pre-loader image
ปิด

รายละเอียดผลงานวิจัย R2R

การพัฒนาลดระยะเวลารอเจาะเลือดที่ OPD โรงพยาบาลขอนแก่น

งานวิจัยปี

2560

คำสำคัญ

การให้บริการ สับสน เลือด

ประเภทผลงานวิจัย

ประเภท บริการ

ระดับของการนำไปใช้

ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว

ประเด็นวิจัยหลัก

การสนับสนุนบริการ ธุรการ,IT,ห้อง Lab,x-ray อื่นๆ

ประเด็นย่อย

กลุ่มเป้าหมาย

ที่มา

ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยนอก ที่มาใช้บริการโรงพยาบาลขอนแก่น ตั้งแต่ยื่นบัตร จนรับยากลับบ้าน ใช้ระยะนาน หนึ่งในหลายปัจจัย คือการรอเจาะเลือดและรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งใช้เวลามาก ตั้งแต่ 30 นาทีถึง 4ชั่วโมง สาเหตุเกิดได้จากหลายขั้นตอน (Pre analysis, Analysis และ Post analysis) ปัญหาในส่วนของ Pre analysis ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลตั้งแต่ 05.00 น. แต่เริ่มเจาะเลือด 07.00 น.เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานไม่เพียงพอโดยเฉพาะจุดเจาะ ทำให้เจาะเลือดได้ชั่วโมงละ 40-60 คน และ ส่งผลให้มีความแออัดมากในช่วงเวลาเร่งด่วน (08.00-09.00 น.) เนื่องจากระบายผู้ป่วยออกไปได้น้อย ดังนั้นคณะทำงาน จึงได้มีปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน โดยจัดเจ้าหน้าที่ขึ้นปฏิบัติงานตั้งแต่ 06.00 น. เพิ่มจำนวนบุคลากรจากเดิม 6 คน เป็น 10 คน มีระบบนัดลงทะเบียนเจาะเลือดล่วงหน้า และขยายระยะเวลาการเปิดบริการให้เร็วขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อลดระยะเวลารอคอยการเจาะเลือดของผู้ป่วย OPD ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลขอนแก่น

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็นวิจัย และพัฒนา ศึกษาระยะเวลารอคอย การเจาะเลือดของผู้ป่วย OPD ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนเมษายน 2559 จำนวน 5,499 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบระยะเวลารอเจาะเลือด และจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะเลือดในช่วง 06.00-08.00 น.ระหว่างก่อนดำเนินการ และหลังดำเนินการปรับกระบวนการการทำงาน

ผลการศึกษา

จากการเปรียบเทียบระยะเวลารอคอยเจาะเลือดของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ OPD โรงพยาบาลขอนแก่น ก่อน และหลังการปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน พบว่าสามารถลดระยะเวลารอคอยจากเดิมเฉลี่ย 1.15 ชั่วโมงต่อคน เหลือเวลาเฉลี่ย 0.25 ชั่วโมงต่อคน นอกจากนี้ยังสามารถลดความแออัดของผู้ป่วยที่รอเจาะเลือดในช่วงเวลาเร่งด่วน ได้มากขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะเลือดในช่วง 06.00-08.00 น. เพิ่มขึ้น จากเดิมเฉลี่ย 69 คน เป็น 97 คน คิดเป็นร้อยละ 40.5 กรณีผู้ป่วยที่สมัครเข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเจาะเลือดล่วงหน้าที่หน่วยบริการใกล้บ้าน พบว่าช่วยลดขั้นตอน และลดระยะรอคอยก่อนเข้าพบแพทย์ได้ระดับหนึ่ง แต่ส่วนหนึ่งยังทำได้ไม่ดี เนื่องจากผู้ป่วยไม่เข้าใจ และสับสนกับการลงทะเบียนเจาะเลือดล่วงหน้าซึ่งต้องมีการพัฒนาและทำความเข้าใจเพิ่ม

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ

มีแนวทางปฏิบัติใหม่ร่วมกันที่ชัดเจน ของห้องเจาะเลือด และทีมสหสาขา ผู้ป่วยได้รับการเจาะเลือดเร็วขึ้น ทำให้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเร็วขึ้น ผู้ใช้บริการได้รับผลตามเวลาที่กำหนด ลดความตึงเครียดทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย และญาติ และผู้ใช้บริการพึงพอใจ

บทเรียนที่ได้รับ

การทำงานเป็นทีม นำปัญหามาวิเคราะห์ร่วมกัน มีการติดตามผลการดำเนินงานสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความตระหนัก เกิดกระบวนการพัฒนา และเกิดการปรับเปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การมีระบบนัดลงทะเบียนเจาะเลือดล่วงหน้า โดยนัดเจาะเลือดช่วงบ่ายก่อนวันที่แพทย์นัด(ผู้ใช้บริการน้อย) หรือสถานบริการใกล้บ้าน จะทำให้ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ พร้อมผลแลบได้เร็วขึ้น ทำให้ลดความแออัดที่ OPD และลดระยะเวลารอคอยในภาพรวม

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การดำเนินการเพื่อที่จะให้ถึงเป้าหมายขององค์กร มีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย การทำงานเป็นทีม และวางแผนร่วมกันของ สหสาขาฯ รวมถึงการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในแนวทางปฏิบัติ จะทำให้เกิดการปฏิบัติ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น

Keywords

ไม่มี

เกี่ยวกับโรค

ทุกโรค

เป็นสิ่งประดิษฐ์

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

จังหวัด
ขอนแก่น
เครือข่าย R2R
เครือข่าย R2R ร้อยแก่นสารสินธุ์
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลอื่น ๆ

การสนับสนุน
การสนับสนุนทั่วไป
  • ไม่ได้รับการสนับสนุน/ไม่มีข้อมูล
การสนับสนุนจากแหล่งทุนสนับสนุน
  • ไม่มีข้อมูล
เผยแพร่เมื่อ
2560
งานวิจัยนี้ส่งโดย
มีผู้ส่งแทน : นัตฏิยา ศรีสุราช (nsrisurat@gmail.com)
นำเข้าโดย
เครือข่าย R2R ประเทศไทย