 แต่อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาจากการใช้ยาที่รุนแรง ได้แก่ผู้ป่วยไม่ได้รับการปรับขนาดยาตามการทำงานของไตทำให้ได้รับยาขนาดมากเกินไป ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออก และผู้ป่วยได้รับยาที่มีอันตรกิริยาระหว่างกันทำให้เกิดภาวะ Rhabdomyopathy ส่งผลให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยในช่วยให้กระบวนการดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน (Pharmaceutical Acute Care) ต่อการเกิดปัญหาจากการใช้ยา

ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษาแบบ Action Research ในผู้ป่วยในทั้งหมดที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลควนขุนน ระหว่างเดือน ตุลาคม 2559– กุมภาพันธ์ 2560 โดยทบทวนประวัติการรักษาจากแบบบันทึก medication reconciliation, แบบบันทึก Trigger Tool และแบบบันทึกPrescribing analysis เพื่อบ่งชี้ปัญหาและส่งต่อเภสัชกรประจำหอผู้ป่วยดูแลต่อเนื่อง ได้แก่ทบทวนประวัติการใช้ยาเพิ่มเติมและส่งต่อผู้เกี่ยวข้อง, Intensive ADR ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มใช้ยา ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีมีความเสี่ยงสูง, เฝ้าระวังการเกิดอันตรกิริยาของยาที่สั่งใช้ร่วมกัน หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีอันตรกิริยาที่รุนแรงถึงชีวิต (Fatal Drug Interaction) และการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึก นำมาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์ร้อยละของการเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา และร้อยละการแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา

ผลการศึกษา

ผู้ป่วย 964 ราย พบปัญหาจากการใช้ยา 245 ปัญหา (ร้อยละ 25.41) ได้แก่การไม่ได้รับยาที่ควรได้รับร้อยละ 70.2 ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาตามสั่ง ร้อยละ 24.08 ปัญหาอื่นๆ ได้แก่ การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา, การเกิดอันตรกิริยาของยาที่สั่งใช้, การได้รับยาซ้ำซ้อนและได้รับยาขนาดน้อยเกินไป ร้อยละ 2.04, 1.63, 1.22, และ 0.82 ตามลำดับ และจากการเปรียบเทียบการพัฒนารูปแบบงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยในพบว่าสามารถแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 89.39 เป็นร้อยละ 96.33 ไม่พบปัญหาจากการได้ยาที่เกิดจากการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมกับโรคที่เป็นและการที่ผู้ป่วยได้รับยาขนาดมากเกินไป จากการมี trigger tool และมีเครื่องมือในการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง ลดความเสี่ยงในการได้รับยาขนาดมากเกินไป และปัญหาที่เกี่ยวกับผู้ป่วยได้รับยาขนาดน้อยเกินไปและความไม่ร่วมมือในการใช้ยาตามสั่งของผู้ป่วยลดลง

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ เกิดกระบวนการทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความคิดเห็นระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ความคลาดเคลื่อนทางยา และปัญหาจากการใช้ยาได้ และเกิดการพัฒนาและปรับปรุงงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาในรอยต่อของการให้บริการ

บทเรียนที่ได้รับ

การบริบาลทางเภสัชกรรมช่วยค้นหาปัญหา แก้ไขหรือป้องกันปัญหาจากการใช้ยาได้ และเพิ่มคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าสามารถดำเนินงานได้ครอบคลุมขึ้น แต่ยังพบปัญหาจากการใช้ยาที่สำคัญคือ ผู้ป่วยไม่ได้รับยารักษาในโรคที่เป็นตั้งแต่แรกรับ ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาในการประสานให้ได้รับข้อมูลครบถ้วนมากยิ่งขึ้น และครอบคลุมทุกช่วงรอยต่อของการให้บริการ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ปัญหาการใช้ยาโดยเฉพาะความไม่ร่วมมือในการใช้ยาตามสั่งของผู้ป่วย สาเหตุหลักเกิดจากไม่ทราบข้อบ่งใช้ที่ชัดเจน ประสิทธิผลจากการใช้ยา และภาวะแทรกซ้อนจากการไม่ใช้ยา การดูแลผู้ป่วยร่วมกันเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาการทำงาน ร่วมกันวางแผนแก้ไขและป้องกันปัญหา รวมถึงมีการส่งต่อปัญหาดังกล่าวให้ทีมเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมิน ติดตาม และป้องกันความไม่ร่วมมือจากการใช้ยาต่อเนื่อง

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

การใช้ยาในโรคเรื้อรังต่างๆ

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
พังงา
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ภาคใต้
เขตสุขภาพ
เขตที่ 11
ภูมิภาค
ภาคใต้

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2560
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย